เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

คุณแม่ผ่าคลอดหลายคน มักมีความกังวลอยู่เสมอว่า ผ่าคลอดแล้วลูกจะมีพัฒนาการสมองและภูมิคุ้มกัน น้อยกว่าเด็กคลอดธรรมชาติ ซึ่งจากการศึกษายังพบว่า 1 ใน 7 ของ เด็กผ่าคลอด เสี่ยงมีพัฒนาการด้านสมองช้ากว่าเด็กคลอดธรรมชาติเมื่อเริ่มเข้าโรงเรียน!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การผ่าคลอด เป็นกระบวนการคลอดที่นำตัวเด็กทารกออกมาผ่านหน้าท้องของคุณแม่ ส่งผลให้ เด็กผ่าคลอด พลาดโอกาสการได้รับจุลินทรีย์สุขภาพผ่านทางช่องคลอดของคุณแม่ตามธรรมชาติ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กผ่าคลอดมีพัฒนาการระบบภูมิคุ้มกันตั้งต้นช้ากว่าเด็กคลอดธรรมชาติ และยังทำให้มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ เจ็บป่วยง่าย นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า เด็กผ่าคลอดมีความเสี่ยงด้านพัฒนาการทางสมองมากกว่าเด็กคลอดธรรมชาติอีกด้วย

 

ดังนั้น จึงไม่ใช่แค่ภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง แต่สมองก็มีความสำคัญกับเด็กผ่าคลอดไม่แพ้กัน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเด็กผ่าคลอดให้มีพัฒนาการสมองที่ดีคุณแม่สามารถมอบต้นทุนสมองที่ดีให้ลูกรักตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ด้วยการที่รับประทานอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารสมองเพื่อส่งมายังทารกในครรภ์ พร้อมกับการหมั่นกระตุ้นพัฒนาการสมองของลูกรักให้สอดคล้องกับอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น และดูแลให้ลูกได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการสมองอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย  

 

ผลวิจัยชี้ เด็กผ่าคลอด เสี่ยงด้านพัฒนาการสมอง

จากการศึกษาที่สหรัฐอเมริกา (Deoni 2019) ซึ่งมีการศึกษาพัฒนาการทางสมอง โดยดูการทำงานเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทในสมอง (Brain connectivity) จากภาพสแกนสมอง เปรียบเทียบระหว่างเด็กคลอดธรรมชาติและเด็กผ่าคลอดอายุ 2 สัปดาห์ พบว่า สมองของเด็กผ่าคลอดมีการเชื่อมโยงการทำงานของสมองน้อยกว่าเด็กคลอดธรรมชาติ.

นอกจากนี้ พัฒนาการสมองของเด็กผ่าคลอด ส่วนที่เรียกว่า คอร์ปัส คาโลซัม (Corpus Callosum) ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมโยงการทำงานระหว่างสมองซีกซ้ายและซีกขวา พบว่า เด็กผ่าคลอดมีการสร้างไมอีลินในสมองน้อยกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่อายุ 3 เดือน จนถึง 3 ปี และยังพบอีกว่า เด็กผ่าคลอดที่อายุ 4 - 9 ปี มีคะแนนสอบน้อยกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผลการศึกษาเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า พัฒนาการสมองของเด็กผ่าคลอดควรได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จนกระทั่งหลังจากคลอดออกมาแล้ว เด็กผ่าคลอด ก็ยังจำเป็นต้องได้รับการดูแลพัฒนาการสมองอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากในขวบปีแรกเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สมองของทารกจะมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว 

 

อยากให้เด็กผ่าคลอดสมองไวตั้งแต่ขวบปีแรก สร้างได้ด้วย “นมแม่”

อย่างที่ทราบกันดีว่า “นมแม่” อุดมด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อลูกรักมากกว่า 200 ชนิด ทั้งยังเป็นแหล่งรวมสารอาหารสำคัญของ สมอง ร่างกาย และภูมิคุ้มกันอย่างครบถ้วน นอกจากนี้ นมแม่ ยังมีองค์ประกอบของสารอาหารที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารอาหารในกลุ่มไขมันฟอสโฟไลพิด (Phospholipid) ที่มีชื่อว่า “สฟิงโกไมอีลิน” หนึ่งในสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการสร้างปลอกไมอีลิน ซึ่งมีผลต่อการทำงานของสมอง ช่วยให้ลูกคิดเร็ว เรียนรู้ไว รวมทั้งยัง มีจุลินทรีย์สุขภาพ เช่น กลุ่มมบิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส (Bifidobacterium lactis หรือ B. lactis) ที่สามารถส่งต่อให้ลูกน้อย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตั้งต้นได้อีกด้วย

 

ทำความรู้จัก สฟิงโกไมอีลิน สารอาหารที่ช่วยสร้างไมอีลิน สร้างลูกสมองไวได้ถึง 100 เท่า

เพราะช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการสร้างสมองไว คือ ภายใน 1 ขวบปีแรกของชีวิต เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งในส่วนของโครงสร้างและการทำงาน หากสมองมีการสร้างปลอกไมอีลินหุ้มเซลล์สมองดีตั้งแต่ช่วงเวลานี้ ก็จะช่วยให้เซลล์สมองส่งสัญญาณประสาทสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเร็วกว่าสมองที่ไม่มีปลอกไมอีลินอย่างมีนัยยะสำคัญ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ ไมอีลิน ยังมีบทบาทในการเชื่อมโยงการทำงานของเซลล์ประสาท (brain connectivity) ช่วยให้เกิดการเชื่อมต่อกันของสมองที่รวดเร็ว นักวิจัยพบว่า แขนงประสาทนำออกที่มีปลอกไมอีลินห่อหุ้ม จะส่งสัญญาณประสาทได้เร็วกว่าที่ไม่มีถึงกว่า 100 เท่า โดยกระบวนการการสร้างไมอีลินในสมองของลูกจะเริ่มต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์คุณแม่ และยังคงมีการสร้างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการพัฒนาสมองของลูกรักที่เติบโตขึ้นในแต่ละช่วงวัย 

จากการศึกษายังพบอีกว่า เด็กที่มีความสามารถสูงกว่าค่าเฉลี่ยจะมีความแตกต่างในการพัฒนาไมอีลิน เมื่อเทียบกับเด็กที่มีความสามารถเท่ากับค่าเฉลี่ยและต่ำกว่าค่าเฉลี่ย หรือสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ คือ เด็กที่มีความสามารถสูงกว่าจะมีไมอีลินที่สูงกว่า ไม่เพียงเท่านี้ ปริมาณไมอีลินในขวบปีแรก ยังสามารถชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มในอีก 6 ปีของทารกคนนั้นได้อีกด้วย 

ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า การสร้างสมองไวใน 1 ขวบปีแรก เป็นช่วงเวลาทองที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรพลาด และคุณแม่เองก็สามารถช่วยเพิ่มปริมาณไมอีลินในสมองของลูกที่เป็นเด็กผ่าคลอดได้ด้วย สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในสารอาหารสำคัญที่มีอยู่ใน นมแม่ นั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เสริมศักยภาพให้ลูกเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ มอบสุขภาพดี ด้วยการสร้างเกราะภูมิคุ้มกันสุดแกร่งตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต

 

การที่เด็กผ่าคลอดจะเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ นอกจากการสร้างสมองไวในขวบปีแรกแล้ว คุณแม่ยังควรเร่งสร้างเกราะภูมิคุ้มกันสุดแกร่งเพื่อให้เด็กผ่าคลอดมีสุขภาพดีตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต และสร้างโอกาสให้ลูกรักเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพหรือความเจ็บป่วย ซึ่งตัวช่วยที่ทำให้เด็กผ่าคลอดมีเกราะภูมิคุ้มกันที่ดี คือ จุลินทรีย์สุขภาพ บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส (Bifidobacterium lactis หรือ B. lactis) เป็นจุลินทรีย์สุขภาพที่พบได้มากในนมแม่ และลำไส้ของเด็กคลอดธรรมชาติ โดย บี แล็กทิส มีประโยชน์ในการช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และช่วยปรับสมดุลสุขภาพของระบบทางเดินอาหารให้ทำงานได้เป็นปกติ

 

 

สำหรับคุณแม่ผ่าคลอดที่มีน้ำนมแม่ไม่เพียงพออย่าเพิ่งถอดใจ โดยคุณแม่ให้นมบุตรสามารถขอรับคำแนะนำจาก คลินิกนมแม่ แก้ปัญหาเกี่ยวกับน้ำนมแม่ เช่น น้ำนมไม่เพียงพอ ท่อน้ำนมอุดตัน เพื่อให้สามารถเสริมลูกได้ด้วย “นมแม่” ซึ่งมีสารอาหารหลากหลาย ทำให้เด็กผ่าคลอดมีพัฒนาการทางสมองที่ดีและสุขภาพที่แข็งแรงขึ้นมาได้อีกครั้งนั่นเองค่ะ  

เพื่อให้สามารถเสริมลูกได้ด้วย “นมแม่” ซึ่งมีสารอาหารหลากหลาย ทำให้เด็กผ่าคลอดมีพัฒนาการทางสมองที่ดีและสุขภาพที่แข็งแรงขึ้นมาได้อีกครั้งนั่นเองค่ะ 

สำหรับคุณแม่คนไหนที่ต้องการให้ลูกน้อยเติบโตได้อย่างสมวัยและมีพัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุ 1 ขวบขึ้นไป คุณแม่สามารถเสริมพัฒนาการทางด้านสมองและร่างกายให้ลูกน้อยได้ง่ายๆ โดยรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเสริมด้วยนมสำหรับเด็ก 1 ขวบ เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อยในช่วงขวบปีแรก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Reference

  1. Bentley J, et al. Pediatrics. 2016; 138:1-9.
  2. Polidano C, et al. Sci Rep. 2017; 7: 11483.
  3. Deoni S.C., et al. AJNR Am J Neuroradiol. 2019 Jan;40(1): 169–177.
  4. Chevalier et al. PLos ONE 2015.
  5. Deoni S, et al. Neuroimage. 2018 Sep;178: 649-659.
  6. Susuki K. Nature Education. 2010;3(9):59.
  7. Gueimonde M, et al. Neonatology. 2007;92(1):64-6.
  8. Yang B, et al. Int J Mol Sci. 2019 Jul 5;20(13):3306.
  9. Floch M.H., et al. J Clin Gastroenterol. 2015 Nov-Dec;49 Suppl 1:S69-73.

 

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team