ลูกอยากได้อยากมีเหมือนเพื่อน สอนอย่างไรให้ยอมรับความแตกต่าง

เห็นเพื่อนมี หนูก็อยากมีบ้าง เมื่อลูกอยากได้อยากมีเหมือนเพื่อนคุณพ่อคุณแม่ควรสอนอย่างไร

ลูกอยากได้ อยากมีเหมือนเพื่อน สอนอย่างไรให้ยอมรับความแตกต่าง

“หนูอยากได้แบบเพื่อนบ้าง” ปฏิเสธไม่ได้เลยครับว่าทุกวันนี้ ในสังคมเรานั้นมีความแตกต่างกันมากมายในหลายๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมยุคใหม่ ที่ทุกสิ่งล้วนแต่เชื่อมโยงถึงกันได้อย่างง่ายดาย จึงทำให้เกิดการเปรียบเทียบ และทำให้ความแตกต่างเหล่านี้ยิ่งเด่นชัดขึ้น แต่เมื่อ ลูกอยากได้ อยากมีเหมือนเพื่อน คุณพ่อคุณแม่ควรสอนอย่างไรดีนะ

ลูกอยากได้อยากมีเหมือนเพื่อน โดยที่ลูกไม่เข้าใจถึงความสำคัญและความจำเป็น คงเป็นเรื่องที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่กลุ้มใจอยู่บ่อยๆ แต่การที่จะสอนลูกให้เข้าใจและยอมรับความแตกต่างนั้น สิ่งสำคัญต้องเริ่มที่ตัวคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็น เหมือนการปลูกฝังทัศนคติที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็กครับ

#1 เริ่มที่ตัวคุณพ่อคุณแม่

เริ่มต้นง่ายๆในชีวิตประจำวันเช่น ไม่วิจารณ์ เปรียบเทียบ หรือล้อเลียน ในเรื่องความแตกต่างของคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหน้าตา หรือสิ่งของที่เขาใช้ เพื่อปลูกฝังทัศนคติที่ไม่ให้คุณค่ากับภาพลักษณ์ภายนอก มากกว่าความสำคัญของจิตใจ ให้ลูกได้เห็น

เนื่องจากในทุกๆวันนั้น เด็กจะมีพฤติกรรมเลียนแบบ และลูกน้อยจะเฝ้ามองคุณเป็นแบบอย่างอยู่เสมอ ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกมีแนวคิดเช่นไร คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถเริ่มได้จากการเป็นตัวอย่างให้ลูกได้เห็นครับ

#2 เลือกสื่อที่เหมาะกับลูก

เลือกหนังสือ เพลง หรือสื่อต่างๆให้ลูกอย่างระมัดระวัง เพราะในสมัยนี้ลูกสามารถเข้าถึงสื่อต่างๆได้ง่าย และอิทธิพลของสารที่ลูกได้รับผ่านสื่อต่างๆนั้น มีผลต่อทัศนคติและความคิดของลูกอย่างมากเลยทีเดียว

#3 สอนลูกไม่ให้ล้อเลียน

สอนและอธิบายให้ลูกฟังว่า การล้อเลียนคนอื่นนั้นไม่สุภาพและยังทำร้ายความรู้สึกของคนที่ถูกล้อ เช่น ในรายการทีวีที่ล้อเลียนหรือทับถมกันเรื่องฐานะ หน้าตา หรือน้ำหนัก เป็นต้น

#4 ให้ลูกทำกิจกรรมที่มีประโยชน์

หาโอกาสให้ลูกได้ทำกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์ เช่นเข้าค่ายฤดูร้อน เป็นอาสาสมัครกิจกรรมเพื่อสังคม หรือพาเขาไปตามสถานสงเคราะห์เด็ก เพื่อให้เขาได้เห็นโลกที่กว้างขึ้นนอกเหนือจากในโรงเรียน

#5 ให้ลูกรู้จักออม

สอนลูกให้รู้จักออมก่อนใช้ และออมเงินเพื่อเป้าหมายต่างๆ จะช่วยให้ลูกรู้จักคุณค่าของเงิน และเมื่อเขาออมได้ตามเป้าแล้ว ก็จะทำให้เขารู้สึกภาคภูมิใจกับของที่ซื้อได้ด้วยเงินเก็บของตัวเอง

#6  สอนลูกให้แบ่งปัน

ให้ลูกรู้จักแบ่งปัน การนำของเล่นหรือสิ่งที่ลูกไม่ได้ใช้แล้วไปบริจาคให้กับผู้ด้อยโอกาสเช่น สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า หรือเด็กพิการ นอกจากจะเป็นการนำสิ่งของที่ไม่ใช้ให้กลับมามีคุณค่าอีกครั้งแล้ว ยังเป็นการสอนลูกให้รู้จักแบ่งปัน และรู้ถึงคุณค่าของสิ่งของหรือสิ่งที่เขามี ซึ่งจะช่วยลดความอยากได้อยากมีเหมือนเพื่อนได้ครับ

แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกคนย่อมเลี้ยงลูกด้วยความรักและความปรารถนาดี อยากจะให้ลูกเติบโตขึ้นมามีชีวิตที่ดี ซึ่งการเลี้ยงลูกก็ควรอยู่บนทางสายกลางที่ไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไป แต่ว่ามีการเลี้ยงลูกอยู่บางประเภทค่ะ ที่ส่งผลเสียต่อลูกมากกว่าที่คิด เหมือนกับคำว่า “พ่อแม่รังแกฉัน” เราไปดูกันดีกว่าว่าประเภทของพ่อแม่รังแกฉันมีอะไรบ้าง หากสังเกตว่าตนเองแอบมีขาข้างหนึ่งก้าวไปในพฤติกรรมนั้น เราก็มีวิธีการปรับการเลี้ยงลูกมาฝากด้วยค่ะ

พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์ : สอดส่องตลอดเวลา

ลักษณะของพ่อแม่

เป็นพ่อแม่ที่ตรวจสอบทุกสิ่งที่เข้ามาในชีวิตของลูก มีพฤติกรรมที่ปกป้องมากเกินไป เลี้ยงดูราวไข่ในหิน ออกคำสั่งและกำกับเส้นทางชีวิตของลูกทุกเรื่องเพราะกลัวว่าลูกจะทำเรื่องผิดพลาด นอกจากนี้อาจจะจัดการแก้ไขปัญหาทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิตของลูก โดยที่ไม่ให้เขาลองเผชิญหน้าด้วยตนเอง

ลูกจะเป็นยังไง

ลูกจะเป็นคนที่ว่านอนสอนง่าย แต่จะเป็นคนที่ไม่กล้าตัดสินใจ โตแต่ตัว มีความวิตกกังวลสูง

ปรับวิธีเลี้ยงอย่างไร

การสอดส่องดูแลลูกเพราะความห่วงใยไม่ใช่เรื่องที่ผิดเลยค่ะ แต่ว่าเราก็ต้องมีขอบเขต ในบางครั้งอาจจะลองปล่อยให้ลูกได้ทำและตัดสินใจอะไรด้วยตัวเองบ้าง เราไม่จำเป็นต้องไปบังคับหรือกำหนดเส้นทางชีวิตของลูกขนาดนั้น อย่าลืมนะคะว่าลูกก็มีชีวิตและควรจะเป็นคนกำหนดทางเดินของเขาเอง หน้าที่ของคนเป็นพ่อแม่คือคอยให้คำแนะนำ สนับสนุนและพร้อมช่วยพยุงยามที่ลูกอ่อนแอเท่านั้นเองค่ะ

พ่อแม่หม้อเคี่ยวยา : เร่งรัดเกินพัฒนาการลูก

ลักษณะของพ่อแม่

เป็นพ่อแม่ที่เคี่ยวเข็ญและเร่งรัดลูกให้เรียนเร็วเกินกว่าอายุและพัฒนาการที่ควรจะเป็น มีการพาลูกไปเรียนพิเศษเพื่อให้ลูกได้เนื้อหาสาระเกี่ยวกับการเรียนที่เกินอายุของสมอง เพราะคิดว่าลูกจะต้องเรียนให้ไวและรู้ให้มากเพื่อที่จะได้เปรียบเด็กคนอื่นๆ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว เรื่องนั้นอาจจะไม่ได้จำเป็นหรือเหมาะกับลูกเลยก็ได้

ลูกจะเป็นยังไง

เป็นเด็กที่เคร่งเครียด ไม่มีเวลาไปทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ตนเองสนใจ เพราะต้องเรียนอย่างเดียว ลูกจะรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ หากทำตามสิ่งที่พ่อแม่อยากให้ทำไม่ได้ อีกทั้งยังรู้สึกกดดันว่าจะต้องแข่งขันกับคนอื่นตลอดเวลา

ปรับวิธีเลี้ยงอย่างไร

พ่อแม่ต้องเข้าใจก่อนว่าพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัยนั้นแตกต่างกัน เราต้องค่อยๆ กระตุ้นพัฒนาการของลูกให้เป็นไปตามวัย ไม่ใช่เอาแต่เร่งรัดให้ลูกเรียนเกินวัย ไม่จำเป็นต้องไปแข่งขันกับลูกของคนอื่นๆ และต้องเข้าใจว่าเด็กแต่ละคนมีความชอบและความเก่งที่แตกต่างกัน ไม่ใช่ทุกคนที่จะเก่งด้านวิชาการ ยิ่งเราไปเร่งรัดก็อาจจะทำให้การเรียนรู้ของลูกแย่ลงกว่าเดิมอีกด้วย

พ่อแม่เครื่องประดับ : รางวัลของลูกคือสิ่งสำคัญ

ลักษณะของพ่อแม่

เป็นพ่อแม่ที่เห็นความสำคัญของการเป็นที่หนึ่ง ทุกสิ่งที่ลูกทำจะต้องเป็นที่หนึ่งในทุกด้าน เพราะคิดว่าสิ่งเหล่านั้นคือหน้าตาของพ่อแม่ เพื่อเป็นเครื่องการันตีว่าตัวเองเป็นพ่อแม่ที่เก่งและดี วัดความสำเร็จและคุณค่าของการเป็นพ่อแม่จากความสำเร็จหรือรางวัลที่ลูกได้รับ การที่ลูกเก่งและโดดเด่นจึงเปรียบเสมือนเครื่องประดับของพ่อแม่

ลูกจะเป็นยังไง

ลูกจะเครียด คิดว่าทุกอย่างในชีวิตคือการแข่งขัน จนทำให้กลายเป็นคนที่ชอบเอาชนะ ไม่รู้จักคำว่าแพ้ และถ้าเกิดวันไหนที่แพ้ขึ้นมาเขาจะรับมือกับความรู้สึกของตัวเองไม่ได้

ปรับวิธีเลี้ยงอย่างไร

เริ่มจากปรับความคิดที่ว่ารางวัลคือสิ่งที่การันตีความดีและความเก่งของพ่อแม่ สิ่งที่จะบ่งบอกว่าเราเป็นพ่อแม่ที่ดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสุขของลูกและการสอนให้เขาเป็นคนดีของสังคมมากกว่า พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้ว่ารางวัลหรือการเป็นที่หนึ่งไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต ลูกต้องเรียนรู้ที่จะผิดหวังบ้าง อีกทั้งพ่อแม่ควรสนับสนุนให้ลูกทำสิ่งที่เขาชอบและแค่เต็มที่กับสิ่งที่ทำก็พอ

พ่อแม่กระต่ายตื่นตูม : หวาดวิตกในทุกเรื่อง

ลักษณะของพ่อแม่

เป็นพ่อแม่ที่หวั่นวิตกกับทุกสิ่งที่เข้ามาในชีวิตของลูก รวมไปถึงสิ่งที่อยู่รอบตัวต่างๆ ว่าสิ่งเหล่านั้นจะมาก่อให้เกิดอันตรายกับลูกของเรา แม้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับลูก จะเป็นเรื่องที่เล็กแค่ไหนแต่สำหรับพ่อแม่ประเภทนี้มักจะมองว่าเป็นเรื่องใหญ่ราวกับโลกจะแตกจึงพยายามปกป้องลูก ไม่ให้ลูกได้เผชิญเหตุการณ์ที่ยากลำบากด้วยตัวเอง

ลูกจะเป็นยังไง

ลูกจะเป็นคนที่หวาดระแวงกับเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัวเหมือนกันพ่อแม่ เป็นเด็กขี้กลัวไม่กล้าทำอะไรใหม่ๆ

ปรับวิธีเลี้ยงอย่างไร

พ่อแม่ต้องทำใจให้สบายๆ รู้จักปล่อยวาง ไม่ต้องไปตึงเครียดกับเหตุการณ์ต่างๆ มากนัก ให้คิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะทำให้ลูกเรียนรู้และเติบโตขึ้น ดังนั้นลองปล่อยให้ลูกได้จัดการกับความยากลำบากที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองดูบ้าง

พ่อแม่คู่หู : ทำตัวเหมือนเพื่อนเกินไป

ลักษณะของพ่อแม่

การเลี้ยงลูกแบบเพื่อนเป็นวิธีการเลี้ยงที่หลายๆ บ้านเลือกใช้ เพราะอยากให้ลูกรู้สึกสนิทใจและกล้าเปิดอกคุยกับเราทุกเรื่อง แต่ในบางครั้งการเลี้ยงลูกแบบเพื่อนที่ “มากเกินไป” ย่อมส่งผลเสียเช่นกัน  เพราะ เมื่อเลี้ยงลูกแบบเพื่อนในลักษณะที่ ไม่เคยคัดค้าน เห็นดีเห็นเห็นงามไปทุกเรื่อง โดยไม่มีกฎเกณฑ์หรือขอบเขต เพราะกลัวลูกไม่รักก็จะทำให้ลูกไม่มองเห็นว่าเราเป็นพ่อแม่

ลูกจะเป็นยังไง

เป็นคนไม่มีวินัย ไม่เชื่อฟัง พูดห้ามปรามอะไรก็ไม่เคยเชื่อ ไม่เคารพพ่อแม่ ลูกจะคิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล

ปรับวิธีเลี้ยงอย่างไร

การเลี้ยงลูกแบบเพื่อนไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดี หากแต่ว่าควรจะต้องมีขอบเขตที่แน่ชัดว่าแบบไหนที่ทำกับเพื่อนได้ และแบบไหนที่ทำกับพ่อแม่ไม่ได้ หรือเมื่อมีกฎกติการ่วมกันแล้วก็ห้ามใจอ่อน พ่อแม่ต้องเป็นคนที่คอยห้ามปรามและให้คำแนะนำในฐานะที่เป็นพ่อแม่ เพื่อให้ลูกรับรู้และเห็นว่าสถานภาพของเราคือพ่อแม่ ไม่ใช่เพื่อน


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

5 วิธีเลี้ยงลูกยุคใหม่ ให้ดีได้โดยไม่ต้องลงไม้ลงมือ

เช็คด่วน! รูเล็กๆข้างหูของลูก สัญญาณร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

บทความโดย

P.Veerasedtakul