แม่ผ่าคลอด คุณพร้อมไหม? เตรียมให้พร้อม ทั้งเรื่อง “สมองไว” และ “ภูมิคุ้มกันแข็งแรง”

แม่ผ่าคลอด ควรเตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่วันแรก เพราะเด็กผ่าคลอดทุกคนต้องการการดูแลที่พิเศษ ด้วยสฟิงโกไมอีลินและบีแล็กทิสในน้ำนมแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในกรณีที่คุณแม่มีความจำเป็นต้องผ่าคลอด ด้วยเหตุผลทางการแพทย์ ยิ่งใกล้วันครบกำหนดคลอดเท่าไร แม่ผ่าคลอด น่าจะทั้งรู้สึกตื่นเต้นและกังวลใจไปพร้อม ๆ กัน สิ่งหนึ่งที่ช่วยคลายความเครียดและความกังวลได้ดีที่สุด นั่นคือการเตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดกระเป๋าเตรียมคลอด รวมถึงการเตรียมเอกสารส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนถึงวันที่คุณหมอนัดผ่าคลอด

อีกหนึ่งสิ่งที่คุณแม่เตรียมผ่าคลอดต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือ การเตรียมสมองและภูมิคุ้มกันของเจ้าตัวเล็กให้พร้อมตั้งแต่วันแรก เพาะเด็กผ่าคลอดทุกคนต้องการการดูแลที่แตกต่าง

 

แม่พร้อมไหม? ทำไมต้องดูแล “สมอง” และ “ภูมิคุ้มกัน” ของเด็กผ่าคลอดเป็นพิเศษ

เพราะเด็กผ่าคลอดจะพลาดโอกาสการได้รับภูมิคุ้มกันตั้งต้นจากช่องคลอดตั้งแต่แรกเกิด แตกต่างจากเด็กคลอดธรรมชาติ ซึ่งได้รับจุลินทรีย์สุขภาพโพรไบโอติกส์ที่อาศัยอยู่บริเวณช่องคลอดของคุณแม่ทันทีที่คลอด จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เด็กผ่าคลอดมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยง่ายกว่าเด็กคลอดธรรมชาติ

 

นั่นคือเหตุผลที่ทำให้ แม่ผ่าคลอด จำนวนมาก ใส่ใจภูมิคุ้มกันของลูก จนมองข้ามการดูแลพัฒนาการสมองของเด็กผ่าคลอด ทั้ง ๆ ที่เด็กผ่าคลอดเองก็ยังมีการพัฒนาสมองที่แตกต่างจากเด็กคลอดธรรมชาติ เนื่องจากการเชื่อมโยงการทำงานของเซลล์ประสาทในสมองในช่วงเริ่มต้นน้อยกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ¹

 

จากการศึกษายังพบอีกว่า 1 ใน 7 ของเด็กผ่าคลอดอาจมีความเสี่ยงต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ เมื่อเริ่มเข้าโรงเรียน² ซึ่งพบว่าเด็กผ่าคลอดที่อายุ 4 – 9 ปี มีคะแนนสอบที่แตกต่างจากเด็กที่คลอดธรรมชาติ³  นอกจากนี้ พัฒนาการสมองของเด็กผ่าคลอด ส่วนคอร์ปัส คาโลซัม (Corpus Callosum) ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมโยงการทำงานระหว่างสมองซีกซ้ายและซีกขวา พบว่าเด็กผ่าคลอดมีการสร้างไมอีลินในสมองน้อยกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่อายุ 3 เดือนจนถึง 3 ปี¹

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

แต่คุณแม่ผ่าคลอดไม่ต้องกังวลไป เพราะเราสามารถมอบของขวัญสุดพิเศษสำหรับลูกรักได้ด้วย “นมแม่” ตัวช่วยสำคัญที่ จะทำให้เด็กผ่าคลอดมีพัฒนาการสมองและภูมิคุ้มกันที่ดีได้

 

นมแม่ ของขวัญที่ดีที่สุดสำหรับเด็กผ่าคลอด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โภชนาการจาก “นมแม่” ถือเป็นของขวัญชิ้นสำคัญที่แม่ผ่าคลอดสามารถมอบให้ลูกรักได้ตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากนมแม่อุดมด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิด รวมทั้งสารอาหารที่ช่วยพัฒนาการสมอง เช่น สฟิงโกไมอีลิน และจุลินทรีย์สุขภาพหลายชนิดที่ช่วยพัฒนาภูมิคุ้มกันที่ดีตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต เช่น B.lactis เป็นต้น

 

ทำความรู้จัก 2 สารอาหารสำคัญ “สร้างสมองไว เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน” เด็กผ่าคลอด

 

“นมแม่” ประกอบด้วยสารอาหารมากมาย หนึ่งในนั้นคือสารอาหารประเภทไขมันกลุ่มฟอสโฟไลปิดที่มีชื่อว่า “สฟิงโกไมอีลิน” มีส่วนช่วยในการสร้าง “ปลอกไมอีลิน” ทำให้สมองคิดเร็ว เรียนรู้ไว⁴ เนื่องจากกระบวนการสร้างไมอีลินจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในขวบปีแรก และมีบทบาทสำคัญช่วยให้สมองส่งสัญญาณประสาทได้รวดเร็วแบบก้าวกระโดด เมื่อสมองประมวลผลได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เด็ก ๆ จะเรียนรู้ จดจำ คิดวิเคราะห์ และมีพัฒนาการสมองได้เต็มศักยภาพ โดยนักวิจัยยังพบว่า แขนงประสาทนำออกที่มีปลอกไมอีลินห่อหุ้ม จะส่งสัญญาณประสาทได้เร็วกว่าที่ไม่มีปลอกไมอีลินกว่า 100 เท่า⁵

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ ในนมแม่ยังอุดมด้วย จุลินทรีย์สุขภาพมากมาย เช่น โพรไบโอติก บีแล็กทิส  (B. lactis) ซึ่งเป็นหนึ่งในจุลินทรีย์สุขภาพในกลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) ที่พบในนมแม่ และลำไส้ของเด็กคลอดธรรมชาติ มีคุณสมบัติช่วยปรับสมดุลลำไส้ และลดความเสี่ยงการติดเชื้อภายในลำไส้ ลดการอักเสบ บรรเทาอาการท้องผูก และป้องกันอาการลำไส้แปรปรวน ได้อีกด้วย มีงานวิจัยน่าเชื่อถือสูงรองรับว่าจุลินทรีย์สุภาพ บีแล็กทิส (B. lactis) ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้6 จึงมีผลดีกับเด็กผ่าคลอด

 

 

เพราะการเตรียมพร้อมที่ดีตั้งแต่วันแรกของลูกรัก จะช่วยให้เจ้าตัวเล็กที่เป็นเด็กผ่าคลอด มีสมองดีและภูมิคุ้มกันดี เมื่อเด็ก ๆ มีพื้นฐานสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย สมองไว เรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต ก็จะช่วยให้มีพัฒนาการดี มีทักษะสำคัญสำหรับอนาคต พร้อมรับมือทุกความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ในวันที่พวกเขาเติบโต

 

หากคุณแม่มีคำถามเกี่ยวกับการผ่าคลอด และพัฒนาการลูกรัก ปรึกษาทีมพยาบาล S-Mom Club ได้ตลอด 24 ชม. ไม่มีค่าใช้จ่าย

 

Reference:

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. Deoni S.C., et al. AJNR Am J Neuroradiol. 2019 Jan;40(1): 169–177.
  2. Bentley J, et al. Pediatrics. 2016; 138:1-9.
  3. Polidano C, et al. Sci Rep. 2017; 7: 11483.
  4. Chevalier et al. PLos ONE 2015.
  5. Susuki K. Nature Education. 2010;3(9):59.
  6. Floch MH,et al.J Clin Gastroenterol 2015;49:S69-S73

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team