ช่วงปิดเทอมคือช่วงที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองควรให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอุบัติเหตุด้านต่าง ๆ ซึ่งในวันนี้เราจะมาแนะนำถึงวิธีการปฐมพยาบาลในเบื้องต้น เมื่อลูกเผลอหยิบหรือเผลอทานสารเคมี หรือสารพิษเข้าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการ
สารเคมีที่เป็นพิษกับร่างกายสามารถพบได้มากมายในชีวิตปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า ยาฆ่าแมลง และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ในบางครั้งผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ เอาจะเผลอเรอลืมวางทิ้งไว้ในที่ ๆ ลูกหลานอาจจะเอื้อมถึง หรืออาจจะวางไว้ดีแล้ว แต่ด้วยความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก ๆ ก็อาจจะเข้าไปเปิดและหยิบรื้อได้ในที่สุด และคงไม่มีครอบครัวไหนที่อยากจะพบเจอเหตุการณ์ที่น่ากลัวเหล่านั้นเป็นแน่ และเพื่อเป็นประโยชน์กับทุก ๆ ครอบครัว วันนี้เราขอนำเสนอวิธีการปฐมพยาบาลเมื่อลูกหลานเกิดรับประทานสารพิษหรือสารเคมีเข้าไป จะมีรายละเอียดอะไรบ้างนั้น ไปอ่านบทความพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
อาการเป็นอย่างไร?
อาการในเบื้องต้นนั้นคือ มีผื่อนแดงขึ้นตามตัวหรือที่ปาก ปวดศีรษะ มึนงง หนาวสั่น มีไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน หายใจลำบาก หายใจตื้นและถี่ มีอาการเจ็บหน้าอก และใจสั่นเป็นต้น
แต่บางรายที่ได้รับสารพิษในปริมารที่มากหรือรุนแรง ก็จะมีอาการชักกระตุก กล้ามเนื้อเกร็ง ปัสสาวะและอุจจาระราดโดยไม่รู้ตัว และหมดสติไปในที่สุด
ข้อควรสังเกต
- หากเราพบเห็นว่าลูกหลานมีอาการตามที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นนั้น ให้คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองทุกคนสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กก่อนว่า ในบริเวณนั้นมีอะไรผิดปกติแปลกไปจากเดิมหรือไม่ ทั้งนี้ เราจะได้ทราบได้ถูกว่า พวกเขาได้รับสารเคมีหรือสารพิษตัวไหนเข้าไป หากพบว่ามีภาชนะที่บรรจุสารพิษหรือสารเคมีตกอยู่ในบริเวณนั้น ให้รีบหยิบและนำไปให้แพทย์
- สังเกตคราบที่ติดอยู่บริเวณเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายหรือร่างกายให้ดี ว่ามีรอยหรือคราบอะไรหรือไม่
- ให้สังเกตกลิ่นของสารพิษ เพราะบางครั้งเราอาจจะได้กลิ่นลมหายใจของผู้ป่วยได้
วิธีการปฐมพยาบาล
- ควรทราบก่อนว่า สารเคมีหรือสารพิษที่ลูกหลานทานเข้าไปนั้น เป็นสารพิษประเภทใด เพราะการปฐมพยาบาลและการรักษานั้นแตกต่างกันไปตามประเภทของสารพิษ
- ก่อนที่จะทำให้ลูกหลานอาเจียนออกมา ควรมั่นใจก่อนว่า สารเคมีหรือสารพิษที่พวกเขาได้รับไปนั้น ไม่ได้มีฤทธิ์เป็นกรด มิเช่นนั้น กรดจะทำให้อวัยวะของพวกเขาบอบช้ำและบาดเจ็บมากกว่าเดิม
- หากมั่นใจแล้วว่า สารเคมีหรือสารพิษที่ว่านั้นไม่ได้มีฤทธิ์เป็นกรด ควรรีบทำให้ลูกหลานอาเจียนออกมาด้วยการล้วงคอ ให้ดื่มน้ำมาก ๆ หรือให้กลืนไข่ขาวลงไป
วิธีป้องกัน
- ควรเก็บน้ำยาเคมีภัณฑ์ที่ใช้ภายในบ้านในบริเวณที่ปลอดภัยและพ้นจากมือของเด็ก
- จัดข้าวของเครื่องใช้ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความเป็นระเบียบ เราจะได้รู้ได้ทันทีว่า มีขวดไหนหายไป
- หลังจากใช้งานแล้ว ให้รีบเก็บเข้าที่ทันที อย่าคิดว่า เดี๋ยวค่อยเก็บ เพราะบางทีเราอาจจะลืมได้
ที่มา: What To Expect และ Manager
ขอบคุณรูปภาพจาก First Aid for life และ Prezi
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
5 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อลูกได้รับบาดเจ็บ
ทำอย่างไรดี เมื่อแมลงเข้าหูลูก!