ทำไม ลูกโกหก กันจังเลยนะและพ่อแม่อย่างเราๆ ควรทำอย่างไรดี

ลูกได้กินขนมชิ้นสุดท้ายไปหรือเปล่าจ๊ะ "เปล่าครับ/ค่ะ" ลูกจะรู้ไหมนะ ว่า ลูกโกหก ได้ไม่เนียนเลย จะไม่ให้เราจับได้ๆอย่างไร ในเมื่อเศษขนมยังติดอยู่ปาก หรือลำตัวอยู่ แล้วถ้าลูกๆของเรายัง โกหก อยู่แบบนี้เราจะทำอย่างไรกันดีนะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จากการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู พบว่า 96 เปอร์เซ็นต์ที่เด็กๆจะโกหก เพื่อปกปิดบางอย่าง เพราะกลัวโดนดุ  จากสถิติโดยเฉลี่ยแล้ว เด็กอายุสี่ขวบ จะโกหก ทุกๆสองชั่วโมง และในเด็กอายุหกขวบ จะโกหก ทุกๆชั่วโมง มีการทำวิจัยโดยการปล่อยให้เด็กๆอยู่ในห้องโดยที่ในห้องนั้นมีสิ่งของที่ล่อตาล่อใจอยู่สิ่งหนึ่ง และบอกเด็กๆว่า “ห้ามมอง” โดยทางทีมค้นคว้านั้น แอบสังเกตุเหตุการณ์ผ่านกล้องวงจรปิด ผลปรากฏว่า เด็กอายุสองขวบเกือบทั้งหมดหันไปมอง และหนึ่งในนั้น โกหกว่าไม่ได้หันไปมอง ส่วนเด็กที่มีอายุระหว่างสามถึงสี่ขวบนั้น สองในสามมองและโกหกว่าไม่ได้หันไปดู แต่สำหรับในเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย พวกเขาสามารถควบคุมตัวเองไม่หันไปมองได้ แต่ก็ยังมีบ้างที่โกหกอยู่

นักวิจัยกล่าวว่า เด็กๆชอบที่จะสร้างเรื่องราว โดยให้คนอื่นเข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องราวนั้น และเมื่อพวกเขาโตขึ้นเขาจะเริ่มสร้างเรื่องราวได้ดีและเก่งมากขึ้น และทีมวิจัยได้มีการแบ่งพัฒนาการการโกหกของลูก เราได้ดังนี้

1. ทราบหรือไม่คะว่าการที่ ลูกโกหก นั้น เริ่มได้ตั้งแต่ ตอนอายุสองถึงสามขวบ แต่การโกหกในวัยนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเองมากกว่า เพราะพวกเขารู้ว่า ถ้าบอกคุณพ่อคุณแม่ไปอาจจะถูกตำหนิได้

2. พัฒนาการแต่งเรื่องของลูกๆนั้นเริ่มดีขึ้นตอนอายุสี่ขวบ พวกเขาเริ่มแยกแยะได้แล้วว่าการ โกหก เป็นสิ่งไม่ดี เริ่มรู้ถึงความแตกต่างระหว่างการพูดความจริงกับการ โกหก และสามารถแต่งเรื่องราวได้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการโกหกของพวกเขาส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นเรื่องของพฤติกรรมที่ไม่ดี ที่ไม่อยากให้คุณพ่อคุณแม่ดุเช่นกัน

3. ช่วงระหว่างอายุเจ็ดถึงแปดขวบคือช่วงเวลาที่ลูกๆเริ่มที่จะอยู่กับเรื่องราวที่เขาแต่งขึ้นได้นานมากขึ้น และเรื่องราวนั้นก็ช่างดูสมจริงอีกด้วย รู้ทั้งรู้ว่าการโกหกนั้นเป็นสิ่งไม่ดี แต่ช่วงนี้เป็นช่วงที่พวกเขาทำเพราะไม่อยากทำให้ตัวเองต้องมีปัญหา และก็ไม่อยากให้ถูกมองว่าเป็นเด็กไม่ดีอีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ดังนั้นการช่วยเหลือลูกในเรื่องนี้ จึงกลายเป็นเรื่องของพวกเรา คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่คะว่า ความโกรธ ของเราก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ลูกๆต้องโกหกด้วยเช่นกัน ดังนั้นเรามาดูกลยุทธ์ที่จะช่วยให้เด็กๆบอกความจริงกับเราได้จากหน้าการคลิกที่หน้าถัดไปกันเลยค่ะ

กลยุทธ์ที่จะทำให้เด็กๆหันมาบอกความจริง

1. ขอคำสัญญาจากลูก ก่อนที่เราจะถามคำถามต่างๆ ขอให้คุณพ่อคุณแม่ขอคำสัญญาจากลูกๆว่า พวกเขาจะต้องพูดและเล่าความจริงเท่านั้น และพยายามพูดและโน้มน้าวให้ลูกๆรู้ว่า ผลของความซึ่อสัตย์นั้นมีผลดีอย่างไร

2. ใช้เรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจ คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่านิทานให้ลูกๆฟังพร้อมเล่าถึงผลลัพธ์ของการ โกหก ว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างได้นะคะ ยกตัวอย่างโดยเรื่องของลูกหมูสามตัว และพิน็อคคิโอ เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. เป็นตัวอย่างที่ดี อย่างที่ทุกๆท่านทราบว่า พ่อแม่นั้นคือต้นแบบของลูกๆ ถ้าเราไม่อยากให้ ลูกโกหก เราก็ไม่ควรทำเป็นแบบอย่างไม่ว่าเรื่องนั้นจะเล็กหรือว่าใหญ่ก็ตาม

 

แล้วคุณพ่อคุณแม่ละคะ เคยจับได้ว่า ลูกโกหก ไหมคะ แล้วมีวิธีการอย่างไรบ้างคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ขอบคุณที่มา: https://www.pbs.org

บทความอื่นที่สัมพันธ์กัน:

30ทักษะการใช้ชีวิตง่ายๆที่คุณควรสอนลูกทุกวัน

นี่คือวิธีที่ครอบครัวเบ็คแฮมสอนลูกให้รู้จักคุณค่าของเงิน

 

 

บทความโดย

Muninth