ลูกไอมาก ทําไงดี ทําไงให้หายไอ อากาศในปัจจุบันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาบ่อย ทำให้เด็กเล็กต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลง จนบางครั้งร่างกายปรับตัวไม่ทันทำให้เกิดอาการเป็นหวัด แพ้อากาศ และเกิดอาการไอ หรือบ่อยครั้งอาการป่วยอื่น ๆ เช่น มีไข้ น้ำมูกไหล หรือจามจะหายไปแล้ว แต่ลูกน้อยก็ยังคงมีอาการไออย่างต่อเนื่อง ลูกไอมาก ลูกไอไม่หยุด ทําไงดี นอกจากการรับประทานยาแก้ไอแล้ว ยังวิธีแก้ไอจากธรรมชาติที่ช่วยบรรเทาอาการไอแทนการกินยาบ่อย ๆ
5 วิธีบรรเทาอาการไอให้ลูกน้อย ทําไงให้หายไอ
#1 กินน้ำผึ้ง
น้ำผึ้งสามารถช่วยบรรเทาอาการไอได้ กินน้ำผึ้งก่อนนอนจะช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการได้ในช่วงเวลากลางคืน เพราะน้ำผึ้งอุดมไปด้วยสารยับยั้งแบคทีเรียและสารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติ ซึ่งสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคในร่างกาย นอกจากนี้น้ำผึ้งยังกระตุ้นให้ผลิตน้ำลายซึ่งสามารถช่วยลดเสมหะ และทำให้รู้สึกชุ่มคอด้วย โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำปริมาณสำหรับเด็กที่ควรกิน
– น้ำผึ้งครึ่งช้อนชาสำหรับเด็กอายุ 2-5 ปี
– น้ำผึ้ง 1 ช้อนชาสำหรับเด็กอายุ 6-11 ปี
– น้ำผึ้ง 2 ช้อนชาสำหรับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป
**ห้ามให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปีกินน้ำผึ้งเด็ดขาด เพราะอาจทำให้อาหารเป็นพิษและเป็นอันตรายถึงชีวิต**
#2 ใช้ยาหม่องหรือทาวิคส์
พ่อแม่หลายคนลองทาวิคส์ที่ฝ่าเท้าเมื่อลูกมีอาการไอ แล้วบอกว่าได้ผลจริงๆ เพียงก่อนนอนให้ทาวิคส์หรือยาหม่องบนฝ่าเท้าของเจ้าตัวเล็กและนวดเบาๆ จากนั้นให้สวมถุงเท้าทับ จะช่วยบรรเทาให้อาการไอระหว่างคืนได้เป็นอย่างดี
#3 ใช้ไอน้ำระเหย
การใช้เครื่องทำไอน้ำโดยเปิดทิ้งไว้ตอนกลางคืนเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศซึ่งจะช่วยลดอาการคัดจมูกได้ หรืออาจจะใส่การบูรหรือน้ำมันการบูรเพื่อทำให้หายใจสะดวกขึ้นอีกทาง หากที่บ้านไม่มีเครื่องทำไอสามารถใช้วิธีง่าย ๆ แทนได้ คือการเปิดน้ำร้อนจากเครื่องทำน้ำอุ่นในห้องน้ำ เพื่อให้เกิดไอน้ำ ซึ่งไอน้ำจะช่วยลดอาการไอได้
#4 กินน้ำซุปอุ่น ๆ
เมนูซุปไก่ โจ๊ก หรือการซดน้ำแกงร้อน ๆ จะมีคุณสมบัติช่วยลดอาการบวมได้ดี โดยชะลอการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งเป็นระบบ
ที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยลดอาการคัดจมูก
#5 จิบน้ำอุ่น ดื่มน้ำให้มาก ๆ
ให้ลูกได้จิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ อดกินน้ำเย็น ของทอด ของหวาน ก็จะช่วยบรรเทาอาการไอลง
สำหรับลูกที่ไอหนักมากกินยาหรือใช้วิธีบรรเทาอาการไอตามข้างต้นแล้วยังไม่มีอาการดีขึ้นนานเกินอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการนะคะ โดยเฉพาะหากลูกไอมีเสมหะร่วมด้วย หากไม่ขับเสมหะออก อาการดังกล่าวก็อาจพัฒนากลายเป็นโรคหลอดลมอักเสบได้.
ข้อแนะนำ: ถ้าลูกมีอาการไอ ควรป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจาย โดยการให้ลูกล้างมือด้วยน้ำสบู่อุ่น ๆ บ่อย ๆ ปิดปากเวลาไอ และใส่ผ้าปิดปากกันนะคะ
บทความใกล้เคียงที่น่าสนใจ :