ไขข้อข้องใจ เรื่องน่ารู้ของเด็กผ่าคลอด ที่แม่ต้องอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ ๆ รู้ไหม เด็กผ่าคลอด ต้องการอะไรมากที่สุด?

เราต่างรู้ดีว่า เด็กผ่าคลอด ต้องให้ความสำคัญ แค่ไม่ใช่เรื่องของสุขภาพ หรือการเร่งเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นั่นคือการใส่ใจพัฒนาการสมองของเด็กผ่าคลอด เพราะสมองของเด็กผ่าคลอดไม่เหมือนเด็กที่คลอดธรรมชาติ มีงานวิจัยพบว่า การเชื่อมโยงการทำงานของเซลล์ประสาทในสมองในช่วงเริ่มต้นของเด็กผ่าคลอด ไม่เหมือนเด็กคลอดธรรมชาติ¹ ดังนั้น หากไม่อยากพลาดช่วงเวลาทองในช่วงขวบปีแรกของการพัฒนาสมอง แม่ควรต้องใส่ใจเสริมสร้างสมองควบคู่ไปกับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยเริ่มได้ตั้งแต่วินาทีแรกที่คุณแม่ได้โอบกอดลูกรักไว้ในอ้อมอก เพื่อให้คุณแม่สามารถดูแลลูกรักซึ่งเป็นเด็กผ่าคลอดได้อย่างราบรื่นและเต็มที่ เราได้รวบรวมข้อสงสัย และคำตอบที่น่าสนใจ ซึ่งช่วยคลายข้อกังวลเกี่ยวกับการดูแลเด็กผ่าคลอดมาให้คุณแม่ได้ทำความเข้าใจแบบครบ ๆ ไปพร้อม ๆ กัน 

 

ไขข้อข้องใจ 5 เรื่องน่ารู้ของเด็กผ่าคลอด แม่ต้องอ่านให้ครบ

  • สมองของเด็กผ่าคลอด ต่างจากเด็กคลอดธรรมชาติอย่างไร?

จากการศึกษาที่สหรัฐอเมริกา (Deoni 2019) ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการสมองของเด็ก ๆ โดยดูการเชื่อมโยงการทำงานของเซลล์ประสาทในสมองแต่ละส่วน (Brain Connection) ซึ่งภาพสแกนสมองที่มีการเปรียบเทียบระหว่างเด็กคลอดธรรมชาติและเด็กผ่าคลอด อายุ 2 สัปดาห์ พบว่า สมองของเด็กผ่าคลอด มีลักษณะและการเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทในสมองที่แตกต่างจากเด็กคลอดธรรมชาติ นอกจากนี้ พัฒนาการสมองของเด็กผ่าคลอดส่วนคอร์ปัส คาโลซัม (Corpus Callosum) ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมโยงการทำงานระหว่างสมองซีกซ้าย และซีกขวา พบว่าเด็กผ่าคลอดมีการสร้างไมอีลิน ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้สมองส่งสัญญาณประสาทได้รวดเร็วแบบก้าวกระโดด ในบริเวณดังกล่าวแตกต่างจากเด็กที่คลอดธรรมชาติอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่อายุ 3 เดือน จนถึง 3 ปี¹

  • เด็กผ่าคลอดเสี่ยงเรียนรู้ช้าจริงหรือ?

มีการศึกษาพบ ว่า 1 ใน 7 ของเด็กผ่าคลอด อาจมีความเสี่ยงต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้เมื่อเข้าโรงเรียน² โดยเด็กผ่าคลอดอายุ 4 – 9 ปีในการศึกษา มีคะแนนจากการทำข้อสอบที่แตกต่างไปจากกลุ่มเด็กที่คลอดธรรมชาติ ³ จะเห็นได้ว่า การที่สมองของเด็กผ่าคลอดมีการเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทที่ไม่เหมือนกับเด็กคลอดธรรมชาติ ซึ่งอาจส่งผลให้สมองของเด็กผ่าคลอดมีพัฒนาการที่แตกต่างไป ดังนั้น คุณแม่ควรใส่ใจการเสริมสร้างพัฒนาการสมองของลูกรัก ด้วยการเน้นสารอาหารสำคัญสำหรับสมองหลาย ๆ อย่าง เช่น สฟิงโกไมอีลิน ที่มีส่วนในการสร้างปลอกไมอีลินในระบบประสาทในสมองของลูกรักโดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรกที่มีความสำคัญมาก

  • ทำไมเด็กผ่าคลอดถึงมีภูมิคุ้มกันน้อยกว่า?

การคลอดด้วยวิธีผ่าตัดคลอดและนำลูกรักออกมาผ่านทางหน้าท้อง เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กผ่าคลอดพลาดโอกาสการได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ หรือโพรไบโอติก จากบริเวณช่องคลอดของคุณแม่ โดยเจ้าโพรไบโอติกนี้มีบทบาทในการสร้างภูมิคุ้มกันแรกเริ่ม การที่เด็กผ่าคลอดมีปริมาณจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้น้อยกว่า ส่งผลให้เด็กผ่าคลอดมีแนวโน้มเจ็บป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ในเด็ก หอบหืด หรือมีอาการลำไส้อักเสบได้ง่ายกว่า แต่อย่างไรก็ตาม คุณแม่ยังสามารถส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกรักได้ด้วยการให้ลูกกินนมแม่ ที่นอกเหนือจากสารอาหารที่ครบถ้วยหลากหลายแล้ว ยังมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายสายพันธุ์ เช่นจุลินทรีย์สุขภาพที่พบได้ใน “นมแม่” บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส หรือโพรไบโอติก “บี แล็กทิส” (Bifidobacterium lactis หรือ B. lactis) ซึ่งมีงานวิจัยระบุว่าช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้⁴

  • สมองและภูมิคุ้มกันช่วงเริ่มต้นของเด็กผ่าคลอดเตรียมพร้อม ได้ตั้งแต่วันแรก?

แม้ว่าเด็กผ่าคลอดจะมีความเสี่ยงทั้งในเรื่องพัฒนาการสมองที่อาจมีความแตกต่างไปจากเด็กที่คลอดธรรมชาติ และภูมิคุ้มกันในช่วงเริ่มต้นที่อาจแตกต่างจากเด็กคลอดธรรมชาติ แต่แม่ ๆ ก็สามารถส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกัน รวมถึงเตรียมสารอาหารสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการสมองของเด็กผ่าคลอด ได้ด้วยการให้ลูกรักเข้าเต้ากินนมแม่ภายหลังคลอดทันที หรือภายใน 30 นาทีหลังจากผ่าคลอด และให้เด็ก ๆ กินนมแม่ต่อเนื่องไปอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้ลูกรักมีพัฒนาการสมองดี มีร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันแข็งแรงเช่นเดียวกับเด็กคลอดธรรมชาติ

  • ทำไมเด็กผ่าคลอดจำเป็นต้องได้รับนมแม่ตั้งแต่แรกคลอด?

การดูแลให้เด็กผ่าคลอดได้รับ “นมแม่” เริ่มได้ตั้งแต่วันแรกของลูกรัก ด้วยการให้เด็ก ๆ ได้รับนมแม่ซึ่งอุดมด้วยสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น โปรตีน แคลเซียม ดีเอชเอ และอีกหนึ่งสารอาหารที่น่าสนใจมากก็คือ “สฟิงโกไมอีลิน” สารอาหารสำคัญในเสริมสร้างวงจรประสาทในสมองให้สามารถประมวลผลได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยนักวิจัยพบว่า แขนงประสาทนำออกที่มีปลอกไมอีลินห่อหุ้มรอบ ๆ จะส่งสัญญาณประสาทได้เร็วกว่าการที่ไม่มีถึงกว่า 100 เท่า⁵ นอกจากนี้ ในนมแม่ยังมีจุลินทรีย์สุขภาพหลากหลายสายพันธุ์ เช่น โพรไบโอติก บี แล็กทิส พร้อมด้วยใยอาหาร พรีไบโอติกหลายชนิด เช่น 2’FL ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เมื่อเด็ก ๆ มีสุขภาพดีก็จะเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ผ่าคลอด น้ำนมมาช้า น้ำนมน้อย ไม่มีน้ำนม อย่าเพิ่งถอดใจ กระตุ้นน้ำนมได้ด้วยวิธีนี้

แม้ว่าจะทราบกันดีว่า “นมแม่” สำคัญกับเด็กผ่าคลอดมาก แต่ก็ยังมีคุณแม่จำนวนไม่น้อยที่ประสบปัญหาน้ำนมน้อย น้ำนมมาช้า หรือไม่มีน้ำนม จึงอาจทำให้พลาดโอกาสสำคัญที่เด็กผ่าคลอดจะได้รับนมแม่ตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต ซึ่งปัญหาดังกล่าวมักเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความอ่อนเพลียจากการคลอด ความเครียด ความกังวล และการไม่ได้รับการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมอย่างถูกวิธี เป็นต้น เพื่อไม่ให้เด็กผ่าคลอดพลาดโอกาสสำคัญในการได้รับสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมอง และภูมิคุ้มกัน คุณแม่ผ่าคลอดควรพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบตามหลักโภชนาการสำหรับคุณแม่ให้นม ดื่มน้ำเปล่าวันละ 6 – 8 แก้ว ไม่กังวลจนเกินไป ลดปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดความเครียด สิ่งสำคัญ คือ ควรพาลูกเข้าเต้าสลับกับการปั๊มนมตามตารางอย่างสม่ำเสมอ หากทำได้ดีก็จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้อย่างเป็นระบบ ลดปัญหาน้ำนมมาช้า น้ำนมน้อย หรือไม่มีน้ำนมได้เป็นอย่างดี และถ้าหากคุณแม่มีปัญหาท่อน้ำนมอุดตัน เต้านมอักเสบ ควรปรึกษาคุณหมอ
และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมแม่โดยเร็วที่สุด

อยากให้ลูกมีพัฒนาการสมองดี สุขภาพแข็งแรง เรียนรู้ได้เต็มที่ แม่ต้องใส่ใจ สารอาหารที่ดีต่อสมองและภูมิคุ้มกัน

จะเห็นได้ว่า สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับคุณแม่หลังผ่าคลอด ก็คือการให้ลูกได้กินนมแม่เพื่อให้เด็ก ๆ มีพัฒนาการสมองดี มีสุขภาพแข็งแรง ทั้งยังเป็นการสร้างรากฐานสำคัญที่จะช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ พร้อมเติบโตและสามารถพัฒนาตนเองได้ดีเยี่ยมในยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกวินาที เพราะนมแม่มีสารอาหารหลายชนิดที่เสริมสร้างพัฒนาการสมอง เช่น สฟิงโกไมอีลิน ที่มีบทบาทในการสร้างปลอกไมอีลิน ช่วยให้วงจรประสาทในสมองของลูกรักเชื่อมโยงและสื่อสารกันได้รวดเร็วแบบก้าวกระโดด ส่งผลให้ลูกเรียนรู้ จดจำ
คิดวิเคราะห์ได้รวดเร็วเต็มประสิทธิภาพ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ การที่ลูกพลาดการได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ โพรไบโอติก จากช่องคลอดของแม่ผ่าคลอด การกินนมแม่จะช่วยให้ลูกได้รับจุลินทรีย์สุขภาพหลากหลายสายพันธุ์ เช่น บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส หรือ “บี แล็กทิส” (Bifidobacterium lactis หรือ B. lactis) ซึ่งเป็นโพรไบโอติกเที่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือจำนวนมากรองรับว่า ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้⁴ และดีขึ้นไปอีกขั้นเมื่อได้รับ พรีไบโอติก 2’FL จากนมแม่ ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้อย่างนี้แล้ว แม่ผ่าคลอดก็มั่นใจได้แล้วว่า เด็กผ่าคลอดก็สามารถมีพัฒนาการสมองแบบก้าวกระโดด และมีภูมิคุ้มกันแข็งแรง เพื่อให้ลูกรักสร้างอนาคตได้อย่างมีศักยภาพในแบบที่ลูกต้องการ

 

หากคุณแม่มีคำถามเกี่ยวกับการผ่าคลอด และพัฒนาการลูกรัก ปรึกษาทีมพยาบาล S-Mom Club ได้ตลอด 24 ชม. ไม่มีค่าใช้จ่าย

Reference
1. Deoni S.C., et al. AJNR Am J Neuroradiol. 2019 Jan;40(1): 169 – 177.
2. Bentley J, e t al. Pediatrics. 2016; 138:1 – 9.
3. Polidano C, et al. Sci Rep. 2017; 7: 11483.
4. Floch MH,et al.J Clin Gastroenterol 2015;49:S69 – S73
5. Susuki K. Nature Education. 2010;3(9):59.

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความโดย

theAsiaparent Thailand