โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service

ปัจจุบันไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก นอกจากการใช้ชีวิตที่เร่งรีบแข่งขันกับเวลาจนเป็นปกติแล้ว หนุ่มสาวยุค 2023 ยังครองชีวิตโสด แต่งงานช้า และต้องการสร้างรากฐานชีวิตให้มั่นคงก่อนที่จะตัดสินใจมีลูกสักคน ทำให้กว่าจะพร้อมมีบุตรได้ สุขภาพและอายุอานามก็เข้าข่ายผู้มีบุตรยากไปเสียแล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะมีบุตรยาก กลายเป็นปัญหาใหญ่ของคู่แต่งงานในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจและสังคม ค่านิยม รวมถึงความพร้อมทางด้านการเงินของคู่สมรสในวัยทำงาน ส่งผลให้ประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก ประสบปัญหาโครงสร้างประชากรที่มีคุณภาพลดลงอย่างต่อเนื่อง

ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่นำมาสู่ภาวะมีบุตรยากของกลุ่มประชากรที่มีคุณภาพ และมีความพร้อมต้องการมีบุตรนี้เอง ทำให้คู่รักหลายคู่ที่มีแนวโน้มของภาวะมีบุตรยากหันมาฝากความหวังไว้กับ คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ซึ่ง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ คือ หนึ่งในทางเลือกอันดับต้น ๆ ที่ช่วยให้คู่สมรสประสบความสำเร็จในการมีบุตร ด้วยเทคโนโลยีด้านการเจริญพันธุ์ที่ทันสมัยและครบวงจร พร้อมดูแลตลอดทุกขั้นตอนด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน ส่งผลให้มีอัตราความสำเร็จ (Success Rate) ของการทำ IVF สูงถึง 90%    

จากอัตราความสำเร็จในการทำ IVF ที่สูงมากนี้เอง theAsianparent จึงอยากพาคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการมีบุตร หรือผู้ที่มีแนวโน้มมีบุตรยาก ไปทำความรู้จักกับ คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้มากขึ้น ผ่านกิจกรรม Open House: ‘Miracle of Life’ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา 

 

 

นำทีมเปิดบ้านต้อนรับคุณพ่อคุณแม่ผู้ต้องการมีบุตร และเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังจากหลากหลายวงการ โดยผู้บริหารและทีมสูติแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ และแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชพันธุศาสตร์ ทั้ง 6 ท่าน ได้แก่ 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

  • ภญ. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  • รศ. นพ. นพดล สโรบล หัวหน้าศูนย์สูติ-นรีเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 
  • รศ. นพ. ชาติชัย ศรีสมบัติ สูติแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และการผ่าตัดด้วยกล้อง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 
  • พญ. ณหทัย ภัคธินันท์ สูติแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 
  • ผศ. พญ. ชนัญญา ตันติธรรม สูติแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 
  • ผศ. นพ. พลกฤต ทีฆคีรีกุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ และเวชพันธุศาสตร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีสุดทันสมัย ทีมสหสาขาวิชาชีพผู้ชำนาญการครบทุกด้าน พร้อมให้บริการภายใต้กรอบจริยธรรมแบบ One Stop Service

 

การมองหาคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จในการมีบุตรไม่ใช่แค่ให้ความสนใจเฉพาะเรื่องของค่าใช้จ่ายและอัตราความสำเร็จเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่คู่รักที่ต้องการมีโซ่ทองคล้องใจจำเป็นต้องมองภาพรวมให้ครบตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ได้แก่ การให้คำปรึกษาและวางแผนมีบุตร การตรวจสุขภาพคู่สมรส การตรวจความสมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์ การตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมก่อนตั้งครรภ์ การเก็บรักษาไข่และอสุจิ การทำเด็กหลอดแก้ว การดูแลสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ การคลอด และการดูแลสุขภาพของคุณแม่และทารกหลังคลอด ซึ่งถ้าหากเป็นคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากที่ไม่ได้ให้บริการแบบครบวงจร ขาดความพร้อมด้านเครื่องมือ และทีมสหวิชาชีพผู้ชำนาญการ เมื่อเกิดปัญหาในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งอาจทำให้ผู้ที่ต้องการมีบุตรมีอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ลดลง หรือสร้างกระทบด้านสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในระยะยาว

สำหรับ คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นหนึ่งในศูนย์ของโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ที่มีประสบการณ์ในการช่วยให้คู่รักทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ทั้งโซนเอเชีย และตะวันออกกลางประสบความสำเร็จในการมีบุตร โดยมีอัตราการประสบความสำเร็จจากการทำ IVF หรือ เด็กหลอดแก้ว ในปี พ.ศ. 2563 – 2565 เฉลี่ยสูงถึง 90% ในกลุ่มคุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี เรียกได้ว่าเป็นคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและเครื่องมือต่าง ๆ มากที่สุดแห่งหนึ่ง 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

และที่สำคัญ มีทีมสหสาขาวิชาชีพผู้ชำนาญการ ให้การดูแลคุณแม่และลูกน้อยอย่างดีที่สุดครบทุกด้าน ได้แก่

 

 

  • นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน (Embryologist)  
  • แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ 
  • แพทย์สูตินรีเวชผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ที่สามารถผ่าตัดผ่านกล้องได้
  • แพทย์ผู้ชำนาญการด้านพันธุศาสตร์ 
  • แพทย์ผู้ชำนาญการด้านระบบทางเดินปัสสาวะ 
  • จิตแพทย์ 
  • พยาบาลผู้ชำนาญด้านภาวะการเจริญพันธุ์ (Infertility nurse practitioner) 
  • พยาบาลผู้ชำนาญการด้าน IVF ที่ช่วยให้คำปรึกษาผู้ป่วย (Nurse Navigator IVF) 
  • เภสัชกร
  • แพทย์ผู้ชำนาญด้านมารดาและทารกในครรภ์ (Maternal fetal medicine) 
  • ทีมบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด (NICU)

 

 

ทีมแพทย์และบุคลากรผู้ชำนาญการทุกท่าน พร้อมให้การดูแลคุณแม่และทารกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนและหลังการทำ IVF โดยให้คุณพ่อและคุณแม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากที่สุด ตลอดจนให้การดูแลสุขภาพของคุณแม่และทารกภายหลังคลอดให้เกิดรอดปลอดภัย มีสุขภาพที่ดีและสมบูรณ์ที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

ปัญหา สาเหตุ และแนวทางการรักษาภาวะมีบุตรยาก

 

 

รศ. นพ. ชาติชัย ศรีสมบัติ สูติแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และการผ่าตัดด้วยกล้อง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้อธิบาย ภาวะมีบุตรยาก (Infertility) ว่า คือการที่คู่รักซึ่งต้องการมีบุตรพยายามมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติตามคำแนะนำของแพทย์ คือ มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง โดยไม่มีการคุมกำเนิดนานกว่า 1 ปีขึ้นไป และฝ่ายหญิงยังไม่เกิดการตั้งครรภ์ อีกกรณีหนึ่ง คือ ฝ่ายหญิงมีอายุมากกว่า 35 – 40  ปีขึ้นไป หรือมีความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ หรือฝ่ายชายกำลังประสบปัญหาด้านการเจริญพันธุ์ที่ส่งผลกระทบต่อการมีบุตร

การรักษาภาวะมีบุตรยาก จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ด้านของคู่รัก เช่น ข้อจำกัดด้านสุขภาพ พันธุกรรม และพฤติกรรมของ ฝ่ายหญิง ฝ่ายชาย หรือทั้งสองฝ่าย ซึ่งทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการเจริญพันธุ์จะให้คำแนะนำร่วมกับคุณพ่อคุณแม่เพื่อวางแผนการมีบุตร โดยจะพิจารณาวิธีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เมื่อได้วิธีที่เหมาะสมแล้วก็จะทำการรักษาร่วมกับการใช้เทคโนโลยีด้านการเจริญพันธุ์ที่ทันสมัยเพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้สูงยิ่งขึ้น 

 

การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) มีขั้นตอนอย่างไร เทคโนโลยีอะไรที่ช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จได้สูงขึ้น

 

 

พญ. ณหทัย ภัคธินันท์ สูติแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้อธิบาย ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF (In-vitro Fertilization) ว่า เป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกายด้วยการนำไข่และอสุจิที่ผ่านการคัดเลือกว่ามีความสมบูรณ์ที่สุดมาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกายในห้องปฏิบัติการ หลังจากขั้นตอนการเลี้ยงและควบคุมคุณภาพตัวอ่อน และติดตามดูไข่ที่ผ่านการปฏิสนธิ 3 – 5 วัน จากนั้นทำการแช่แข็งตัวอ่อนไว้ก่อน บางรายแพทย์นำตัวอ่อนย้ายกลับเข้าไปในโพรงมดลูกเลย รวมไปถึงนำตัวอ่อนมาตรวจโครโมโซมในรายที่มีข้อบ่งชี้ ซึ่งกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วใช้เวลาประมาณ 4 – 8 สัปดาห์ หลังการย้ายตัวอ่อนเข้าไปในโพรงมดลูก 9 – 12 วัน แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจเลือด เพื่อทดสอบการตั้งครรภ์อีกครั้ง

 

 

โดยอัตราการทำเด็กหลอดแก้วที่ประสบความสำเร็จมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากเทคโนโลยีด้านการเจริญพันธุ์ที่ก้าวหน้าไปมาก ได้แก่ 

  • การตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน (Preimplantation Genetic Screening หรือ PGT-A) ช่วยในการคัดกรองตัวอ่อนที่มีจำนวนโครโมโซมปกติ 
  • การตรวจวิเคราะห์โรคทางพันธุกรรมของตัวอ่อนของเด็กหลอดแก้ว (IVF) ในกรณีที่พ่อหรือแม่มียีนผิดปกติที่เป็นโรค (Preimplantation Genetic diagnosis, PGT-M, PGT-SR) โดยการสุ่มดูดเซลล์ของตัวอ่อนที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วมาตรวจวิเคราะห์หาความผิดปกติทางพันธุกรรมก่อนย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกของคุณแม่ 
  • การเจาะช่วยในการฟักตัวของตัวอ่อน (Assisted Hatching หรือ AH) เป็นเทคโนโลยีการใช้เลเซอร์หรือเอนไซม์ ช่วยทำให้เปลือกของตัวอ่อนบางลง เป็นการเปิดรูให้ตัวอ่อนฟักตัวออกมาได้ง่ายขึ้น เป็นขั้นตอนที่ต้องทำภายในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน ซึ่งในส่วนนี้จะช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้สูงขึ้น

 

 

นอกจากนี้อุปกรณ์ที่ทันสมัย อย่างตู้เลี้ยงตัวอ่อนแบบ Embryoscope เป็นตู้เลี้ยงตัวอ่อนแบบพิเศษที่มีการติดตั้งกล้องจุลทรรศน์ และมีระบบถ่ายภาพต่อเนื่องด้วย Time-lapse system (TLS) ในตัว ช่วยให้สามารถติดตามการเติบโตของตัวอ่อน และประเมินคุณภาพของตัวอ่อนผ่านจอแสดงภาพ ร่วมกับซอฟต์แวร์ที่สามารถช่วยคัดเลือกตัวอ่อนที่มีคุณภาพเพื่อนำมาฝังตัวในโพรงมดลูก โดยไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อตัวอ่อน และเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำเร็จสูงขึ้นอีก 20%

 

การทำ IVF เพิ่มโอกาสเกิดครรภ์เสี่ยง เมื่อเทียบกับการตั้งครรภ์ธรรมชาติ จริงหรือ?

 

ปัจจุบันมีทารกทั่วโลกกว่า 7 ล้านคนที่เกิดจากการทำ IVF ซึ่งยังไม่พบว่ามีความผิดปกติที่มากไปกว่าการตั้งครรภ์แบบธรรมชาติแต่อย่างใด ในทางการแพทย์ถือว่าสตรีที่มีบุตรยากจัดอยู่ในกลุ่มของผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงอยู่แล้ว ดังนั้นคุณแม่ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์และมีภาวะมีบุตรยากจะได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้ชำนาญการอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะช่วยลดในเรื่องของครรภ์เสี่ยงลงได้มากขึ้น

 

 

นอกจากนี้หากคุณแม่มีภาวะครรภ์เสี่ยงในขณะที่ทารกยังอยู่ในครรภ์ก็ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะจะมีทีมสูตินรีแพทย์เวชศาสตร์มารดาและทารกให้การดูแล โดยจะทำงานร่วมกับทีมบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด (NICU) ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงมาก ซึ่งจะเข้ามาช่วยวางแผน ให้คำปรึกษา และดูแลทารกหลังคลอดอย่างใกล้ชิด

 

 

คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ ตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์ ป้องกันการส่งต่อโรคร้ายทางพันธุกรรมให้ลูกรักได้

 

 

การตรวจยีนก่อนการตั้งครรภ์ โดยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์พันธุกรรมจะช่วยป้องกันการถ่ายทอดโรคร้ายทางพันธุกรรมไปยังลูกรักได้ โดยสามารถตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมที่อาจทำให้เด็กมีความผิดปกติได้มากกว่า 600 ยีน รวมถึงโรคที่พบบ่อยในคนไทย เช่น โรคธาลัสซีเมีย รวมไปถึงโรคร้ายแรงอื่น ๆ เช่น โรคมะเร็ง และโรคหัวใจ เป็นต้น 

 

 

ผศ. นพ. พลกฤต ทีฆคีรีกุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ และเวชพันธุศาสตร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสำคัญ และกระบวนการตรวจยีนคู่สมรสก่อนตั้งครรภ์เพื่อคัดกรองโรคทางพันธุกรรมว่า จะเป็นการพิจารณาการตรวจยีนจากอัตราการเกิดโรคทางพันธุกรรมในเด็กที่สูง ๆ เช่น โรคจากยีนด้อยโครโมโซมเอกซ์ ดาวน์ซินโดรม หูหนวก โรคธาลัสซีเมีย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือโรคและภาวะทางพันธุกรรมอื่น ๆ โดยเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมที่สุด รวมถึงเทคโนโลยี Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) เป็นการเจาะเลือดแม่ในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อตรวจดูความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกแทนการเจาะน้ำคร่ำ จึงลดความเสี่ยงต่อการแท้งได้มากขึ้น

 

 

การตรวจยีนเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการตรวจวิเคราะห์โรคทางพันธุกรรมที่แฝงอยู่ใน DNA ของเราที่มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ผ่านการตรวจเลือดหรือเก็บตัวอย่างน้ำลาย และทราบผลภายใน 3 – 4 สัปดาห์ ซึ่งการตรวจยีนนั้นเป็นสิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ หรือคู่สมรสใหม่ควรทำเพื่อป้องกันการส่งต่อโรคร้ายแรงที่แอบแฝงเงียบ ๆ อยู่ในตัวเราไปสู่ลูกหลานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประชากรกลุ่มที่แพทย์ฯ แนะนำให้มีการตรวจยีน ได้แก่ 

  • คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังวางแผนมีบุตร ทั้งที่ครอบครัวเคยมีประวัติ และไม่มีประวัติโรคทางพันธุกรรม 
  • คุณพ่อคุณแม่ที่มีบุตรแล้ว และครอบครัวมีประวัติเป็นโรคทางพันธุกรรม

 

การฝากไข่ ทางเลือกที่น่าสนใจของฝ่ายหญิงที่วางแผนอยากมีลูกในอนาคต

 

ในฝั่งสาว ๆ ที่ยังไม่แต่งงาน หรือยังไม่พร้อมมีบุตรในตอนนี้ ก็มีทางเลือกที่น่าสนใจที่จะช่วยให้สามารถมีบุตรได้ง่ายขึ้น และยังคงได้ทารกที่มีสุขภาพแข็งแรงถึงแม้ก้าวเข้าสู่วัยที่มีบุตรยาก ซึ่งการฝากไข่เป็นการรักษาเซลล์ไข่เอาไว้ในอุณหภูมิต่ำ โดยเซลล์ไข่ดังกล่าวนั้นจะมีคุณภาพดีเหมือนกับช่วงเวลาที่ทำการเก็บไข่แม้เวลาจะผ่านไปมากกว่า 10 ปีก็ตาม

 

 

ผศ. พญ. ชนัญญา ตันติธรรม สูติแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการฝากไข่และการวางแผนมีบุตรเพิ่มเติมว่า การฝากไข่แต่ละครั้งจะมีการเก็บไข่ให้ได้ 10 – 15 ใบ ต่อการสร้างโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์ 1 ครั้ง หลังจากที่นำไข่ออกมาละลายเพื่อใช้ในการปฏิสนธิโอกาสที่ไข่จะอยู่รอดจะสูงประมาณ 90% และเมื่อนำไปปฏิสนธิกับอสุจิจะมีโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์ประมาณ 70 – 80%

 

 

เลือกฝากไข่ทั้งที ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน เพราะเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและอ่อนไหวมาก

 

การฝากเซลล์ไข่ และแช่แข็งไข่ เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนและอ่อนไหวมาก นอกจากต้องใช้ทีมแพทย์และสหวิชาชีพที่มีความชำนาญสูงแล้ว สถานที่แช่แข็งไข่ต้องมีความน่าเชื่อถือ เพราะไข่ 1 ชุดสามารถเก็บได้นานกว่า 10 ปี หากคลินิกนั้น ๆ ไม่มีความมั่นคงและปิดตัวไปก่อนก็จะทำให้การฝากไข่ของเราสูญเปล่า 

นอกจากนี้ หากคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากมีทีมห้องผ่าตัด (OR) เพื่อรับมือในกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งทางคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย (patient safety) เป็นสำคัญสูงสุด จึงมีทีมสนับสนุนเหตุฉุกเฉินตลอดเวลา 

 

 

สำหรับคู่รักที่ต้องการขอรับคำปรึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการมีบุตร หรือตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองภาวะมีบุตรยาก สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โทร. 0-2 011 2364, 0-2 011 2368 สายด่วน 090-972 2609 หรือ 1378 

 

ช่องทางออนไลน์ คลิกที่นี่

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

 

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team