ถุงยางแตกทำไง คำถามคาใจวัยรุ่น เมื่อถุงยางแตก หลายคนจึงมีความกังวล ตื่นตระหนก และไม่สบายใจ แต่หากเรารู้วิธีป้องกันที่ถูกต้อง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงและสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตาม วิธีการป้องกันอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ วัยรุ่นจำเป็นต้องรู้สาเหตุของถุงยางแตก และวิธีการเลือกใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง เพื่อให้เราได้เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น เราจึงได้รวบรวมวิธีการรับมือเมื่อถุงยางแตก และเกร็ดความรู้ในการเลือกใช้ถุงยางที่ถูกต้องมาฝากกันครับ
ถุงยาง สำคัญอย่างไร?
ถุงยาง (Condom) มีความสำคัญกับวัยรุ่น และผู้ที่ยังไม่พร้อมมีบุตรอย่างมาก เนื่องจากถุงยาง สามารถป้องกันการกำเนิดได้ รวมถึงยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกด้วย ถุงยางอนามัยช่วยคุมกำเนิดและป้องกันกามโรคได้ดี แต่อย่างไรก็ตาม การสวมถุงยางเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์อย่างเดียวนั้น อาจไม่สามารถป้องกันได้ 100% อีกทั้งยังมีโอกาสหลุดหรือรั่วในขณะมีเพศสัมพันธ์ได้บ่อยด้วย ดังนั้น วัยรุ่นควรจะรู้วิธีการรับมือเมื่อถุงยางแตก วิธีการป้องกัน และการเลือกใช้ถุงยางที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันถุงยางแตกในการมีเพศสัมพันธ์ในอนาคต
ถุงยางแตก เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ถุงยางแตกเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ วัยรุ่นและผู้ไม่พร้อมมีบุตรจึงควรเข้าใจสาเหตุของการแตก เพื่อป้องกันการกำเนิดบุตร และโรคติดต่อเมื่อมีเพศสัมพันธ์ โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ถุงยางแตก มีดังนี้
- การใช้ถุงยางที่ผิดขนาดหรือเล็กจนเกินไป : เมื่อผู้ใช้เลือกถุงยางที่มีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไปกว่าอวัยวะเพศของตน จะส่งผลให้บริเวณปลายของถุงยาง ไม่มีพื้นที่รองรับอสุจิที่หลั่งออกมา ภายหลังจากการมีเซ็กส์ วัยรุ่นควรจะรู้ขนาดของถุงยางที่เหมาะสมกับตัวเอง โดยอาจปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือใช้วิธีลองสวมถุงยางหลาย ๆ ขนาดได้
- การใช้ถุงยางที่หมดอายุหรือเก็บในอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไป : การใช้ถุงยางที่หมดอายุแล้ว และการใช้ถุงยางที่เก็บไว้ในอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไปนั้น ทำให้ประสิทธิภาพของถุงยางลดลงอย่างมาก เพราะมีโอกาสที่ถุงยางจะขยายตัวหรือหดลง ดังนั้น ผู้ใช้ควรจะดูวันที่หมดอายุก่อนสวมทุกอย่างทุกครั้ง และหลีกเลี่ยงการใช้ถุงยางที่เก็บไว้ในที่ที่อุณหภูมิต่างกัน
- การใช้สารหล่อลื่นไม่เพียงพอ : การสวมถุงยาง โดยใช้สารหล่อลื่นที่ไม่เพียงพอ อาจทำให้ถุงยางแตกได้ วัยรุ่นควรใช้สารหล่อลื่นเพื่อช่วยให้การมีเพศสัมพันธ์ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก จำเป็นต้องใช้สารหล่อลื่นเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดถุงยางแตก
- การใช้สารหล่อลื่นที่มีความเหลวเกินไป : การใช้สารหล่อลื่นที่เหลวเกินไป โดยเฉพาะสารหล่อลื่นประเภท น้ำมัน จะเพิ่มความเสี่ยงให้ถุงยางแตกได้ง่ายขึ้น ควรจะเลือกใช้สารหล่อลื่นประเภท เจล มากกว่า เพื่อป้องกันถุงยางแตก
- เผลอกัดหรือฉีกถุงยางจนเกิดขาดโดยไม่รู้ตัว : บ่อยครั้งที่คู่หลับนอนมักเผลอกัดหรือฉีกถุงยางจนแตกโดยไม่รู้ตัว นั่นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ถุงยางแตกขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ ผู้ใช้ควรค่อย ๆ แกะถุงยาง และค่อย ๆ สวม เพื่อป้องกันการฉีกขาด หรือรั่วไหลของถุงยางได้
- การสอดใส่ลำบาก : การสอดใส่ที่ลำบากอาจทำให้ถุงยางแตกได้เช่นกัน วัยรุ่นควรจะใช้ถุงยางและสารหล่อลื่นควบคู่ เพื่อทำให้มีเพศสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้น รวมทั้งควรมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่รุนแรงจนเกินไป จึงสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดถุงยากแตกได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 ความเข้าใจผิด ๆ ของการใช้ถุงยางอนามัย
รับมืออย่างไรเมื่อถุงยางแตก?
การรับมือและรู้ทันกับสถานการณ์อย่างทันท่วงที เป็นเรื่องที่ดี และยังทำให้เราเผชิญกับผลลัพธ์ที่เลวร้ายได้น้อยลง วัยรุ่นจึงจำเป็นที่จะรู้วิธีการรับมืออย่างปลอดภัย เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาเช่นนี้ในอนาคต โดยวิธีการรับมือเมื่อถุงยางแตกนั้น มีดังนี้
- หากถุงยางแตกในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ให้หยุดกิจกรรมบนเตียงทันที : หากถุงยางอนามัยแตกในช่วงการมีเพศสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอก ผู้มีเพศสัมพันธ์ทั้งคู่ควรหยุดการมีเซ็กส์ทันที และให้พิจารณาว่าได้หลั่งอสุจิไปไหม และหลั่งภายในและภายนอก หากถุงยางแตกหลังจากการหลั่งภายใน อาจมีโอกาสที่อสุจิอาจเข้าไปในร่างกายฝ่ายหญิงได้
- รีบชำระล้างและขับของเหลวที่อยู่ภายในร่างกายให้มากที่สุด : พยายามเข้าห้องน้ำและรีบปัสสาวะในทันที ไม่ฉีดน้ำหรือล้างช่องคลอดเด็ดขาด เพราะมีโอกาสที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากขึ้น ฝ่ายหญิงควรจะล้างอวัยวะเพศตัวเองด้วยน้ำอุ่น โดยการนั่งยอง ๆ หรือนั่งบนโถส้วมได้ หรือหากมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ก็ไม่ควรใช้น้ำฉีดเข้าไปล้างเช่นกัน ให้ใช้วิธีอุจจาระ เพื่อรีบขับอสุจิที่ตกค้างออกมามากที่สุด
- รีบเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาวะทางเพศและเชื้อเอชไอวีทันที : หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ วัยรุ่นควรเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจสุขภาวะทางเพศ และเชื้อเอสไอวีโดยเร็วที่สุด ไม่ควรเกิน 14 วัน เพื่อการป้องกันและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที
- รับประทานยาคุมกำเนิด : การรับประทานยาคุมกำเนิด เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการป้องกันการตั้งครรภ์ เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย และยังช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ อย่างไรก็ตาม การรับประทานยาคุมเพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้น ฝ่ายหญิงควรปรึกษากับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรู้จักการรับยาและดูแลร่างกายให้ถูกวิธี
วิธีการเลือกใช้ถุงยางที่ถูกต้อง
- เลือกถุงยางที่เหมาะสมกับขนาดอวัยวะเพศของตน ไม่ควรเลือกถุงยางที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่จนเกินไป
- ไม่ใช้ถุงยางที่หมดอายุ หรือถุงยางที่เก็บไว้ในอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำจนเกินไป หากใช้ถุงยางหมดอายุ อาจทำให้ขนาดของถุงยาง หดหรือขยายเพิ่มขึ้นได้
- ใช้ถุงยางเพียงครั้งเดียว ห้ามนำมาใช้ซ้ำโดยเด็ดขาด การนำถุงยางกลับมาใช้ซ้ำ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างมาก
- ห้ามกัดถุงยางหรือแกะด้วยของมีคมต่าง ๆ เช่น เล็บ กรรไกร หรือ คัตเตอร์ เป็นต้น
- ไม่ใช้สารหล่อลื่นคู่กับถุงยางจนมากเกินไป ควรใช้อย่างพอประมาณ และเลือกใช้สารหล่อลื่นประเภท เจล มากกว่าประเภท น้ำ
- สวมถุงยางเพียงชิ้นเดียว หากสวมถุงยางอนามัยมากกว่าหนึ่งชิ้น มีโอกาสที่ถุงยากจะแตกได้ง่ายขึ้น
- ตรวจสอบถุงยางทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์ หากถุงยางขาด หรือไม่มั่นใจว่าถุงยางชิ้นนั้นรั่วหรือไม่ ควรเปลี่ยนชิ้นมากกว่าการเสี่ยงใช้
- ไม่พกถุงยางไว้ในพื้นที่เสี่ยง เช่น กระเป๋ากางเกง กระเป๋าเงิน หรือพื้นที่เสี่ยงที่อาจทำให้ถุงยางแตกขาดได้
เมื่อถุงยางแตก ไม่ควรตื่นตระหนกและกังวลมากจนเกินไป ผู้มีเพศสัมพันธ์ทั้งสองควรร่วมกันปรึกษาปัญหา โดยอาจปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และพยายามหาข้อมูลวิธีการป้องกันให้มากที่สุด เพื่อจะช่วยลดปัญหาการตั้งครรภ์ในช่วงวัยเรียนหรือไม่พร้อม และยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคร้าย ที่จะตามมาหลังการมีเพศสัมพันธ์ได้ด้วย การเลือกใช้และการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธี จึงเป็นเรื่องที่เราควรรู้ เพื่อสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างถูกต้อง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เลือก ถุงยางอนามัย อย่างไร ถึงจะเจอในแบบที่ใช่สำหรับคุณ
วิธีใส่ถุงยางอนามัย ข้อควรระวังในการใส่ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยป้องกันอะไรได้บ้าง
วิธีคุมกําเนิด แบบไหนดีที่สุด! กินยาคุม ใส่ถุงยาง ฝังเข็มยาคุม หรือทำหมันเลยดีไหม
ที่มาข้อมูล : verywellhealth, pobpad