เช็คด่วน! สัญญาณโรคปอดบวมในเด็ก

หากลูกน้อยมีอาการไข้ และไอต่อเนื่องกว่า 3 วัน ร่วมกับอาการหอบเหนื่อย ไม่ควรชะล่าใจ เพราะอาจเป็นโรคปอดบวม ที่สามารถคร่าชีวิตลูกของคุณได้ แต่คุณแม่อย่าเพิ่งตกใจไปนะคะ โรคปอดบวมสามารถป้องกันและรักษาได้ หากคุณแม่รู้จักสังเกตสัญญาณของโรคแต่เนิ่นๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคปอดบวมในเด็ก อันตรายกว่าที่คิด

โรคปอดบวม คืออะไร

โรคปอดบวม (Pneumonia) หมายถึง ภาวะที่เกิดการติดเชื้อในปอดโดยเฉพาะในถุงลมหนึ่งหรือทั้งสองข้าง โดยถุงลมอาจจะเต็มไปด้วยหนอง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการโรคปอดบวม ดังต่อไปนี้

อาการโรคปอดบวม

  • หายใจลำบาก
  • มีไข้ หรือตัวอุ่นๆ
  • รู้สึกไม่สบายตัว ซึม
  • อาการเหมือนคนเป็นหวัด หรือไข้หวัด เช่น เจ็บคอ หนาวสั่น ปวดศีรษะ
  • ไอแห้งๆ ถี่ๆ
  • หายใจเร็ว มีเสียงหวีด
  • ปวดท้อง
  • เจ็บหน้าอก
  • อาเจียน
  • มีเสมหะปนเลือด หรือมีสีเขียวหรือสีสนิม
  • ไม่ยอมกินนม และเบื่ออาหาร

ทั้งนี้อาการปอดบวมจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่า เกิดการติดเชื้อที่ส่วนไหนของปอด หากติดเชื้อบริเวณส่วนกลางหรือส่วนบนของปอดอาจทำให้หายใจลำบากกว่าติดเชื้อที่ปอดส่วนล่าง

สาเหตุ

โรคปอดบวมสามารถเกิดได้จากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ไมโครพาสมา เชื้อชนิดอื่น เช่น เชื้อรา สารเคมี

การติดต่อของโรค

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การหายใจเอาเชื้อโรคปอดบวมหรือที่กระจายอยู่ในอากาศเข้าไป รวมถึงการรับเชื้อจากการไอ จามของผู้ป่วย
  • มีการติดเชื้อไวรัสในในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด หรือไข้หวัด
  • พบภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคอื่นๆ เช่น โรคอีสุกอีใส หรือ โรคหัด
  • หายใจเอาน้ำย่อยและอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าไปในปอด หรืออาเจียนเข้าไปในปอด ซึ่งมักเกิดเมื่อมีอาการชักหรือโรคหลอดเลือดสมอง

หมายเหตุ จมูกของคนเรา แม้ในช่วงที่มีสุขภาพแข็งแรงก็จะมีเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคปอดบวมอาศัยอยู่แล้ว เมื่อเชื้อโรคเหล่านี้แพร่กระจายไปยังปอด ทำให้เกิดโรคปอดบวมได้ ซึ่งจะมีโอกาสเกิดมากขึ้นระหว่าง หรือหลังมีอาการหวัด หรือโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

กลุ่มเสี่ยง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี หรือเป็นโรคเอดส์ และได้รับโคมี สเตียรอยด์ในระยะยาว และผู้ที่เพิ่งได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
  • โรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด
  • อายุ โรคปอดบวมอาจรุนแรกในทารก เด็ก และ ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เนื่องจากคนกลุ่มนี้ยังมีระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรง หรือมีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว
  • โรงพยาบาล ผู้ที่อยู่ในห้องไอซียู โดยเฉพาะคนไข้ที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

อาการแทรกซ้อนที่สำคัญ

  • หายใจลำบาก ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้หายใจเอาออกซิเจนเข้าไปไม่เพียงพอ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมด้วย
  • โรคฝีในปอด เชื้อแบคทีเรียสามารถสร้างพิษขึ้นมาทำลายปอด ทำให้มักเกิดฝีในปอดตามมา
  • แบคทีเรียในกระแสเลือดแพร่กระจายไปยังปอด และในบางเคสอาจทำให้อวัยวะล้มเหลวได้
  • น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด เกิดจากการอักเสบของเนื้อปอดลามออกมาถึงเยื่อหุ้มปอด ถ้ามีไม่มากก็อาจหายเองได้ ในรายที่มีจำนวนมากจนทำให้เกิดอาการหอบจะต้องทำการรักษาโดยการเจาะดูดเอาน้ำออก

เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

หากลูกมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นปอดบวม คือ มีไข้ ไอ เจ็บหน้าอก และเหนื่อยง่าย ควรรีบพบแพทย์ ภายใน 1-2 วัน เพื่อรับการวินิจฉัย ไม่ควรดูแลตนเอง

การวินิจฉัยโรคปอดบวม

ปอดบวมวินิจฉัยได้โดย การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และฟังเสียงหายใจ

ถ่ายภาพรังสีทรวงอก (เอกซเรย์ปอด) ตรวจเลือดซีบีซี การตรวจและเพาะเชื้อจากเสมหะ การเพาะเชื้อจากโลหิต ตรวจการเต้นของชีพจร วัดระดับออกซิเขนในเลือด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ อาจมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น การทำ CT สแกน และ ตรวจน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด เพื่อหาประเภทของการติดเชื้อ

การรักษาโรคปอดบวม

โรคปอดบวมรักษาโดย แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะตามกำหนดเวลาเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งยาอื่นๆ ตามอาการ ได้แก่

  • ยาแก้ไอ ที่จะช่วยให้ขับของเหลวในปอด
  • ยาลดไข้ เช่น ibuprofen และ acetaminophen โดยหลีกเลี่ยงการให้ยาแอสไพรินในเด็ก เพราะมันอาจทำให้เกิดกลุ่มอาการเรย์ Reye’s syndrome ได้

เด็กควรรับการรักษาตัวใน โรงพยาบาล เมื่อมี อาการ ต่อไปนี้

  • อายุน้อยกว่า 2 เดือน
  • หายใจลำบาก
  • มีอาการขาดน้ำ
  • ง่วงนอนผิดปกติ
  • ออกซิเจนในเลือดต่ำ
  • อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ

การป้องกัน โรคปอดบวมในเด็ก

  • ล้างมือบ่อยๆ อย่างถูกวิธี
  • หลีกเลี่ยงการใช้แก้วน้ำ จานชาม และสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
  • ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้ออื่นๆ ตามกำหนด
  • เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลูกให้แข็งแรง โดยการนอนหลับอย่างเพียงพอ ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารครบ 5 หมู่

ที่มา ph.theasianparent.com , haamor.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

เรื่องน่าเศร้า ลูกอายุ 3 เดือนจากไปเพราะเป็นหวัดจนปอดบวมและติดเชื้อ

ลูกมีอาการไข้ ไอ และหายใจหอบเหนื่อย ระวังโรคปอดบวมนะคะ