ฉีกกฎของการเป็นพ่อแม่แบบเดิมๆ เลิกใช้ 10 คำพูดเก่าๆ กับลูก

เป็นพ่อแม่ของลูกยุคใหม่ ต้องมีการปรับตัวกันบ้าง ไม่ว่าจะเป็นวิธีการเลี้ยงลูก หรือแม้แต่คำพูดสำนวนแบบเดิม ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

10 คำพูดเก่าๆ ที่ไม่ควรใช้กับลูก

คำพูดเก่าๆ อะไรบ้างที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อที่จะปรับวิธีการเลี้ยงลูกให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันได้ดี

#1 “ทำดีแล้ว”

มีผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการใช้คำชมลูกทั่ว ๆ ไปอย่าง “เก่งมากลูก” หรือ “ทำดีแล้ว” ในทุก ๆ ครั้งที่ลูกทำนั้น เป็นเพราะลูกทำเพื่อต้องการคำชมจากพ่อแม่มากกว่าการอยากทำผลงานชิ้นนั้นให้ดีด้วยตัวเอง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่เองควรใช้คำชมเชยกับลูกเมื่อเห็นผลงานจากความตั้งใจเมื่อลูกทำได้ดีขึ้นจริง ๆ  หรืออาจจะเปลี่ยนมาเป็นใช้คำพูดอื่น ๆ แทน เช่น “ลูกมีความตั้งใจมากจ๊ะ” “ลองระบายสีให้ตรงนี้ดูจะสวยมากกว่านี้เชียวล่ะ” เป็นต้น

#2 “ฝึกบ่อย ๆ เดี๋ยวก็เก่งขึ้นเอง”

ถึงแม้ว่าการฝึกฝนบ่อย ๆ ของลูกจะเพิ่มทักษะได้ดี แต่การพูดแบบนี้อาจเหมือนเป็นการเพิ่มแรงกดดันให้ลูกต้องการฝึกซ้อมให้มากกว่านี้เพื่อที่จะเอาชนะหรือเก่งขึ้นเพียงอย่างเดียว คล้ายกับเป็นการบอกว่าที่ลูกทำอยู่ตอนนี้มันยังฝึกไม่หนักพอ และจะทำให้ลูกรู้สึกกดดัน โทษตัวเองว่า และเกิดความสงสัยว่า สิ่งที่เขาทำอยู่ทุกวัน ๆ มันคงไม่เป็นสุดยอด ลองเปลี่ยนมาใช้คำพูดที่กระตุ้นลูกให้ฝึกซ้อมหรือขยันที่จะทำสิ่งที่ลูกต้องการ (หรือพ่อแม่ชอบ) เพียงเพื่อต้องการให้ลูกรู้จักพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น และรู้สึกภูมิใจในความก้าวหน้าของตัว มากกว่าความคิดมุ่งหวังจะเก่งขึ้นเท่านั้น

#3 “ไม่เป็นไรหรอกลูก”

ทันทีที่ลูกหกล้มหัวเข่าถลอกเป็นแผลและร้องไห้ ด้วยสัญชาตญาณของแม่นั้นอาจอยากให้ความมั่นใจกับลูกเพื่อไม่ให้วิตกกับความเจ็บที่เกิดขึ้นว่ามันไม่ใช่การบาดเจ็บที่ร้ายแรง ด้วยการพูดว่า “ไม่เป็นไรหรอก” แต่การคำพูดแบบนี้อาจทำให้ลูกรู้สึกแย่ลงอีก สิ่งที่พ่อแม่ควรจะช่วยลูกให้เข้าใจและรู้จักรับมือกับอารมณ์เจ็บปวดนี้ได้ ก็คือการเข้าไปโอบกอดและทำความเข้าใจความรู้สึกของลูก ด้วยการใช้คำพูดอย่าง “ล้มแบบนี้เจ็บแย่เลยนะลูก” และจากนั้นก็ถามเขาต่อว่าอยากทำแผลไหม เพื่อที่จะเป็นการไม่มองข้ามความเจ็บปวดของลูกไป ถึงแม้ว่ามันจะเป็นแผลเล็กน้อยก็ตาม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#4 “เร็ว ๆ เข้า”

แม้ในตอนเช้าจะเป็นเวลาที่เร่งรีบ และเจ้าตัวเล็กนั้นยังคงพิรี้พิไรอยู่กับมื้อเช้า หรือยืนกรานที่จะใส่เสื้อเอง ผูกเชือกรองเท้าด้วยตัวเอง จนทำให้ต้องไปโรงเรียนสาย แต่การไปเร่งให้ลูกทำเร็วขึ้นนั้นรังแต่เพิ่มความ เครียดให้ลูก คุณแม่ควรใช้น้ำเสียงที่อ่อนโยนดูเป็นทีมเดียวกับลูกด้วยคำพูดว่า “เรามาทำอะไรให้เร็วขึ้นกันเถอะ” หรือเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันให้มาเป็นเกมที่สนุกขึ้น เช่น “ทำไมเราไม่แข่งกันเพื่อดูว่าใครจะแต่งตัวเสร็จก่อนกันนะ”

#5 “เราไม่มีเงินพอซื้อหรอก”

มันเป็นคำปฏิเสธง่าย ๆ ที่จะใช้คำพูดแบบนี้เมื่อลูกขอให้ซื้อของเล่น แต่ในทางกลับกันแม่เองอาจซื้อของใช้ในบ้านราคาแพง หนทางที่จะทำให้ลูกเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เงินเพื่อซื้อของฟุ่มเฟือย คุณแม่อาจใช้คำพูดอย่าง “เราจะไม่ซื้อของสิ่งนี้เพราะเราจะต้องเก็บเงินเอาไว้สำหรับซื้อสิ่งอื่นที่สำคัญกว่านะคะ” แต่ถ้าลูกยังงอแงที่จะได้ของที่เขาต้องการ มันก็เป็นโอกาสดีที่จะเริ่มต้นสอนให้ลูกรู้จักจัดการบริหารเงินด้วยการเก็บออมหรือทำงานพิเศษ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#6 “อย่าพูดกับคนแปลกหน้า”

คำว่าคนแปลกหน้าอาจจะยากต่อความเข้าใจของเจ้าตัวเล็กในตอนนี้ เพราะแม้แต่คนที่วิ่งผ่านหน้าบ้านเป็นประจำลูกก็อาจไม่คิดว่านี่คือคนแปลกหน้าสำหรับเขา หรือบางครั้งคำพูดนี้อาจทำให้ลูกเข้าใจผิดและไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่เขาไม่รู้จัก ดังนั้นการสอนลูกเกี่ยวกับคนแปลกหน้า ให้ลองสมมติสถานการณ์ขึ้นมา เช่น คนที่มาให้ขนมหรือคนที่บอกจะพาไปส่งบ้าน ให้อธิบายว่าเมื่อเจอแบบนี้ลูกควรจะต้องทำอย่างไร แนะนำวิธีที่เหมาะสม และให้คาถาบอกลูกว่า อะไรหรือใครที่ทำให้ลูกรู้สึกหวาดกลัว เสียใจ หรือไม่เข้าใจ ให้บอกแม่รู้ทันที”

#7 “ระวัง/ ห้าม/ อย่า”

ในขณะที่ลูกคุณเล่นสนุกอยู่ในสนามเด็กเล่น การตะโกนห้ามลูกให้ระวังโน้นนี่ เป็นการดึงความสนใจในสิ่งที่กำลังเล่นอยู่อาจทำให้ลูกเสียสมาธิ ถ้าคุณแม่กลัวลูกจะบาดเจ็บจากสิ่งที่เขาเล่น ควรเข้าไปดูแลลูกอยู่ใกล้ ๆ ให้หายกังวลว่าลูกจะได้รับอุบัติเหตุ แต่ควรปล่อยให้ลูกเล่นอย่างอิสระ หรือให้ลูกเลือกเครื่องเล่นที่เหมาะสมกับวัย โดยไม่ใช้คำพูดที่ขัดจังหวะสมาธิและความสนุกที่จะไม่ไปปิดกั้นพัฒนาการของลูก

#8 “ลูกจะไม่ได้กินขนมจนกว่าลูกจะกินข้าวเสร็จ”

แม้ว่าการใช้คำพูดนี้ทำให้ลูกเห็นความสำคัญของมื้ออาหาร แต่มันอาจให้ผลตรงกันข้ามที่อาจจะให้ลูกอยากกินขนมมากกว่าที่จะยอมกินข้าว คุณพ่อคุณแม่ลองปรับเปลี่ยนคำพูดแบบนี้ดูนะคะ “อย่างแรกเรามากินข้าวกันก่อนแล้วจากนั้นค่อยกินขนมกันนะ” การเปลี่ยนไปใช้คำพูดที่ดูอ่อนโยนขึ้น มันจะส่งผลดีขึ้นสำหรับลูกของคุณ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#9 “ให้พ่อ/แม่ช่วยนะ”

มันเป็นธรรมชาติที่พ่อแม่อยากจะเข้าไปช่วยลูกให้ทำอะไรได้เสร็จไว ๆ แต่ถ้าเราเข้าไปช่วยลูกเร็วเกินไป อาจเป็นโอกาสที่ไปปิดกั้นพัฒนาการและทำลายความเป็นอิสระของลูกได้นะ แต่ถ้าอยากช่วยลูกแก้ปัญหาลองใช้คำถามชี้นำเพื่อช่วยลูกแทน อย่างเช่น “ลูกคิดว่าเจ้าบล็อกชิ้นใหญ่หรือชิ้นเล็กอันนี้ควรจะไปอยู่ตรงข้างล่างดี ? หรือ ทำไมลูกคิดแบบนี้ล่ะ ลองทำดูอีกทีซิ”

#10 “แม่กำลังลดความอ้วนอยู่”

เด็กสมัยนี้รู้เรื่องเยอะขึ้นตั้งแต่ตัวเล็ก ๆ ถ้าลูกเห็นว่าแม่กำลังยืนอยู่บนเครื่องชั่งน้ำหนักทุกวัน แล้วเอาแต่พูดว่า “อ้วนๆๆๆ” ลูกอาจโตมากับภาพจำของร่างกายที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรง และกลัวที่จะกินอาหาร เก็บเรื่องการควบคุมน้ำหนักไว้เป็นเรื่องส่วนตัวดีกว่า หรือใช้วิธีการออกกำลังกาย ที่เป็นการกระตุ้นให้ลูกได้มาทำร่วมกันเพื่อสุขภาพดีกว่า


Credit content : www.parents.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

10 คำพูดที่เข้าใจหัวอกแม่ลูกอ่อนได้ตรงเป๊ะที่สุด!

6 คำพูดไม่ควรพูดทำร้ายลูกวัยเตาะแตะ

บทความโดย

Napatsakorn .R