อุทาหรณ์ คุณแม่ปล่อยให้ลูกเข้าเต้านานเกินไป

เรื่องราวส่งตรงจากคุณแม่เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับแม่ที่ให้นมลูกทุกคนว่า "อย่าเข้าเต้านานเกินไป"

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ Kratai Katesara Nutteesri ได้โพสต์ข้อความเพื่อเป็นการเตือนใจคุณแม่ผ่านเพจดังอย่าง "คนท้องคุยกัน" เกี่ยวกับการเอาลูกเข้าเต้านาน

น้องจิโร่ อายุ 3 เดือน 10 วัน หนัก 7,410 กรัม ต้องนอนโรงพยาบาลนานถึง 4 วัน สืบเนื่องจากการทานนมแม่เยอะสะสมมาก ซึ่งทำให้คุณแม่ไม่สามารถกะปริมาณน้ำนมเวลาที่เอาน้องเข้าเต้าได้ พอทานมาก ๆ ในทุกมื้อ ทำให้ลำไส้ไม่ย่อยและอาเจียนอย่างหนัก จนถึงขั้นที่คุณหมอจำต้องเอ็กซเรย์กระเพาะอาหารเลยทีเดียว

ตอนแรกคุณหมอคิดว่า น้องจิโร่ น่าจะป่วยติดเชื้อไวรัส อยู่มาสี่วัน ถึงหาสาเหตุของการอาเจียนพบ และให้การรักษาด้วยการให้ทานนมแม่จากขวด ครั้งละ 2 ออนซ์ ทุก ๆ 2 ชั่วโมง ตอนนี้น้องดีขึ้นและสามารถออกจากโรงพยาบาลได้แล้ว แต่ยังคงต้องให้ยาปฏิชีวนะอยู่ และตั้งแต่ออกจากโรงพยาบาลกลับมาบ้าน ก็ต้องให้นมแม่จากขวดตามที่คุณหมอแนะนำไปก่อน หรือถ้าจะเอาน้องเข้าเต้าก็ต้องปั๊มออกก่อน แล้วจับเวลาไม่ให้ดูดนานเกิน 20 นาที

คุณแม่ Kratai Katesara Nutteesri อยากฝากถึงคุณแม่ทุกคนว่า "ให้รักลูกให้ถูกวิธี อย่าตามใจลูก เป็นแม่ต้องใจแข็ง มีระเบียบวินัยในการให้ลูกทานนม การที่ลูกร้องไม่ใช่เอาแต่จะเอาเข้าเต้าแต่เพียงอย่างเดียว ให้หาสาเหตุของการที่ลูกร้องด้วย และไม่อยากให้เอาน้องเข้าเต้าบ่อย ๆ เพราะอาจจะทำให้ลูกเสียนิสัยในการกิน และมีผลอันตรายในระยะยาวได้ ถ้าหากให้ลูกนอนเลยหลังจากทานนม โดยที่ไม่ให้เรอ ก็อาจจะเป็นเหมือนน้องจิโร่ได้"

ขอขอบคุณคุณแม่ Kratai Katesara Nutteesri และเพจคนท้องคุยกัน มาก ๆ นะคะ สำหรับข้อมูลดี ๆ หากคุณแม่ท่านไหนมีเรื่องราวที่ต้องการแชร์หรือแบ่งปันประสบการณ์เพื่อเป็นข้อคิดเตือนใจ หรืออุทาหรณ์ก็สามารถติดต่อเพจได้เลยนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จะรู้ได้อย่างไรนะ ว่าลูกได้รับน้ำนมแม่เพียงพอหรือไม่ คลิกอ่านได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

จะรู้ได้อย่างไรนะ ว่าลูกได้รับน้ำนมแม่เพียงพอหรือไม่ สามารถดูได้จากสัญญาณดังนี้ค่ะ

สัญญาณบ่งบอกว่าทารกได้รับน้ำนมเพียงพอ
คุณแม่ลองสังเกตง่ายๆโดยทั่วไป ถ้าลูกได้รับน้ำนมเพียงพอ เขาจะคายหัวนมออกเมื่ออิ่มแล้ว แต่บางครั้ง ลูกอาจหยุดดูดระหว่างที่กินนมแม่ ดังนั้นจึงควรให้เวลาลูกตัดสินใจว่าพอหรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่จะสังเกตว่าลูกได้รับน้ำนมเพียงพอได้จาก
• ลูกมีท่าทางพอใจหลังจากเวลาการกินนมใกล้สิ้นสุดลง
• ลูกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหลังผ่านไปสองสัปดาห์แรก
• คุณไม่รู้สึกเจ็บที่เต้านมและหัวนมจนเกินไป
• รู้สึกว่าเต้านมโล่งและเบาขึ้นหลังจากให้ลูกกินนม
• ลูกมีสีผิวที่แสดงถึงการมีสุขภาพดีและผิวตึงกระชับโดยเมื่อกดลงไปผิวลูกจะเด้งขึ้น
• หลังจากผ่านไปสองถึงสามวันแรก ลูกควรจะฉี่อย่างน้อยหกครั้งต่อวัน
• หลังจากนั้น 2-3 วัน ลูกควรจะอึอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน โดยมีสีเหลืองหรือสีคล้ำ และสีเริ่มอ่อนลงหลังจาก 5 วันผ่านไป

สัญญาณบ่งบอกว่าลูกอาจต้องการนมเพิ่ม
หากลูกน้อยไม่ได้รับน้ำนมเพียงพอ คุณแม่สังเกตได้จากสัญญาณอาการต่อไปนี้
• ลูกดูไม่กระปรี้กระเปร่าและร้องกวนตลอดเวลา รวมทั้งหงุดหงิดหลังจากกินนมแล้ว นอกจากนี้ยังดูเหมือนลูกจะไม่พอใจและไม่ร่าเริง
• ขณะกินนม ลูกดูดเสียงดังจ๊วบๆ หรือคุณไม่ได้ยินเสียงกลืน ซึ่งแสดงว่าลูกดูดนมไม่ถูกวิธี
• ผิวของลูกมีสีเหลืองขึ้น
• ผิวลูกยังดูย่นอยู่หลังจากผ่านไปหนึ่งสัปดาห์
• หากคุณแม่กังวลว่าลูกน้อยไม่ได้รับน้ำนมเพียงพอ ลองให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้น และควรอุ้มลูกไว้แนบตัว ถ้าลูกยังอยากกินนมอีก เขาจะหันหน้าเข้าหาเต้านมเอง
• บางครั้งคุณแม่อาจพบว่าลูกยังหงุดหงิด งอแง เหมือนยังไม่อิ่มนม แม้จะลองให้นมถี่ขึ้นแล้ว หากเป็นกรณีนี้ คุณแม่ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อสอบถามถึงสาเหตุที่ลูกไม่อิ่มนมหรือการได้ รับน้ำนมไม่เพียงพอ
• เมื่อลูกอายุเกิน 4 เดือนหรือ 6 เดือน ร่างกายของลูกเริ่มเติบโตขึ้นและพร้อมที่จะรับอาหารเสริมได้ตามวัย ทั้งนี้คุณแม่ยังสามารถให้ลูกกินนมแม่ต่อได้อย่างเต็มที่ควบคู่ไปกับอาหาร ตามวัยสำหรับทารกและเด็กเล็ก

ขอบคุณที่มาจาก: คนท้องคุยกัน

ระวัง! หากคิดซื้อนมแม่ออนไลน์

อันตรายถึงชีวิต!! ถ้าลูกสำลักนมแม่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

บทความโดย

Muninth