ปฏิทินวันพระ 2564 วันไหนวันพระ จะมีวันไหนบ้างในปีนี้มาดูกัน จะได้ทำบุญถูก

รวม ปฏิทินวันพระ 2564 ให้ชาวพุทธได้ร่วมทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหาร สมาทานศีล และรับฟังธรรมเทศนา ดังเช่น ความหมายของคำว่า "ธรรมสวนะ" ที่แปลว่า "ฟังธรรม "

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากวันหยุดตามปฏิทินไทยสากลแล้ว วันพระ วันนี้วันที่เท่าไหร่ หรือวันธรรมสวนะก็เป็นอีกวันที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยให้ความสำคัญ บางคนก็ยึดถือวันพระเป็นฤกษ์ดี ในการทำบุญใหญ่ ไหว้พระ ตักบาตร หรือแม้แต่ถือศีล ละเว้นจากการทำบาปทั้งหลาย วันพระจะมีเดือนละ 4 วัน สำหรับ ปฏิทินวันพระ 2564 ปติทินวันพระ วันพระใหญ่ วันไหนวันพระ ในบางเดือน ที่มี 5 สัปดาห์ ก็จะมีวันพระเพิ่มขึ้นมาอีก 1 วัน เพื่อให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยได้ร่วมทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารคาวหวาน สมาทานศีล และรับฟังธรรมเทศนา ดังเช่น ความหมายของคำว่า “ธรรมสวนะ” ที่แปลว่า “ฟังธรรม ” วันพระ 2564 ปฏิทิน 2564 วันพระ ปฏิทินวันพระ วันพระใหญ่ วันพระมิถุนายน วันนี้วันที่เท่าไหร่ มีวันไหนบ้าง

 

ความสำคัญของวันพระ ปฏิทินวันพระ2564

วันพระ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันธรรมสวนะ หรือวันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชน เพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา ใน 1 เดือน จะมี 4 วัน โดยกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ คือ วันขึ้นค่ำ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ ซึ่งเป็นวันเพ็ญ วันแรมค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ

 

วันพระ2564 วันพระใหญ่ วันพระปี

ในสมัยต้นพุทธกาล พุทธศาสนามิได้มีการกำหนดวันใด ๆ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้มาประชุม สนทนาธรรมกัน เฉกเช่นในศาสนาอื่น ๆ ในขณะนั้นมีนักบวชนอกพุทธศาสนา มีธรรมเนียมปฏิบัติที่จะประชุมธรรมกันในทุก ๆ วันค่ำ และ ๑๕ ค่ำ พระเจ้าพิมพิสารจึงได้เข้าเฝ้า และกราบทูลต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการกำหนดวันขึ้น เรียกว่า วันอุโบสถ (วันค่ำ) และวันลงอุโบสถ (วัน ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ) ด้วยพระประสงค์ให้ภิกษุได้สนทนาธรรม และแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันนี้ด้วย

 

สืบมาตั้งแต่บัดนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าว เป็นวันเข้าวัด ทำบุญ ฟังพระธรรม คำสอน และนับเป็นวันสำคัญของศาสนาพุทธ

บทความที่เกี่ยวข้อง 99 คำคมธรรมะ คำพระสอนใจ มาอ่านคำสอนของพระเตือนใจ ให้จิตใจสงบ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วันพระใหญ่ วันพระ 2564 วันไหนเป็นวันพระบ้าง?

วันพระ เดือนมกราคม 2564 ปฏิทินวันพระ วันพระมกราคม 2564 วันพระเดือนมกราคม 2564

พุธที่ 6 มกราคม แรม ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีชวด
พุธที่ 13 มกราคม แรม ๑๕ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีชวด
พฤหัสบดีที่ 21 มกราคม ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีชวด
พฤหัสบดีที่ 28 มกราคม ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีชวด

วันพระเดือนกุมภาพันธ์ 2564 วันพระ วันพระใหญ่ เดือนกุมภาพันธ์ 2564

ศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ แรม ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีชวด
พฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีชวด
ศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีชวด
ศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีชวด วันมาฆบูชา

วันพระ เดือนมีนาคม 2564 หรือ วันพระ 2564 วันพระใหญ่

เสาร์ที่ 6 มีนาคม
แรม ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีชวด
เสาร์ที่ 13 มีนาคม แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีชวด
อาทิตย์ที่ 21 มีนาคม ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีฉลู
อาทิตย์ที่ 28 มีนาคม ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีฉลู

วันพระเดือนเมษายน 2564 วันพระเดือนเมษายน ปฏิทินวันพระ2564 วันพระใหญ่

จันทร์ที่ 5 เมษายน
แรม ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีฉลู
อาทิตย์ที่ 11 เมษายน แรม ๑๔ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีฉลู
จันทร์ที่ 19 เมษายน ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีฉลู
จันทร์ที่ 26 เมษายน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีฉลู

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปฏิทินวันพระ2564 วันพระ 2564 เดือนพฤษภาคม

อังคารที่ 4 พฤษภาคม
แรม ๘ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีฉลู วันฉัตรมงคล
อังคารที่ 11 พฤษภาคม แรม ๑๕ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีฉลู
พุธที่ 19 พฤษภาคม ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีฉลู
พุธที่ 26 พฤษภาคม ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีฉลู วันวิสาขบูชา

วันพระ เดือนมิถุนายน 2564 ปฏิทิน 2564 วันพระ

พฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน
แรม ๘ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีฉลู วันเฉลิมฯ พระราชินี / วันอัฏฐมีบูชา
พุธที่ 9 มิถุนายน แรม ๑๔ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีฉลู
พฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีฉลู
พฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีฉลู

ปติทินวันพระ วันพระ 2564 วันพระเดือนกรกฎาคม 2564

ศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม
แรม ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีฉลู
ศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม แรม ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีฉลู
เสาร์ที่ 17 กรกฎาคม ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนแปดหลัง(๘๘) ปีฉลู
เสาร์ที่ 24 กรกฎาคม ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปดหลัง(๘๘) ปีฉลู วันอาสาฬหบูชา
อาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม แรม ๑ ค่ำ เดือนแปดหลัง(๘๘) ปีฉลู วันเข้าพรรษา

วันพระเดือนสิงหาคม 2564 หรือ วันพระ 2564

อาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม
แรม ๘ ค่ำ เดือนแปดหลัง(๘๘) ปีฉลู
อาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม แรม ๑๕ ค่ำ เดือนแปดหลัง(๘๘) ปีฉลู
จันทร์ที่ 16 สิงหาคม ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีฉลู
จันทร์ที่ 23 สิงหาคม ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีฉลู
อังคารที่ 31 สิงหาคม แรม ๘ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีฉลู

บทความที่เกี่ยวข้อง วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา พาลูกทำอะไรดี

 

วัน พระ วัน ที่ เท่า ไหร่

วันพระ2564 ปฏิทินวันพระ

วันพระ เดือนกันยายน 2564

จันทร์ที่ 6 กันยายน
แรม ๑๔ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีฉลู
อังคารที่ 14 กันยายน ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีฉลู
อังคารที่ 21 กันยายน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีฉลู
พุธที่ 29 กันยายน แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีฉลู

วันพระเดือนตุลาคม 2564

พุธที่ 6 ตุลาคม
แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีฉลู
พฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีฉลู
พฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีฉลู วันออกพรรษา
ศุกร์ที่ 29 ตุลาคม แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีฉลู

วันพระเดือนพฤศจิกายน 2564

พฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน
แรม ๑๔ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีฉลู
ศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีฉลู
ศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีฉลู วันลอยกระทง
เสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีฉลู

วันพระ 2564 วันพระเดือนธันวาคม

เสาร์ที่ 4 ธันวาคม
แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีฉลู
อาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีฉลู
อาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีฉลู
จันทร์ที่ 27 ธันวาคม แรม ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีฉลู

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง แต่งชุดไทยพาลูกไปลอยกระทง ดูชุดไทย ชุดสไบเด็กหญิง เด็กชาย

 

 

สิ่งดี ๆ ที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติในวันพระ เพื่อชำระล้างจิตใจ

1. ตักบาตร ทำบุญ

การเริ่มต้นวันด้วยสิ่งดี ๆ ก็จะทำให้จิตใจของเราสงบ และเป็นสุขไปตลอดทั้งวัน ในวันพระ พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ก็จะตื่นเช้าขึ้นมาทำบุญ ตักบาตร รับพรจากพระสงฆ์ และเริ่มต้นวันด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์

 

2. รักษาศีล 5

การรักษาศีล 5 สามารถกระทำได้ทุกวัน กระทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ศีล 5 ข้อ ได้แก่

  • ปาณาติปาตาเวรมณี หมายถึง การละเว้นจากการฆ่าชีวิตสัตว์ทุกชนิด
  • อทินนาทานาเวรมณี หมายถึง การเว้นจากการลักทรัพย์ หรือทรัพย์ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้
  • กาเมสุมิสฉาจาราเวรมณี หมายถึง การละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม การประพฤติผิดลูกผิดเมียคนอื่น
  • มุสาวาทาเวรมณี หมายถึง การละเว้นจากการพูดปดมดเท็จ พูดจาโกหก พูดไปเรื่อย พูดจาล่องลอย
  • สุราเมรยมัฌชปะมาทัตถานาเวรมณี หมายถึง การละเว้นจากการดื่มสุรา และของมึนเมา

 

3. เข้าวัด ฟังธรรม

พุทธศาสนิกชนบางท่านนิยมไปวัดในวันพระ เพื่อฟังพระธรรม คำสอน ฟังเรื่องที่บำรุงสติ เจริญปัญญา และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต รวมทั้งการบอกกล่าวเล่าธรรม เผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รับฟัง ให้เขาได้เห็นแสงสว่าง และมีแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดี

 

4. ทำจิตใจให้สงบ ละโลภ โกรธ หลง

การได้ฟังธรรม หรือร่วมกิจกรรมในวันพระ เช่น การตักบาตร ทำบุญ เข้าวัด ฟังธรรม เวียนเทียน เจริญอานาปานสติ จะทำให้จิตใจสงบ ท่ามกลางความวุ่นวายทางโลก การฝึกฝนจิตใจ ให้รู้จักปล่อยวาง สงบนิ่งชั่วขณะ จะทำให้เรามองเห็นชีวิตที่แน่วแน่ และชัดเจนขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5. ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยเหลือสังคม

การชื่นชมยินดี การแบ่งปัน และหยิบยื่นโอกาสให้ผู้อื่นก็เป็นบุญ ไม่เพียงแต่ในวันพระ แต่พุทธศาสนิกชนควรทำบุญตักบาตร เปิดโอกาสให้ผู้อื่นทั้งในการดำรงชีวิต การทำงาน และอื่น ๆ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ศีล 5 มีอะไรบ้าง คืออะไร สอนลูกให้รู้จักศีล 5 สอนศาสนาให้กับลูก

 

 

แนะนำบทสวดมนต์สั้น ๆ ในวันพระ

ก่อนการสวดมนต์ ควรทำจิตให้สงบ กล่าวคำด้วยใจอันบริสุทธิ์ ตามลำดับ

1. บทสวดมนต์บูชาพระ

อิมินา สักกาเรนะ ตัง พุทธัง อะภิปูชะยามิ

อิมินา สักกาเรนะ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ

อิมินา สักกาเรนะ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ

 

2. บทสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ)

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : คาถาบูชาไอ้ไข่ หรือตาไข่ บูชาอย่างไรให้ชีวิตปัง งานเริ่ด รวยคูณสิบ

 

3. คำนมัสการพระพุทธเจ้า

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

 

4. คำอาราธนาศีล 5

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

 

5. บทสวดมนต์ไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

 

6. คำสมาทานศีล 5

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ

อะทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ

กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ

มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ

สุราเมระยะมัจฉะปะมาทะถานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

 

สำหรับใครที่ชอบทำบุญแต่ก็ยังไม่รู้ว่าปีนี้ มีวันไหนตรงกับวันพระกันบ้าง ก็สามารถเข้ามาดูกันได้ เพราะแอดได้นำ ปฏิทินวันพระ 2564 มาฝากทุกคนให้ได้รู้กันแล้ว

 

ที่มา : myhora , hora-thai

บทความที่น่าสนใจ

บทสวดมนต์ก่อนนอน สวดทุกคืน ฝันดี ผีไม่มากวน บทสวดมนต์ฝันดี

ตื่นเช้าพร้อมเริ่มต้นวันใหม่ๆ กับ บทสวดมนต์เช้า พร้อมแผ่เมตตา บทสวดมนต์ตอนเช้า

บทความโดย

bossblink