มะเร็งสมอง คืออะไร โรคมะเร็งสมองมีอาการเป็นอย่างไรบ้าง มีสาเหตุเกิดมาจากอะไร มีวิธีรักษาหรือไม่ ควรไปพบแพทย์เมื่อไหร่ มาดูกัน
มะเร็งสมองคืออะไร
มะเร็งสมอง คือ โรคที่เกิดขึ้นมาจากเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายบริเวณ และเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื้องอกอาจจะเกิดขึ้นเองที่เนื้อเยื่อสมอง หรือจากการลุกลามของมะเร็งจากอวัยวะส่วนอื่น ๆ และมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็ง เช่น การสูบบุหรี่ การสัมผัสสารเคมี หรือประวัติการเกิดโรคมะเร็งของสมาชิกในครอบครัว โรคมะเร็งสมองนั้นส่งผลต่อร่างกายและการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ การพูด ความคิด สติปัญญา ปัญหาด้านการทรงตัว เป็นลม ความทรงจำ การมองเห็น บุคลิกภาพ และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
อาการของมะเร็งสมอง
อาการของโรคมะเร็งสมองนั้นจะขึ้นอยู่กับขนาด และตำแหน่งของเนื้องอก โดยอาการที่พบของโรคมะเร็งสมองอาจจะมีสาเหตุ หรืออาจจะเป็นผลข้างเคียงมาจากความผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจจะไม่ใช่มะเร็งสมองก็ได้ คุณไม่ควรที่จะวิตกกังวลจนเกินเหตุไป เพราะถ้าหากว่าเป็นอาการเบื้องต้น หรือมีอาการที่ไม่รุนแรง แต่คุณก็สามารถไปพบแพทย์ได้หากว่ามีข้อสงสัยอื่น ๆ เพิ่มเติม อาการของโรคมะเร็งสมองอาจจะมีอาการ ดังต่อไปนี้
- มีอาการปวดศีรษะ โดยอาการจะมีความรุนแรงขึ้นในตอนเช้า
- มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
- เป็นลมหมดสติ
- มีอาการซึม
- มีอาการชัก
- มีอาการอ่อนแรง และมีอาการชาที่บริเวณขาและแขน
- กล้ามเนื้อกระตุก
- มีปัญหาทางด้านการทรงตัว หรือเดินลำบาก
- มีปัญหาทางด้านความคิด อารมณ์ หรือสูญเสียความทรงจำ
- มีปัญหาในการพูด
- มีปัญหาในการมองเห็น
เมื่อใดควรไปพบแพทย์
รับความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินทันทีหากคุณมีอาการใด ๆ ต่อไปนี้:
- อาเจียนต่อเนื่องโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มองเห็นภาพซ้อนหรือสามารถมองวิสัยทัศน์ได้ด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
- ง่วงหรือง่วงนอนมากขึ้น
- อาการชักใหม่
- ปวดศีรษะอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
สาเหตุของมะเร็งสมอง
มะเร็งสมองนั้น เป็นเนื้องอกที่อันตรายที่มีการเจริญเติบโตของเซลล์ในลักษณะที่มีความผิดปกติ หรือที่เรียกว่า เซลล์มะเร็ง โดยอาศัยเลือดและสารอาหารจากร่างกายไปหล่อเลี้ยง มะเร็งอาจจะเกิดขึ้นที่บริเวณสมอง หรืออาจจะเกิดจากการที่มะเร็งลุกลาม หรือกระจายมาจากอวัยวะส่วนอื่น ๆ เช่น เต้านม ปอด ไต ลำไส้ใหญ่ หรือผิวหนัง เนื้องอกที่มีเซลล์มะเร็งจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และเซลล์มะเร็งสามารถที่จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและทำลายเนื้อเยื่อดีในบริเวณรอบข้างได้ และมีโอกาสสามารถที่จะกลับมาเป็นอีกครั้งได้ถึงแม้ว่าจะเคยผ่านการรักษามาแล้วก็ตาม และอาจจะมีอันตรายถึงชีวิตได้ ส่วนสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งสมองยังไม่สามารถที่จะบอกสาเหตุการเกิดอย่างแน่ชัดได้ แต่มีเพียงปัจจัยต่าง ๆ ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งสมองได้ เช่น
- มีอายุที่เพิ่มมากขึ้น
- เป็นโรคมะเร็งส่วนอื่น ๆ ในร่างกายและสามารถแพร่กระจายไปยังสมองได้ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งไต มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- มีประวัติการเกิดโรคมะเร็งกับคนภายในครอบครัว
- สูบบุหรี่มาเป็นระยะเวลานาน
- การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่อาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ เช่น ตะกั่ว พลาสติก ยาง น้ำมัน
การรักษามะเร็งสมอง
ในการรักษาโรคมะเร็งสมอง จำเป็นต้องใช้ทีมแพทย์ที่ประกอบด้วยหลายส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง นักโภชนาการ นักสังคมสงเคราะห์ นักกายภาพบำบัด รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ เช่น นักประสาทวิทยา ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาที่มากกว่าหนึ่งวิธี ขึ้นอยู่กับประเภท ขนาด และตำแหน่งของเนื้อร้าย รวมไปถึงอายุและปัญหาหรือเงื่อนไขทางการแพทย์อื่น ๆ ของผู้ป่วย แพทย์อาจให้สเตียรอยด์เช่น เดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) เพื่อลดอาการบวมของสมอง หรือให้ยากันชักในผู้ป่วยบางราย รวมไปถึงวิธีการรักษาอื่น ๆ ที่ใช้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งสมองดังต่อไปนี้
- การผ่าตัด เพื่อทำการกำจัดเนื้องอกที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดเซลล์มะเร็ง
- การรักษาด้วยรังสี (Radiation Therapy) คือการฉายแสงที่มีพลังงานสูงเพื่อทำลาย ลดการขยายตัวและหยุดการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย ใช้ในผู้ที่ไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้ เช่น เนื้อร้ายอยู่ในตำแหน่งที่บอบบางและยากต่อการผ่าตัด หรือใช้หลังการผ่าตัดที่ยังคงหลงเหลือเซลล์มะเร็งอยู่ การรักษาด้วยรังสีสามารถทำได้ด้วยกันหลายวิธี เช่น
-
- External Radiation คือการฉายรังสีที่มีพลังงานสูงผ่านชั้นผิวหนัง กะโหลก เซลล์สมอง ไปยังตำแหน่งของเนื้อร้าย โดยจะทำประมาณ 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้เวลาไม่นานต่อหนึ่งครั้ง
- Stereotactic Radiosurgery คือการทำลายเนื้อร้ายโดยการใช้รังสีที่มีพลังงานสูงจากหลายทิศทางด้วยความแม่นยำ โดยทำหลังจากมีการระบุตำแหน่งที่ชัดเจน ซึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและใช้เวลาในการพักฟื้นน้อยกว่า
- การทำเคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือที่เรียกว่าการทำคีโม คือการใช้ยา อาจเป็นยา 1 ชนิดหรือรวมกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปในการรักษา สามารถให้ได้ทั้งทางเส้นเลือดหรือรับประทาน จะใช้ยาเป็นรอบ ๆ โดยจะเว้นระยะให้ผู้ป่วยได้พักฟื้น และดูการตอบสนองต่อการรักษา การทำเคมีบำบัดสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เป็นแผลในปาก เบื่ออาหาร ผมร่วง เป็นต้น
สมองอาจได้รับผลกระทบหรือเกิดความเสียหายจากเซลล์มะเร็ง ผู้ป่วยบางรายอาจมีความจำเป็นต้องมีการฟื้นฟูร่างกายหลังเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งสมอง สามารถทำได้โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้
- การฟื้นฟูสมรรถภาพหรือการทำกายภาพบำบัด ผู้ป่วยบางรายอาจพบว่าสมองถูกทำลายจากเซลล์มะเร็ง ทำให้ส่งผลต่อความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การพูด การเดิน หรือการปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ จึงจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการฟื้นฟูเพื่อสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ
- การฟื้นฟูโดยการรักษาแบบทางเลือก เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ หรือการรับประทานอาหารเสริม เพื่อชดเชยสารอาหารที่สูญเสียไปในระหว่างการรักษา รวมไปถึงการฝังเข็ม หรือการใช้สมุนไพร ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์สำหรับทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุดในผู้ป่วยแต่ละราย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
6 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พร้อมวิธีการป้องกัน ทำอย่างไรให้ไม่ติดโรค?
โรคไม่ติดต่อ (NCDs) อันตรายที่คร่าชีวิตคนไทยโดยไม่ทันตั้งตัว
การทำบอลลูนหัวใจ ทางเลือกหนึ่งของการรักษาโรคหัวใจ ทำอย่างไร?
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : webmd.com , pobpad.com