หนูเป็น อินดี้วัยเตาะแตะชอบหยิก กัด คุณแม่เป็นคนที่อยู่ใกล้ ๆ ตัวลูกที่สุด อาจจะโดนบ่อย ๆ จู่ ๆ ลูกก็แอบมาหยิก กัด ไม่รู้หมั่นเขี้ยวมาจากไหน หรือ บางทีพฤติกรรมลูกก็ดูก้าวร้าว โมโหร้าย อารมณ์แบบนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบช่วยกันจัดการแก้ไขเจ้าตัวเล็กตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยวิธีนี้ดูนะคะ
#ลองใช้ภาษามือ
ในช่วงนี้เจ้าหนูวัย อินดี้วัยเตาะแตะชอบหยิก ชอบกัด บางคนอาจจะเริ่มเปล่งเสียงขึ้นมาได้แล้ว แต่บางคนก็ยังอาจพูดได้ไม่ชัดเจนนัก การตอบสนองของคุณพ่อ คุณแม่ อาจไม่ได้เป็นไปดั่งใจ จนทำให้เจ้าหนูรู้สึกหงุดหงิดง่าย คุณพ่อ คุณแม่ ลองสอนให้ลูกได้ลองใช้ภาษามือเกี่ยวกับพื้นฐานในชีวิตประจำวันดูไหมคะ เช่น แบสองมือชูเหนือศีรษะ แปลว่า ขอความช่วยเหลือ จรดปลายนิ้วทั้งสองมือเข้าด้วยกัน แปลว่า ขออีก ทำท่าเหมือนรีดนมวัว แปลว่า หิวนม เป็นต้น
#เข้าใจอารมณ์ลูกด้วยการไม่ใส่อารมณ์กับลูก
หากจู่ ๆ เจ้าตัวเล็กเกิดเดินเข้ามาหยิก หรือ กัดทั้งกับ คุณพ่อ คุณแม่ เองหรือคนอื่น แทนที่จะขึ้นเสียงดังว่าลูก ให้ลองจับมือ และ พูดกับลูกด้วยน้ำเสียงนุ่มนวลว่า “ หนูโมโหได้ แต่อย่าไปทำร้ายคนอื่นแบบนี้นะคะ มันไม่ดีเลย ” หรือ หนูโมโหได้ แต่หนูจะ กัด หรือ หยิก ใครไม่ได้นะลูก แต่บางทีเขาอาจจะไม่เข้าใจกับสิ่งที่พ่อแม่กล่าว
#เหตุผลยังใช้ไม่ได้กับเด็กเล็ก
เด็กเล็กในตอนนี้จะรู้จักใช้อารมณ์มากกว่าเห็นผล ดังนั้นการพยายามอธิบายถึงเหตุผลร้อยแปดเพื่อให้เด็กว่าสิ่งที่ทำผิดหรือถูกนั้นยังไม่อาจทำให้เขาเข้าใจได้ แต่สิ่งที่ทำได้คือการแสดงให้เห็นถึงผลที่ลูกกระทำ เช่น ถ้าลูกกัดเพื่อนที่มาขอของเล่น ให้นำของเล่นนั้นออกจากมือลูกเพื่อให้เขาได้รู้ว่ากำลังทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องอยู่นะ
#อ่านนิทานที่มีเนื้อหาสอนใจ
มีหนังสือนิทานเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม ฯลฯ ที่มีเนื้อหาพร้อมภาพบรรยายน่ารักที่ทำให้เด็กสนใจฟังและคล้อยตาม เช่น เป็นเด็กดีต้องไม่รังแกคนอื่น ไม่โกหก ไม่ขี้แกล้ง คอยอ่านหนังสือเหล่านี้เพื่อให้ลูกได้ซึมซับ
วิธีแก้ไขอินดี้วัยเตาะแตะที่ชอบหยิกกัด อ่านต่อนะคะ >>
#มีอุปกรณ์แก้หมั่นเขี้ยวให้ลูกเคี้ยว
การที่เจ้าตัวเล็กชอบเที่ยวไปหยิกกัดอาจเป็นเพราะว่ารู้สึกหมั่นเขี้ยว ถึงเวลาที่เจอลูกงับก็ลองส่งอุปกรณ์ยางกัดที่ดูแล้วว่าปลอดภัยเหมาะสำหรับเด็กในวัยเตาะแตะให้ลูกได้กัดระบายอารมณ์ดูนะคะ
#ใช้ท่าโอบกอดสงบอารมณ์
ยามที่ลูกน้อยมีอารมณ์โมโห เริ่มทำร้ายคนอื่น อย่าเพิ่งไปตวาดขึ้นเสียงใส่ลูกนะคะ ให้โอบกอดเขาเอาไว้แล้วจับมานั่งตักซักพัก เมื่อรู้สึกว่าลูกเริ่มสงบและผ่อนคลายแล้ว จึงค่อย ๆ บอกกล่าว ค่อย ๆ สอนกันไปนะคะ
#สอนลูกให้หายใจเข้าออกยาว ๆ
ยามเมื่อเห็นว่าเจ้าตัวเล็กกำลังหงุดหงิดหรือโมโห ลองบอกลูกให้หายใจเข้า-ออกยาว ๆ 5 ครั้ง โดยทำเป็นตัวอย่างไปพร้อม ๆ กับลูกนะคะ เขาจะค่อย ๆ คลายจากอารมณ์หงุดหงิดลงไปได้
#เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกตาม
ไม่เฉพาะแต่เพียงห้ามปรามหรือคอยสอนลูกอย่างเดียว พ่อแม่คือตัวอย่างที่จะแสดงให้ลูกตามที่ดีที่สุด เพราะหากคุณเผลอไปโมโหใส่ลูก พูดจาก้าวร้าว หรือเขย่าตัวลูกด้วยอารมณ์ ก็จะทำให้ลูกซึมซับกับพฤติกรรมแบบนี้ และแสดงออกเหมือนที่พ่อแม่ทำนะคะ
ถึงแม้การแก้ไขเจ้าตัวเล็กในวันนี้อาจจะยังไม่เห็นผลหรือความเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว แต่หากค่อย ๆ สอนลูกไปเรื่อย ๆ ในระยะยาวลูกจะเรียนรู้ในสิ่งที่ถูกต้อง ดังนั้นในช่วงวัยเตาะแตะที่ลูกอาจมีอารมณ์ร้าย ชอบหยิก กัด ใช้กำลัง ขอให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจพฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ และใช้ความอดทนในการแก้ไข เพื่อให้ลูกได้เติบโตเป็นเด็กที่น่ารักของพ่อแม่และคนรอบข้างในอนาคตนะคะ.
ทำไมลูกถึงชอบกัดหรือเตะคนอื่น
เด็กบางคนไม่ชอบสู้คน เด็กบางคนตอบโต้การกระทำของผู้อื่นด้วยคำพูด แต่เด็กบางคนต่อตอบโต้ผู้อื่นด้วยการกระทำเนื่องจากไม่สามารถรับกับสถานการณ์ทางสังคมได้ หรือรู้สึกตื่นเต้นมากเกินไป เมื่อลูกกัดพ่อแม่อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าตอนนี้เขากำลังอารมณ์ไม่ดีที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง เช่น มีน้องเพิ่มมาอีกคน พ่อแม่สนใจอย่างอื่นมากกว่าตัวเขา
ลูกชอบกัดหรือเตะพ่อแม่ควรทำอย่างไร
หากลูกมีการกัดผู้อื่นหรือพ่อแม่ สิ่งแรกที่ควรทำคือพยายามให้ลูกน้อยใจเย็นลง และต้องทำอย่างเด็ดขาด และรวดเร็วด้วยคะ จากนั้นก็พาลูกน้อยออกจากสถานการณ์ตรงนั้นไป แล้วอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าการกัด ตี เตะคนอื่น เป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง เราไม่ควรที่จะทำร้ายคนอื่น ไม่ควรทำตัวไม่น่ารัก
หากลูกทะเลาะกับเพื่อนๆ ก็อย่าพยายามหาคนผิดในตอนแรก แต่ควรพาลูกแยกออกไปก่อนค่ะ หรือถ้าพ่อแม่โดนลูกตีหรือกัด ก็อย่าโต้ตอบกลับด้วยความรุนแรง อย่าตะคอกใส่ลูก เพราะการกระทำแบบนั้นอาจทำให้ลูกอารมณ์เสียมากขึ้นและอยากทำรุนแรงมากขึ้นด้วยค่ะ
ทำไมลูกชอบตีหน้าพ่อแม่
เด็กทารกบางคนตีพ่อแม่ หรือดึงผมเพราะต้องการเล่นกับพ่อแม่ และเมื่อเห็นว่าพ่อแม่โวยวายขึ้นมา ลูกอาจเข้าใจผิดคิดว่าแม่สนุก ชอบในสิ่งที่ลูกทำ เขาอยากทำอีกไปเรื่อยๆ เพราะเห็นแล้วว่าเวลาที่เขาทำพ่อแม่มีปฎิกิริยาอย่างไร
วิธีการแก้ไข คือ ต้องแสดงออกอย่างชัดเจนว่าพ่อแม่ไม่ได้ชอบที่ลูกทำแบบนี้นะ แต่อย่าดุด่า แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องแสดงท่าทีว่าลูกไม่ควรทำแบบนี้ เช่น ลุกไปที่อื่น หรือเปลี่ยนให้ลูกสนใจอย่างอื่นแทน และต้องเด็ดขาดอย่าปล่อยให้ลูกได้ทำแบบนี้อีก
ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
Credit content: www.kapook.com
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ที่มาจาก : https://th.theasianparent.com/0%B9%88
เบื้องหลังที่แม่ทำงานบ้านไม่เคยเสร็จซักที..คลิปนี้คือคำตอบ
13 พฤติกรรมของเจ้าหนูจอมซนที่คุณแม่แอบแชะ&แชร์