อาหารติดคอเด็ก ภัยร้ายใกล้ตัว ที่ต้องคอยระแวดระวังอยู่เสมอ
อาหารติดคออาจจะฟังดูเป็นเรื่องราวที่ธรรมดา ซะจนคนมองข้าม แต่แท้จริงแล้ว อาหารติดคอเด็ก นั้นน่ากลัวกว่าที่คิดมาก และ มันจะเกิดขึ้นในตอนที่เราคาดไม่ถึง พ่อแม่ผู้ปกครอง ควรที่จะระแวดระวัง และ สังเกตพฤติกรรมของลูกเสมอ เพื่อที่เราจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นกับครองครัวของเรา
การกลืนข้าวมีระบบการทำงานอย่างไร?
การกลืนข้าวเป็นระบบที่ซับซ้อน เมื่อมนุษย์เคี้ยวข้าว กล้ามเนื้อประมาณ 50 คู่ และเส้นประสาทจะทำงานร่วมกัน เพื่อจะเคลื่อนที่อาหารจากปากไปสู่ท้อง การที่จะมีสิ่งผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นได้ในกระบวนการ คุณอาจรู้สึกว่ามีอาหารติดอยู่ในลำคอ
เมื่อเราทานอาหาร จะมีกระบวนการสามอย่างเกิดขึ้น
- ร่างกายจะเตรียมตัวที่จะกลืนอาหารหลังจากที่เคี้ยวอาหารแล้ว ในกระบวนการนี้อาหารจะผสมรวมกับน้ำลาย และ จะเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลว
- ปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อเรากลืนจะทำให้ลิ้นดันอาหารเข้าไปในลำคอ ในช่วงเวลานี้หลอดลมจะถูกปิด และการหายใจจะหยุดลง เพื่อไม้ให้อาหารเข้าไปยังหลอดลม
- อาหารจะเข้าสู่หลอดอาหาร และ เดินทางไปยังท้อง
แต่เมื่อของบางสิ่งไม่ได้ลงไปจนสุด แสดงว่าของสิ่งนั้นติดอยู่ที่หลอดอาหาร การหายใจจะไม่ได้รับผลกระทบเวลาที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น เนื่องจากอาหาร เคลียร์ทางหลอดลมไปเรียบร้อยแล้ว ปฏิกริยาของคุณคือ คุณอาจจะ ไอ หรือ สำลัก อาการอื่น ๆ ที่ตามมาอาจจะเป็น อาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง
เมื่อไหร่ที่คุณควรเรียกรถฉุกเฉิน
ทุกปีมีคนเสียชีวิตจากอาการติดคอกว่าพันคน อาการนี้มักเกิดขึ้นกับเด็ก จนถึง อายุ 74 เลยก็มี
อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อสิ่งแปลกปลอมมาติดที่หลอดอาหาร :
- ไม่สามารถพูดได้
- หายใจลำบาก และ หายใจเสียงดัง
- เสียงร้องคล้ายหนูเวลาจะหายใจ
- ไอแรง หรือ ไอแบบอ่อนแรง
- หน้าซีด
- หมดสติ
ถ้าเกิดอาการเหล่านี้ให้รีบโทรแจ้ง และ เรียกรถพยาลทันที เพื่อจะได้ส่งตัวไปรักษาให้เร็วที่สุด
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
วิธีที่ 1 สำหรับหนูน้อยอายุไม่เกิน 1 ปี
- หาที่นั่ง หรือ จะนั่งคุกเข่าลงกับพื้น แล้วนำเด็กนอนคว่ำหน้าลงไว้บนขา กดศีรษะให้ต่ำกว่าลำตัว ใช้มือจับบริเวณขากรรไกร พร้อมกับ ประคองคอไปด้วย
- ใช้มืออีกข้างตบบริเวณหลังของเด็ก บริเวณสะบักด้วยสันมือประมาณ 5 ครั้ง ต้องตบแรง ๆ นะคะ
- พลิกตัวเด็กให้นอนหงายขึ้น เอามือจับประคองลูกไว้ที่บริเวณท้ายทอย
- ใช้นิ้ว 2 นิ้ว ของมืออีกข้างกดลงบริเวณกึ่งกลางของหน้าอกลูกน้อย โดยอยู่ในระยะที่ห่างจากหัวนมเด็กเล็กน้อย กดแรง ๆ 5 ครั้ง
- ให้ทำการตบหลัง 5 ครั้ง และ กดหน้าอก 5 ครั้ง สลับกันไปมา จนกว่าลูกจะร้อง หรือพูดออกมาได้
วิธีที่ 2 สำหรับหนูน้อยอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
- ให้เข้าไปที่ด้านหลัง โดยให้ลูกยืน หรือนั่งคุกเข่าก็ลง จากนั้นโอบรัดจากด้านหลังใต้รักแร้มาบริเวณด้านท้อง
- ใช้มือข้างหนึ่งกำไว้ แล้ววางไว้บริเวณเหนือสะดือใต้ลิ้นปี่ ส่วนมืออีกข้างกำกำปั้นไว้อีกทีหนึ่ง
- ดันนิ้วหัวแม่มือข้างที่กำไว้เข้าไปด้านในท้องของเด็ก รัดให้แน่นแล้วกะตุกขึ้น ให้ทำพร้อมกัน แรงๆ จนกว่าสิ่งที่ติดคอจะหลุดออกมา หรือจนกว่าจะมีเสียงเล็ดลอดออกมา
- ในกรณีที่หมดสติ ให้รีบทำการช่วยชีวิตทันที ในระหว่างที่พาไปโรงพยาบาล หรือรอการส่งตัว
- หากช่วยเหลือให้สิ่งของหลุดออกมาแล้ว ควรพาไปหาคุณหมอ เพื่อตรวจเช็คร่างกายอีกครั้งหนึ่ง
วิธีที่ 3 สำหรับหนูน้อยอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป (กรณีหมดสติ)
- ให้รีบโทรแจ้งรถพยาบาลทันที
- จับลูกนอนลงกับพื้น ตรวจดูว่าเด็กยังหายใจหรือไม่ หากไม่หายใจ ให้ดันคางขึ้นให้ศีรษะแหงนไปข้างหลังให้มากที่สุด แล้วนำมือมาบีบจมูกไว้ จากนั้นเป่าลมเข้าไปในปาก 2 ครั้ง แลัวสังเกตดูว่าลมเข้าไปภายในปอดหรือยัง ดูจากการขยับขึ้นลงของหน้าอก เสร็จแล้วเป่าอีกครั้งหลังจากที่หน้าอกยุบลง
- ถ้าเด็กยิ่งคงนิ่ง ให้ดันค้างสูงกว่าเดิม จากนั้นเป่าลมทางปากอีกครั้ง ถ้าไม่สำเร็จให้นั่งคร่อมที่ตัวของเด็ก ในท่าคุกเข่า แล้วใช้สันมือวางลงที่ระหว่างสะดือกับลิ้นปี่ ใช่มืออีกข้างกดทับมือลงไป กระแทกให้เร็วในจังหวะขึ้นลง 6-10 ครั้ง
- เปิดปากลูกดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาหรือยัง โดยการนำมือไปจับบริเวณขากรรไกรและลิ้น ใช้งอนิ้วชี้ของมืออีกข้างในลักษณะเหมือนตะขอ กวาดเข้าไปในปากตั้งแต่กระพุ้งแก้มไปจนถึงโคนลิ้น หากไม่พบให้ทำซ้ำตั้งแต่เป่าปากอีกรอบ
Source : healthline, med.mahidol และ mgronline
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
เด็กชายกินลูกชิ้น พลาดสำลักติดคอ หายใจไม่ออกดับอนาถ!
สุดยื้อ! หนูน้อยวัยขวบเศษ คว้าลูกบอลไฟฟ้าเข้าปาก พลาดติดคอ ดับอนาถ!
วิธีช่วยลูกจากอาหารติดคอ พ่อแม่ควรรู้ไว้ อย่ารอให้สายเกินไป