เด็กนั่งท่า W-Sitting ท่านั่งอันตราย ! ทำลายพัฒนาการลูก ต้องรีบปรับ

ท่านั่ง W ภัยเงียบที่คุกคามพัฒนาการของลูกได้อย่างคาดไม่ถึง เด็กนั่งท่า W มีความอันตรายยังไง บทความนี้เรามาหาคำตอบกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท่านั่ง W-Sitting หรือท่านั่งพับขาแบบตัว W นั้น เป็นท่าทางที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงวัยหัดคลานและหัดเดิน ท่านั่ง W นี้ดูเหมือนจะสะดวกสบายและช่วยให้เด็กๆ สามารถทรงตัวได้ดี แต่รู้หรือไม่ว่า เด็กนั่งท่า W นี้กลับซ่อนอันตรายที่คุกคามพัฒนาการของลูกน้อยได้อย่างคาดไม่ถึง ในบทความนี้ เราจะมาทำความเข้าใจถึงอันตรายของท่านั่ง W-Sitting รวมถึงวิธีการแก้ไขและป้องกันอย่างถูกต้องค่ะ

 

W-Sitting คืออะไร ?

ท่านั่ง W-Sitting หมายถึง ท่านั่งที่เด็กๆ จะกางขาออกด้านข้างให้ชิดกับพื้น แล้วงอเข่าขึ้นมาจนเท้าทั้งสองข้างชิดกัน ทำให้ดูคล้ายตัวอักษร W นั่นเอง ท่านั่งนี้มักพบเห็นได้บ่อยในเด็กวัยหัดเดิน เนื่องจากเป็นท่าทางที่ช่วยให้เด็กๆ สามารถทรงตัวได้ดีและมีพื้นที่ในการเคลื่อนไหวแขนได้อย่างอิสระ

 

ทำไมเด็กนั่งท่า W ถึงอันตราย ?

แม้ว่าท่านั่ง W-Sitting จะดูเหมือนจะไม่มีอะไรผิดปกติ แต่แท้จริงแล้ว เด็กนั่งท่า W นี้จะส่งผลเสียต่อพัฒนาการของเด็กในหลายด้าน ดังนี้

  • ส่งผลต่อข้อสะโพกและข้อเข่า ท่านั่ง W-Sitting ทำให้ข้อสะโพกและข้อเข่าของเด็กอยู่ในตำแหน่งที่ผิดปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้กล้ามเนื้อรอบข้อเหล่านี้ตึงตัวและแข็งแรงน้อยลงในระยะยาว นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดข้อและข้อเสื่อมเมื่อโตขึ้นได้
  • ส่งผลต่อการพัฒนาการของกล้ามเนื้อ ท่านั่ง W-Sitting ทำให้กล้ามเนื้อบางส่วน เช่น กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว และกล้ามเนื้อขาส่วนใน อ่อนแอลง เนื่องจากกล้ามเนื้อเหล่านี้ไม่ได้ถูกใช้งานอย่างเต็มที่ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและการทรงตัวของเด็ก
  • ส่งผลต่อทักษะการเคลื่อนไหว เด็กนั่งท่า W-Sitting เป็นประจำ จะมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาในการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อน เช่น การวิ่ง การกระโดด และการปีนป่าย เนื่องจากกล้ามเนื้อและข้อต่อไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม
  • ส่งผลต่อการพัฒนาการทางด้านอื่นๆ บางงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า ท่านั่ง W-Sitting อาจมีความเชื่อมโยงกับปัญหาทางด้านการเรียนรู้และพัฒนาการทางด้านภาษาในเด็กบางรายได้

ผลกระทบระยะยาว เหตุผลที่ไม่ควรให้ เด็กนั่งท่า W ?

การให้ เด็กนั่งท่า W ส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางกายของเด็ก อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสะโพก เข่า และข้อต่อของเด็ก และมีผลกระทบระยะยาวดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การนั่งท่า W เป็นท่าที่เด็กไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อหลังในการทรงตัว

การนั่งท่า W เด็กไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อหลัง แต่ใช้กล้ามเนื้อสะโพกแทน ซึ่งการทรงตัวเป็นพื้นฐานสำหรับพัฒนาการเคลื่อนไหวขั้นสูงต่อไปในอนาคต เช่น การทรงตัวเวลาที่โดนผลักหรือโดนเบียด การทรงตัวเวลายืนบนพื้นที่สูงต่ำต่างระดับ เวลาที่ต้องนั่งและเขียนหนังสือบนโต๊ะไปด้วย หากเด็กมีกล้ามเนื้อหลังที่ไม่แข็งแรง อาจมีปัญหาการเดินขาขวิดกัน หรือ หกล้มบ่อยๆ ท่าให้มีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวที่ช้ากว่าเด็กคนอื่น

  • การนั่งท่า W เป็นท่าที่ทำให้กล้ามเนื้อขาบางมัดมีการผิดรูป

ส่งผลให้มีปัญหาการเดินผิดปกติ คือมีปลายนิ้วเท้าบิดเข้าด้านใน แทนที่จะชี้ตรงไปข้างหน้า ที่เรียกว่า (In-Toeing) พบบ่อยในเด็กอายุ 4 – 6 ปี เมื่อสังเกตจะเห็นว่าเด็กเดินปลายเท้าบิดเข้าใน เวลายืน ลูกสะบ้าบิดเข้ามาด้านใน การยืนเดินแบบนี้มักสร้างความลำบากใจให้พ่อแม่ กลัวว่าลูกจะพิการ อย่างไรก็ตาม เมื่อเด็กโตขึ้น ก็จะค่อยๆ ปรับเป็นปกติเอง ในรายที่เป็นมากอาจต้องได้รับการแก่ไขโดย การตัดรองเท้าพิเศษเพื่อดัดรูปเท้า หรือทำการผ่าตัดหมุนกระดูกต้นขา จัดให้ปลายเท้าอยู่ในท่าปกติเมื่อเด็กอายุ 9-10 ปี

  • การนั่งท่า W ทำให้กระดูกขาท่อนบนบิดเข้าด้านในมากผิดปกติ

การนั่งท่านี้จะเพิ่มแรงกดบนสะโพก หัวเข่าข้อเท้า ทำให้สะโพกบิดเข้าด้านใน ซึ่งการที่กระดูกขาท่อนบนบิดเข้าด้านในมากผิดปกติ (Internal Femoral Torsion) เนื่องจากปกติกระดูกต้นขา จะต้องบิดมาข้างหน้าโดยในเด็กเล็กจะบิดมาข้างหน้า 40 องศา ในผู้ใหญ่ ถ้าคอกระดูกบิดมาข้างหน้ามาก และหัวกระดูกอยู่ในเบ้าข้อสะโพก ก็จะทำให้ขาทั้งขา บิดเข้ามาด้านใน เวลาเดินต้นขาเท้าสองข้างจะบิดเข้าด้านในเหมือนเป็ด

  • การนั่งท่า W จะทำให้เด็กไม่สามารถหมุนเอี้ยวลำตัว หรือเอื้อมไปหยิบของเล่นด้านข้างได้

ปกติแล้วเด็กควรสามารถเอื้อมและหมุนลำตัวได้ หากเด็กไม่สามารถพัฒนาการใช้ร่างกายทั้งสองซีกให้สัมพันธ์กันได้ อาจทำให้เด็กขาดทักษะต่างๆ ในอนาคต เช่น การพัฒนามือข้างที่ถนัด การกระโดดขาเดียว การโยนรับบอล การเตะบอล เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การนั่งท่า W เป็นท่าที่ทำให้ข้อสะโพกอยู่ในตำแหน่งที่ถูกบิดออกจากตำแหน่งเบ้า

ท่านั่ง W เป็นอันตรายต่อข้อสะโพกในระยะยาว ทำให้อาจมีปัญหาปวดข้อ ปวดหลัง ปวดสะโพก หรือสะโพกเคลื่อนเมื่อโตขึ้น

  • การนั่งท่า W เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน

การที่เด็กนั่งท่า W เป็นประจำ ทำให้เด็กๆ ขยับร่างกายน้อยลง เพราะเป็นท่าที่ค่อนข้างนิ่งและไม่ต้องใช้กล้ามเนื้อมากนัก การขยับตัวที่ลดลงนี้ส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้น้อยลง ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ง่าย

 

ท่านั่งที่เหมาะสมกับเด็ก

ท่านั่งที่เหมาะสมสำหรับเด็ก คือท่านั่งที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านร่างกายและส่งเสริมท่าทางที่ถูกต้อง โดยหลักๆ แล้ว ท่านั่งที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ใช้กล้ามเนื้อหลังในการทรงตัว ท่านั่งที่ช่วยให้เด็กใช้กล้ามเนื้อหลังในการทรงตัวจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเคลื่อนไหวและการทรงตัว เช่น การนั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงต่ำ ท่านั่งยองๆ หรือท่านั่งพิงกำแพงโดยให้หลังตรง
  • นั่งได้เต็มก้น การนั่งเต็มก้นจะช่วยให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรง และลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง
  • ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่วางอย่างผิดสรีระ ท่านั่งที่ถูกต้องจะช่วยให้ร่างกายอยู่ในตำแหน่งที่เป็นธรรมชาติ และลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดเมื่อย เช่น นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ นั่งเหยียดขาตรง และนั่งบนเก้าอี้

วิธีป้องกันไม่ให้เด็กนั่งท่า W

ท่านั่ง W อาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กนั้นสำคัญมาก การแก้ไขและป้องกันท่านั่ง W จึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญและพยายามแก้ไขเมื่อลูกนั่งผิดท่า

  • ปรับเปลี่ยนท่านั่ง

    • เสนอทางเลือก ชวนลูกนั่งในท่านั่งอื่น เช่น นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ หรือให้นั่งบนเก้าอี้เล็กๆ
    • ใช้ตัวช่วย ใช้หมอนหรือลูกบอลขนาดเล็กวางไว้ใต้เข่า เพื่อช่วยให้ลูกปรับท่านั่ง
  • ชวนเล่นเกมทำกิจกรรม

    • เล่นเกมที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เกมซ่อนหา เกมวิ่งไล่จับ หรือเกมที่ต้องใช้การทรงตัว
    • กิจกรรมเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เช่น การคลาน เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว การปีนป่าย หาอุปกรณ์สำหรับปีนป่าย เช่น สไลเดอร์ หรือบันไดเล็กๆ การว่ายน้ำเป็นกิจกรรมที่ดีในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเคลื่อนไหว
    • จัดพื้นที่เล่นให้ปลอดภัยและมีของเล่นที่หลากหลาย และมีของเล่นที่กระตุ้นให้เด็กอยากเคลื่อนไหว
    • จำกัดเวลาในการนั่ง กำหนดเวลาในการนั่งดูทีวีหรือเล่นเกม และกระตุ้นให้ลุกขึ้นมาขยับตัวบ่อยๆ
  • เป็นตัวอย่างที่ดี 

    • คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการนั่ง หรือชวนออกกำลังกายและมีกิจกรรมที่สามารถเล่นกับลูกๆ ได้และทำให้ลูกสนุกและสนใจกับการทำกิจกรรมมากขึ้น
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

    • การแก้ไขท่านั่ง W ต้องใช้ความร่วมมือจากคุณพ่อคุณแม่แและตัวลูกน้อยเอง หากปัญหาไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสม

 

เด็กนั่งท่า W Sitting แม้จะเป็นท่าที่เด็กๆ ชื่นชอบ เพราะให้อารมณ์มั่นคงและสบาย แต่แท้จริงแล้ว ท่านั่งนี้กลับเป็นภัยเงียบที่ค่อยๆ ซึมซับเข้าสู่ร่างกายของเด็กๆ โดยที่เราอาจไม่ทันสังเกต แต่หากปล่อยปละละเลยอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกในระยะยาวได้ คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจในการดูแลพฤติกรรมการนั่งของลูก และส่งเสริมให้ลูกมีกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตนะคะ

ที่มา : thaichildcare , Indy Dairy

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

30 กิจกรรมเด็ก 3 ขวบ ไอเดียง่ายๆ ช่วยสร้างพัฒนาการเพื่อการเรียนรู้

PlayBrain คืออะไรสำคัญยังไงกับพัฒนาการทักษะสมองและการเรียนรู้ของลูกน้อย

ชี้เป้า 5 โรงเรียนเสริมพัฒนาการเด็ก เสริมทักษะสำคัญให้กับเด็กยุคใหม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

yaowamal