คนท้องกินยาแก้แพ้ได้ไหม ภูมิแพ้กำเริบช่วงตั้งครรภ์ แม่ท้องกินยาอะไรดี

แม่หายใจไม่ออก ภูมิแพ้บุกแม่ท้อง กินยาแก้แพ้ได้ไหม แม่ฟึดฟัดทั้งวัน แต่ก็กลัวลูกเป็นอันตราย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อแม่เริ่มตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย อาจทำให้ภูมิแพ้ที่เคยเป็นอยู่เดิม เกิดการกำเริบบ่อย ๆ แล้วอย่างนี้แม่จะทำยังไง คนท้องกินยาแก้แพ้ได้ไหม ยาแก้แพ้ตัวไหนต้องห้าม

 

คนท้องกินยาแก้แพ้ได้ไหม ลูกในท้องอันตรายไหม

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ เตือนให้คุณแม่ระมัดระวังโรคภูมิแพ้ ไว้ว่า โรคภูมิแพ้ที่ควบคุมอาการได้ไม่ดีในคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อความผิดปกติของลูกในครรภ์ได้ เช่น คุณแม่ที่เป็นโรคหืด

  • อาจส่งผลทำให้ลูกในครรภ์มีน้ำหนักตัวน้อย
  • คลอดก่อนกำหนด
  • อาจทำให้คุณแม่เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ

 

คนท้องเป็นหอบหืด

แม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะโรคหืด ต้องหมั่นตรวจเช็คกับสูติแพทย์อย่างต่อเนื่อง และใช้ยารักษาโรคภูมิแพ้เพื่อควบคุมอาการตามที่คุณหมอสั่งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมอาการของโรคให้ดี จะได้ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนกับลูก รวมทั้งหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่กระตุ้นให้เกิดอาการ

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคหอบหืด โรคที่เกี่ยวกับระบบหายใจ อย่าปล่อยไว้ อันตรายถึงชีวิต!

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคหืดในคุณแม่ตั้งครรภ์

อาการจะเป็นไปได้ 3 แบบ ถ้าโชคดีหน่อย คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอาการดีขึ้น หรือไม่ก็อาการจะคงเดิม แต่ที่น่าห่วงคือ แม่ท้องอาจจะมีอาการแย่ลงได้ ถ้าก่อนตั้งครรภ์มีอาการเดิมของโรครุนแรงอยู่แล้ว ก็คาดว่าปัจจัยที่ทำให้อาการของโรคหืดแย่ลง เนื่องจากติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนที่บ่อยกว่าก่อนตั้งครรภ์ สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญที่ทำให้อาการของโรคแย่ลง การที่ผู้ป่วยใช้ยาไม่สม่ำเสมอ หรือการได้รับการรักษาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งยารักษาโรคหืดบางชนิดสามารถใช้ได้ในคุณแม่ตั้งครรภ์โดยไม่มีอันตรายต่อลูกในครรภ์ แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิด

 

โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

นอกจากโรคหืดแล้ว โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ก็ถือเป็นโรคที่พบได้บ่อย สำหรับแม่ท้องที่มีอาการอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ หรือมีอาการกำเริบชัดเจนในช่วงตั้งครรภ์ อาจจะพบไซนัสอักเสบร่วมด้วย แต่อาการจมูกอักเสบ ก็ไม่ได้เกิดจากภูมิแพ้เสมอไป คนท้องบางคนก็เกิดอาการจมูกอักเสบ จากฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่เปลี่ยนแปลงระหว่างตั้งครรภ์ แต่แม่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ อาการนี้จะหายไปหลังคลอดลูกแล้วค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

แม่ท้องกินยาแก้แพ้ได้ไหม

คนท้องกินยาแก้แพ้เม็ดสีเหลืองได้ไหม ? พอพูดถึงยาแก้แพ้ แม่ ๆ จะนึกถึงคลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) กันใช่ไหมเอ่ย ยาแก้แพ้เม็ดสีเหลือง ที่มีสรรพคุณช่วยแก้แพ้อากาศ แก้คัน ซ้ำยังช่วยลดน้ำมูก แก้อาการฟึดฟัด ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย

ยาคลอเฟนิรามีนนั้น แม่สามารถกินได้ แต่ไม่ควรกินบ่อย ๆ หากใช้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าใช้ยา ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ จะส่งผลร้าย เช่น

  • เกล็ดเลือดต่ำ
  • ลูกที่เกิดมาอาจมีอาการเลือดไหลผิดปกติ

ยาลดน้ำมูก โตรโรลิดีน หรือแอคติเฟด เป็นยาแก้แพ้ที่ปลอดภัยกับแม่ท้อง ยาตัวนี้จะช่วยลดน้ำมูก ลดอาการคัดจมูก บรรเทาอาการโรคภูมิแพ้ แต่ยานี้มีผลข้างเคียง เช่น กินแล้วทำให้ง่วงนอน ดังนั้นคุณแม่ที่กินขณะทำกิจกรรม หรือขับรถ ไม่ควรกิน เพราะอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ยาฟาเทค เป็นอีกหนึ่งกลุ่มยาแก้แพ้ แก้คัน ลดน้ำมูก ที่เหมาะสำหรับแม่ท้อง ไม่อันตรายต่อทารกในครรภ์ และข้อดีคือ ยาตัวนี้ไม่ทำให้ง่วงนอน แต่ยาตัวนี้ออกฤทธิ์ช้ากว่าตัวยาชนิดอื่น ๆ

นอกจากนี้ ยาแก้แพ้บางชนิด ก็ส่งผลต่อทารกในครรภ์ ทำให้ลูกพิการแต่กำเนิด แม่ต้องระวังนะคะ

 

ยาห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์

นอกเหนือจากยาแก้แพ้แล้ว คนท้องต้องรู้ ยาห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ว่ามีดังนี้

  1. ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบ ยาเตตราชัยคลิน มีผลต่อการสร้างกระดูกและฟันของลูกในครรภ์ / ยาซัลฟา อาจทำให้ทารกคลอดออกมาแล้วตัวเหลือง / ยาเพนนิซิลินและแอมพิซิลิน เป็นยาที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับหญิงมีครรภ์ ยกเว้นผู้ที่แพ้ยาเท่านั้น / ยาแก้อักเสบ มักจะเป็นยาที่หาซื้อมาทานเองบ่อยมาก และมักจะใช้ไม่ถูกวิธี จึงทำให้ดื้อยา ฉะนั้นไม่ควรใช้ยาเอง หากใช้ในหญิงทั้งที่ตั้งครรภ์หรือไม่ อาจทำให้ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา มีอาการตกขาวและคันในช่องคลอดมากได้
  2. ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแอสไพริน หากทานเมื่อใกล้คลอด อาจไปยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือดสำหรับทารกตั้งครรภ์ ทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้ / ยาพาราเซตามอล เป็นยาที่ใช้ได้ปลอดภัยในผู้หญิงตั้งครรภ์ แต่ต้องอยู่ในความควบคุมจากแพทย์ / คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นไมเกรน ให้หลีกเลี่ยงยาแก้ปวดศีรษะกลุ่มเออโกตามีน เพราะทำให้มดลูกบีบตัว จนอาจแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้
  3. ยาแก้คัน แก้แพ้ ยาคลอเฟนิรามีน หากมีการใช้ติดต่อกันนานๆ จะทำให้เกล็ดเลือดต่ำ ลูกที่เกิดมาอาจจะมีเลือดไหลผิดปกติ
  4. ยานอนหลับและยากล่อมประสาท ควรใช้ตามที่แพทย์สั่ง หากใช้ในปริมาณมาก ลูกที่เกิดมาอาจหายใจไม่ดี เคลื่อนไหวช้า และชักกระตุกได้
  5. ยารักษาเบาหวาน หากเป็นชนิดฉีดอินซูลินสามารถใช้ได้ ไม่มีอันตราย แต่ถ้าเป็นชนิดรับประทานอาจจะทำให้น้ำตาในเลือดของทารกต่ำได้
  6. ยากันชัก อาจทำให้เกิดความพิการในทารกได้ โดยมีใบหน้าผิดปกติ
  7. ยาแก้ไอ ไม่แนะนำให้ใช้ยาชนิดที่ไม่มีไอโอดีน เพราะอาจทำให้ทารกเกิดอาการคอพอก และมีอาการผิดปกติทางสมองได้
  8. ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาชนิดนี้มีส่วนผสมของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์มาก อาจทำให้คุณแม่ท้องเสีย และอาจเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้
  9. ยาแก้อาเจียนหรือยาแก้แพ้ท้อง ควรให้หมอเป็นผู้สั่งยา อย่าซื้อทานเองเด็ดขาด

 

แม่ท้องกินยาแก้แพ้บางชนิดได้ แต่ก็ควรระวัง !

สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ควรระวังในการกินยาต่าง ๆ มากกว่าคนทั่วไป และควรเลือกยาที่เหมาะสำหรับคนท้อง รวมถึงปลอดภัยทั้งตัวคุณแม่เองและทารกในครรภ์

  • หากมีประวัติแพ้ยาก่อนตั้งครรภ์ ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรกิน
  • ในช่วง 3 เดือนแรก หากคุณแม่จะกินยาอะไร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
  • ไม่ควรกินยาแก้แพ้ควบคู่กับการกินวิตามิน อาหารเสริม รวมถึงสมุนไพรต่าง ๆ
  • ไม่ควรกินติดต่อกัน 2 – 3 วัน
  • หากไปซื้อยาทานด้วยตัวเอง ควรแจ้งแพทย์ หรือเภสัชกรทุกครั้งว่าตั้งครรภ์
  • หากกินแล้วไม่ดีขึ้น ควรเข้ามาพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุอีกครั้ง

ทางที่ดีที่สุด แม่ท้องต้องปรึกษาคุณหมอ เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย ไม่ควรซื้อยาทานเอง เพื่อให้คุณหมอวินิจฉัยอย่างละเอียด แม่ท้องจะได้ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือเสี่ยงอันตรายจากโรคประจำตัว

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

คนท้องกินยาพาราได้มั้ย ส่งผลอะไรกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินยาอะไรได้บ้าง ป่วยแล้วต้องทำยังไง กินยาอะไรไม่ให้กระทบลูกในท้อง

คนท้องกินยาแก้เมารถได้ไหม แม่ท้องควรทำอย่างไรไม่ให้เมารถ เมาเรือ

ที่มา :med.mahidol

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya