พัฒนาการเด็กวัย 4 ปี 1 เดือน
พัฒนาการเด็กวัย 4 ปี 1 เดือน คุณจะเริ่มสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงมากมาย เขาจะเริ่มเข้าสังคมมากขึ้น และอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น
พัฒนาการด้านร่างกาย
เด็กในวัย 4 ปี 1 เดือน เริ่มมีความมั่นใจเกี่ยวกับความสามารถทางด้านร่างกายของตัวเองมากขึ้น เดินขึ้นลงบันไดเองได้ โยน รับ และเตะลูกบอลได้คล่องแคล่ว วิ่ง กระโดดปีนป่าย รวมไปถึงการยืนด้วยขาข้างเดียวได้ดี ตาและมือทำงานประสานกันได้ดี และชอบทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ
ทักษะที่เด็กในวัย 4 ปี 1 เดือน ควรมี
- ยืนขาเดียวได้นานกว่า 9 วินาที
- เดินขึ้นลงบันได้ได้เอง
- ปีนบันได้ได้คล่อง
- เข้าห้องน้ำเองได้
- ขี่จักรยานสามล้อได้
- ใช้ช้อนส้อมทานอาหารเองได้
- ถอดและใส่เสื้อผ้าเองได้ แปรงฟันเองได้
- ใช้กรรไกรสำหรับเด็กตัดกระดาษได้
- เขียนชื่อตัวเองได้ หรือเขียนตัวอักษรบางตัวได้
คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
- กระตุ้นให้ลูกของคุณเล่นกับเด็กคนอื่น ๆ สิ่งนี้จะช่วยให้เขาเรียนรู้คุณค่าของการแบ่งปันและมิตรภาพ
- พาลูกไปเล่นที่สวนสาธารณะ หรือสนามเด็กเล่น และอนุญาตให้เล่นดินหรือทรายบ้าง และต้องจำไว้เสมอว่า ต้องดูลูกตลอดเวลาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเขาเล่นอยู่นอกบ้าน หรือเมื่อลูกอยู่ในที่ ๆ ใกล้กับแหล่งน้ำ
- ส่งเสริมการเล่นที่จะช่วยเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เช่น เกมระบายสี, วาดภาพ หรือแต่งตัวตุ๊กตา
- การตัดกระดาษตามรูปร่าง ด้วยกรรไกรสำหรับเด็ก และการร้อยลูกปัด เป็นกิจกรรมที่สามารถเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และฝึกฝนทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กได้ดี
- จำกัดเวลาหน้าจอสำหรับเด็ก โดยไม่ควรเกิน 1 ถึง 2 ชั่วโมงต่อวัน
- ให้ลูกนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หรือประมาณ 10-13 ชั่วโมงต่อวัน (รวมช่วงนอนกลางวัน)
พาลูกไปพบแพทย์ เมื่อ…
- ไม่สามารถกระโดดได้
- มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน หรือการมองเห็น
- ถอดเสื้อผ้าเองไม่ได้ แปรงฟันเองไม่ได้ ล้างมือและเช็ดมือเองไม่เป็น
- สูญเสียทักษะบางอย่างที่เด็กเคยทำได้
พัฒนาการด้านความคิด
นี่เป็นช่วงที่น่าตื่นเต้นสำหรับเด็ก เพราะลูกของคุณจะเรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน
ทักษะที่เด็กในวัย 4 ปี 1 เดือน ควรมี
- จำชื่อตัวเองได้
- นับเลขได้ถึง 10 หรือมากกว่า
- บอกชื่อสีได้ถูกอย่างน้อย 4 สี
- เข้าใจความหมายเรื่องช่วงเวลา เช่น รู้ว่าอะไรคือวันนี้ พรุ่งนี้ หรือเมื่อวานนี้
- รู้ว่าด้านไหนซ้ายหรือขวา
คำแนะนำเรื่องการเลี้ยงลูก
- ทำอาหารกับลูก เป็นวิธีที่จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ และทำความเข้าใจเรื่องของคณิตศาสตร์เช่น “ครึ่ง”, “1 ช้อนชา” หรือ “30 นาที”
- เล่นเกมที่เกี่ยวข้องกับการเรียงลำดับ หรือการจับคู่วัตถุ ลองให้ลูกเรียงลูกปัดเป็นสี หรือจับคู่วัตถุที่มีรูปร่างเหมือนกัน
- พูดคุยและถามคำถามเพื่อให้ลูกได้ใช้ความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นและสิ่งที่กำลังทำ
พัฒนาการทางอารมณ์และสังคม
ถึงตอนนี้ ลูกน้อยของคุณสามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้ดีขึ้นมาก และคุณอาจสังเกตเห็นว่าลูกมีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้นเกี่ยวกับร่างกายของตัวเอง เริ่มถามคำถามมากขึ้น และเริ่มสังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างเด็กหญิงและเด็กชาย
ทักษะที่เด็กในวัย 4 ปี 1 เดือน ควรมี:
- อยากให้เพื่อนชอบ อยากได้อยากเป็นเหมือนเพื่อน
- เริ่มมีเพื่อนในจินตนาการ
- ชอบร้องเพลง ชอบเต้น ชอบแสดงบทบาทสมมุติ
- สามารถแยกได้ว่าเรื่องไหนคือนิทาน เรื่องไหนคือเรื่องจริง
คำแนะนำเรื่องการเลี้ยงลูก
- ตอนนี้ลูกน้อยของคุณเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่นมากขึ้น ดังนั้นควรให้ลูกเล่นเกมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ที่จะแบ่งปันและเกมที่ต้องผลัดกันเล่น
- อย่าลืมกล่าวชมเชยเมื่อลูกแบ่งปันสิ่งของให้คนอื่น
- สอนให้ระวังเรื่องความปลอดภัยเวลาเจอคนแปลกหน้า
พาลูกไปพบแพทย์ เมื่อ…
- ไม่ต้องการเล่นกับเด็กคนอื่น ๆ
- รู้สึกกลัว ไม่มีความสุข หรือเศร้าอยู่บ่อยครั้ง
- ยังมีปัญหาเรื่องการขับถ่าย การนอน หรือการรับประทานอาหาร
พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร
ทักษะทางด้านภาษาของเด็กในวัยนี้มีการพัฒนาขึ้นมาก และคุณจะสังเกตได้ว่าเขาชอบเล่าเรื่อง ชอบร่วมวงสนทนา และชอบถามคำถาม
ทักษะที่เด็กในวัย 4 ปี 1 เดือน ควรมี
- พูดได้ชัดขึ้น และพูดได้มากกว่า 5 คำใน 1 ประโยค
- เล่าเรื่องได้
- จำเนื้อเพลงที่ชอบได้
คำแนะนำเรื่องการเลี้ยงลูก
- การอ่านหนังสือกับลูก การร้องเพลง และท่องบทกลอนให้ลูกฟัง จะช่วยกระตุ้นให้ลูกได้พูด ได้ใช้ความคิดและจินตนาการ
- พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับสิ่งที่เขาทำ และที่ที่เขาเคยไป ถามเขาเกี่ยวกับสิ่งที่เห็น และฟังด้วยความสนใจเมื่อเขาพูดกับคุณ
พาลูกไปพบแพทย์ เมื่อ…
- ยังพูดไม่ชัด ฟังไม่เข้าใจ
- พูดได้ไม่เกิน 3 คำ ใน 1 ประโยค
- จำชื่อตัวเองไม่ได้
คำแนะนำเรื่องอาหารและโภชนาการ
- ให้ลูกทานอาหารที่หลากหลาย เช่นผักสีต่าง ๆ หรือผลไม้ชนิดต่าง ๆ
- จำกัดการทานอาหารแปรรูปและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
- เครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพที่สุดคือน้ำและนม
- ระวังอาหารที่อาจทำให้เด็กสำลักหรือติดคอ
- เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกในเรื่องของการทานอาหาร
- ปิดโทรทัศน์ — โดยเฉพาะช่วงทานอาหาร
- สอนลูกเรื่องมารยาทบนโต๊ะอาหาร เช่น ไม่พูดขณะที่มีอาหารอยู่ในปาก, ฝึกใช้ผ้าเช็ดปาก หรือฝึกใช้ช้อนกลาง
อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าหากคุณกังวลเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก คุณควรปรึกษากุมารแพทย์จะดีที่สุด
ที่มา
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 6 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี
พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 7 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี