เด็กทุกคนเกิดมาพร้อมกับเซลล์สมองจำนวนนับล้าน ๆ เซลล์ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมาตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์ สมองของลูกรักจะมีพัฒนาการมากที่สุดในช่วง 1,000 วันแรก และจะยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับสมองของเด็กผ่าคลอด ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ โดยมีหลักฐานงานวิจัยพบว่าการเชื่อมโยงการทำงานของเซลล์ประสาทในสมองในช่วงเริ่มต้นของเด็กผ่าคลอด มีความแตกต่างกับเด็กคลอดธรรมชาติ¹ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมลูกรักจึงต้องการการใส่ใจมากขึ้นไปอีกขั้น
ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่อยากให้เด็กผ่าคลอด สมองไว นอกจากการกระตุ้นพัฒนาการตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์เป็นประจำ หลังจากลูกรักคลอดออกมาสู่โลกภายนอก ยิ่งจำเป็นต้องใส่ใจในการเสริมสร้างพัฒนาการสมองของเด็กผ่าคลอดให้เร็วที่สุด วันนี้เรามีเทคนิคดี ๆ ที่จะช่วยให้เด็กผ่าคลอดมีสมองไว เรียนรู้เร็ว อารมณ์ดี ควบคู่ไปกับการมีภูมิคุ้มกันแข็งแรง และร่างกายที่เติบโตสมวัยมาฝากด้วยค่ะ
อยากให้เด็กผ่าคลอดสมองดี เรียนรู้ไว แม่ต้องให้ความสำคัญกับ 2 สิ่งนี้
แม้ว่าพันธุกรรมจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนกำหนดความฉลาดของลูกรัก แต่ยังมีอีก 2 ปัจจัยสำคัญ ที่หากคุณพ่อคุณแม่ทำตามคำแนะนำเป็นอย่างดี ก็จะสามารถเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง ให้เด็กผ่าคลอดได้ดียิ่งขึ้น
- เลือกโภชนาการให้เหมาะสม โภชนาการที่เหมาะสำหรับเจ้าตัวเล็กวัยแรกเกิด – 6 เดือนมากที่สุด คือ นมแม่ ที่ประกอบไปด้วยสารอาหารสำคัญกว่า 200 ชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ แอลฟา-แล็คตัลบูมิน โคลีน แกงกลิโอไซด์ และโอเมก้า 369 สารอาหารสมองที่ช่วยส่งเสริมให้ลูกรักมีสมองดี คิดเร็ว เรียนรู้ไว เติบโตอย่างมีคุณภาพ และก้าวสู่ความสำเร็จได้ตามที่วาดฝันไว้
- กระตุ้นสมองอย่างเหมาะสม กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการสมองที่ดีสำหรับำเด็กทุกคน คือ “การชวนลูกเล่น” ซึ่งเป็นกิจกรรมง่าย ๆ ที่ทำได้ทุกครอบครัว เพียงแค่ทุ่มเทช่วงเวลาแห่งความอบอุ่น อยู่เคียงข้างลูกรักให้มากที่สุด การเล่นกับลูก พูดคุยเป็นประจำ ทำกิจกรรมเสริมสร้างสมองให้เหมาะกับช่วงวัย ก็จะช่วยให้เซลล์สมอง และวงจรประสาททำการเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เทคนิคเสริมพัฒนาการสมองของเด็กผ่าคลอดด้วย 2 สารอาหารสำคัญ แม่ต้องรู้ เริ่มได้ตั้งแต่วันนี้
สมองของเด็กผ่าคลอด ควรได้รับนมแม่ ที่มีสารอาหารที่ช่วยพัฒนาสมองอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่วันแรกของชีวิต ยิ่งคุณแม่เริ่มต้นให้นมแม่ไวเท่าไร เด็ก ๆ ก็จะมีพื้นฐานสมองดี เรียนรู้ไวขึ้นไปอีกขั้น จากการศึกษาพบว่า 1 ใน 7 ของเด็กผ่าคลอด อาจมีความเสี่ยงต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้เมื่อเข้าโรงเรียน² ซึ่งพบว่าเด็กผ่าคลอด อายุ 4 – 9 ปี มีคะแนนสอบที่แตกต่างจากเด็กกลุ่มที่คลอดธรรมชาติ³
นอกเหนือจากการใส่ใจมอบความรักความอบอุ่นอย่างเต็มที่แล้ว การดูแลให้เด็กผ่าคลอดได้รับสารอาหารสมองที่หลากหลายจากนมแม่ที่มีส่วนเสริมสร้างพัฒนาการสมองจึงมีความสำคัญไม่แพ้กัน หนึ่งในสารอาหารสมองเหล่านั้นที่แม่ควรทำความรู้จัก คือ สฟิงโกไมอีลิน ที่มีคุณสมบัติช่วยสร้างปลอกไมอีลินของวงจรประสาทในสมอง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญช่วยให้สมองส่งสัญญาณประสาทได้รวดเร็วแบบก้าวกระโดด เมื่อสมองสื่อสารได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เด็ก ๆ ก็จะเรียนรู้ไว จดจำดี คิดวิเคราะห์ได้เต็มศักยภาพ
ยังมีอีกงานวิจัยพบว่า แขนงประสาทนำออกที่มีปลอกไมอีลินห่อหุ้มอยู่ จะมีความสามารถในการส่งสัญญาณประสาทได้เร็วกว่าที่ไม่มีถึงกว่า 100 เท่า⁴ การให้เจ้าตัวเล็กได้รับสฟิงโกไมอีลินจากนนมแม่เร็วขึ้นเท่าไร ก็ส่งเสริมให้กระบวนการพัฒนาของสมองสร้างได้ไวขึ้นเท่านั้น
อีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่แม่ผ่าคลอดควรดูแลควบคู่ไปกับสมองของเด็กผ่าคลอด คือ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันตั้งต้น ซึ่งเด็กผ่าคลอดจะพลาดโอกาสการได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ โพรไบโอติก จากช่องคลอดของคุณแม่ การเร่งคืนภูมิคุ้มกันตั้งต้นให้เด็กผ่าคลอดก็ทำได้ไม่ยาก ด้วยการได้รับ นมแม่ ซึ่งมี โพรไบโอติกหลายสายพันธุ์ เช่น บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส (Bifidobacterium lactis หรือ B. Lactis บีแล็กทิส ) เป็นจุลินทรีย์สุขภาพที่มีงานวิจัยรองรับจำนวนมากว่าช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้⁵ และจะดีมากขึ้นไปอีกขั้นเมื่อเด็กผ่าคลอดได้รับ พรีไบโอติกชนิดต่างๆ เช่น 2’FL ที่พบในนมแม่
จะเห็นได้ว่า การที่คุณแม่ใส่ใจในเรื่องการให้นมแม่ ที่มีสารอาหารสำหรับสมองที่สำคัญมากมาย เช่น สฟิงโกไมอีลิน ควบคู่ไปกับการเสริมภูมิคุ้มกันด้วย โพรไบโอติก บีแล็กทิส จากนมแม่ในช่วงแรกของชีวิต ร่วมกับสารอาหารอีกกว่า 200 ชนิด ก็จะช่วยให้เด็กผ่าคลอดมีสมองดี เรียนรู้ไว และมีภูมิคุ้มกันแข็งแกร่ง ลูกรักสามารถเดินหน้าเรียนรู้ และทำตามความฝันได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในยุคที่ทุกอย่างล้วนเปลี่ยนไปไว เด็กสมองไว พื้นฐานการเรียนรู้ดี และมีสุขภาพแข็งแรงเท่านั้นที่จะคว้าโอกาสความสำเร็จไว้ในมือได้สำเร็จ
หากคุณแม่มีคำถามเกี่ยวกับการผ่าคลอด และพัฒนาการลูกรัก ปรึกษาทีมพยาบาล S-Mom Club ได้ตลอด 24 ชม. ไม่มีค่าใช้จ่าย
Reference
- Deoni S.C., et al. AJNR Am J Neuroradiol. 2019 Jan;40(1): 169 – 177.
- Bentley J, e t al. Pediatrics. 2016; 138:1 – 9.
- Polidano C, et al. Sci Rep. 2017; 7: 11483.
- Susuki K. Nature Education. 2010;3(9):59.
- Floch MH,et al.J Clin Gastroenterol 2015;49:S69 – S73