ลักษณะนิสัยของพ่อแม่ที่ทำร้ายลูก
ลักษณะนิสัยของพ่อแม่ที่ทำร้ายลูก พฤติกรรมของพ่อแม่แบบไหนที่พลักให้ลูกกลายเป็นเดฌกก้าวร้าว ชอบใช้ความรุนแรง พฤติกรรมของเด็กเหล่านี้บางครั้งอาจส่งผลมาจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ มาจากความรักความปราถนาดีที่พ่อแม่มีให้ต่อลูก แต่กลับกลายเป็นว่าความรักนั้นกับทำร้ายลูกน้อยมากกว่า ซึ่งมีงานวิจัยหนึ่งกล่าวว่า นิสัยที่พ่อแม่ชอบสปอยล์ลูก ตามใจลูกมากเกินไป มักทำให้เด็กกลายเป็นคนเอาแต่ใจ และควบคุมตัวเองไม่ได้
ลักษณะของพ่อแม่ที่ชอบตามใจลูก
ดร. Jean Illsley Clarke, ดร. Connie Dawson และ ดร. Bredehoft ได้ระบุลักษณะของพ่อแม่ที่มักจะตามใจลูกเสมอ ในหนังสือเรื่อง How Much Is Too Much?Raising Likeable, Responsible, Respectful Children ไว้ 3 รูปแบบ ดังนี้
- พ่อแม่ที่ให้ลูกมากเกินไป เช่น ให้ของเล่นลูกมากเกินไป ให้ใช้เวลาเล่นมากเกินไป เป็นต้น
- พ่อแม่ที่โอ๋ลูกมากเกินไป คือ พ่อแม่ที่ไม่ยอมให้ลูกทำอะไรด้วยตนเอง กลัวลูกลำบากจึงทำแทนลูกทุกอย่าง
- พ่อแม่ที่ปล่อยปะละเลยมากเกินไป เช่น ไม่ยอมสอนลูกเรื่องระเบียบวินัย ไม่ยอมให้ลูกได้ลองทำงานบ้าน ไม่มีการบังคับใช้กฎระเบียบ เป็นต้น
สิ่งต่างๆ ที่พ่อแม่ทำนั้น พ่อแม่หลายคนมองว่าเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรกระทำ พ่อแม่เต็มใจทำให้ลูก อยากให้ลูกสบาย เพราะพ่อแม่อยากให้ลูกได้สิ่งที่ดีที่สุดเสมอ ความคิดนี้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่การให้อะไรกับลูกที่มากเกินไปบางครั้งก็ส่งผลเสียมากกว่าผลดีด้วยซ้ำ เพราะเมื่อเด็กซึมซับกับสิ่งที่พ่อแม่ทำไปนานๆ อาจกลายเป็นการทำให้ลูกล้มเหลวในชีวิตได้ในอนาคต หากเด็กไม่มีสภาพจิตใจที่เข็มแข็งมากพอ
จะเกิดอะไรขึ้นหากพ่อแม่ตามใจลูกมากๆ
1.เรียกร้องความสนใจ
เมื่อลูกเคยได้รับความสนใจมากๆ จากพ่อแม่ พอถึงวัยที่ต้องเข้าเรียนอนุบาล เด็กจะพยายามเรียกร้องความสนใจจากเพื่อนๆ หรือทำให้ตัวเองเป็นที่สนใจมากกว่าเพื่อนร่วมชั้น
2.ลูกไม่รู้จักคุณค่าของสิ่งของ
พ่อแม่ที่ตามใจลูกมักจะยอมทำตามที่ลูกร้องขอทุกอย่าง ถึงแม้ว่าพ่อแม่จะมีเงินเพียงพอจะให้ลูกใช้จ่ายสบายๆ ก็ตาม เพราะการที่พ่อแม่ยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ลูกเกิดความพอใจนั้นจะทำให้เด็กเคยตัว อยากได้อะไรต้องได้ และไม่รู้จักคุณค่าของสิ่งของที่ได้มา ดังนั้น พ่อแม่ควรที่จะให้ลูกบ้างและห้ามลูกบ้าง ไม่ใช่ให้ลูกไปซะทุกอย่าง ลูกจะได้ลูกจักเก็บรักษาและคุณค่าของมัน
3.เป็นเด็กไม่มีความอดทน
พฤติกรรมเหล่านี้อาจจะเห็นไม่ชัดในเด็กเล็ก เพราะส่วนใหญ่เวลาที่ลูกน้อยไม่ได้ดั่งใจก็จะร้องไห้ โวยวายอาละวาดออกมา แต่พอโตขึ้นเด็กจะกลายเป็นคนไม่รู้จักการรอคอย ชอบมีปัญหากับคนรอบข้าง ทำตามแต่ความคิดของตัวเอง เพราะคิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง หนักหน่อยก็จะทำร้ายตัวเอง หากไม่ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการหรือเกิดความผิดหวังซ้ำซาก
4.ไม่รู้จักควบคุมตัวเอง
เมื่อเด็กถูกตามใจมากๆ ขัดใจก็ไม่ได้ คิดว่าตัวเองใหญ่ ไม่เคารพการตัดสินใจของคนอื่น สิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กเติบโตขึ้นมาเป็นคนไม่รู้จักการให้ การเสียสละ ไม่รู้จักการยอมคนอื่น ควบคุมตนเองไม่ได้ และชอบแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อคนอื่น เพราะคิดว่าการกระทำแบบนี้จะทำให้ตัวเองได้ในสิ่งที่ต้องการจนในที่สุดเด็กก็ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ เวลาไม่พอใจก็มักจะใช้ความรุนแรง
วิธีเลี้ยงลูกแบบไม่สปอยล์ต้องทำอย่างไร
1.มอบหมายหน้าที่ให้ลูก
เวลาที่พ่อแม่ทำงานบ้าน รดน้ำต้นไม้ ล้างรถ ล้างจาน เก็บต้องอาหารก็ควรให้ลูกได้มีหน้าที่ในการทำงานบ้านบ้าง อย่าคิดว่าลูกยังเล็กพ่อแม่ทำแทนได้ เพราะการทำแบบนั้นทำให้เด็กช่วยเหลือตัวเองไม่เป็น ต้องรอให้ผู้อื่นทำให้ตลอด ซึ่งการทำแบบนี้เด็กจะได้รู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น การสร้างความภูมิใจในตัวเองค่ะ
2.สอนให้ลูกรู้จักดูแลข้าวของ
พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกรู้จักดูแลสิ่งของของตัวเอง รวมถึงต้องคอยสอนไม่ให้ทำลายข้าวของอื่นๆ อีกทั้งเวลาที่เล่นของเล่นก็ควรให้ลูกเป็นคนเก็บเองค่ะ ให้เขาพยายามเก็บให้ถึงที่สุดก่อน โดยที่พ่อแม่คอยดูและช่วยเหลือบ้างเป็นบางโอกาส
3.ตั้งกฎระเบียบร่วมกัน
พ่อแม่อาจสร้างกฎระเบียบขึ้นมาเพื่อให้น้องทำตามแต่ไม่ใช่การบังคับ โดยที่พ่อแม่อาจจะมานั่งคุยกับลูกก่อน เช่น ลูกต้องเก็บจานอาหารให้เรียบร้อยก่อนค่อยเล่นของเล่นนะ เพื่อให้น้องทำเป็นนิสัย และลูกจักการรักษากฎระเบียบร่วมกันค่ะ
4.สอนลูกให้รู้จักเหตุผล
เมื่อลูกทำผิดพ่อแม่ควรใช้เหตุผลเข้าไปคุยกับลูก หลีกเลี่ยงการทำโทษที่ใช้อารมณ์ เช่น ทำโทษลูกโดยการงดให้ลูกทำสิ่งที่ต้องการ อาจจะงดขนมหรือดูทีวีก็ได้ จากนั้น ก็เข้าไปคุยกับลูกว่าพฤติกรรมนั้นไม่ดีอย่างไร และควรทำข้อตกลงไว้ว่าถ้าทำผิดจะต้องงดสิ่งนี้นะ
ที่มา: verywellfamily
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
เรื่องที่แม่ต้องสอนลูก การเลี้ยงลูกที่ดี วิธีการสอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดี
ค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูก ต้องเตรียมเงินเท่าไร ลูกจะไม่เป็นเด็กด้อยคุณภาพ
สอนลูกสวัสดี ขอบคุณ ขอโทษ สอนลูกยกมือไหว้สวัสดี พนมมือไหว้พระ ทำได้ตอนลูกอายุเท่าไหร่