แม่ผ่าคลอดต้องเตรียมให้พร้อม 3 เคล็ดลับสร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันลูกรัก เริ่มได้ทันที

ชวนแม่มาเช็ก 3 เคล็ดลับสร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันลูกรัก เพื่อให้แม่ผ่าคลอดมั่นใจเต็มร้อยว่าพร้อมเดินหน้าดูแลสมอง และภูมิคุ้มกันของเบบี๋ผ่าคลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ยิ่งใกล้ถึงโค้งสุดท้ายก่อนคลอดมากแค่ไหน แม่ที่จำเป็นต้องผ่าคลอดก็จะทั้งตื่นเต้น และเป็นกังวลมากมาย ไม่ใช่แค่เรื่องความปลอดภัยของเบบี๋ แต่ยังพะวงไปถึงพัฒนาการต่าง ๆ ของลูกน้อย เช่น พัฒนาการด้านสมอง, ทักษะการเรียนรู้ และภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง เพื่อเด็กจะได้ไม่เจ็บป่วยง่าย

เพราะ แม่ผ่าคลอดหลายคนรู้ดีว่า เด็กผ่าคลอด จะมีภูมิคุ้มกันตั้งต้นที่แตกต่างออกไปจากการคลอดธรรมชาติ ทำให้ไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ หรือโพรไบโอติกจากช่องคลอดของคุณแม่ ซึ่งอาจไม่ใช่แค่การกระทบต่อสุขภาพ แต่ยังอาจหมายถึงพัฒนาการทางสมองของเด็กผ่าคลอด และความสามารถในการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัยที่แตกต่างไป

เพื่อให้แม่ผ่าคลอดมั่นใจเต็มร้อยว่าพร้อมเดินหน้าดูแลสมอง และภูมิคุ้มกันของเบบี๋ผ่าคลอด เราอยากชวนแม่ ๆ มาเช็กกันว่า ที่ผ่านมาได้เริ่มทำสิ่งเหล่านี้แล้วหรือยัง?

 

แม่ผ่าคลอดต้องเตรียมให้พร้อม 3 เคล็ดลับสร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันลูกรัก เริ่มได้ทันที

 

  1. กระตุ้นพัฒนาการสมองตั้งแต่ในครรภ์ จนถึงวันที่เจ้าตัวเล็กอยู่ในอ้อมอก

สมองของเด็กทารกทุกคนประกอบด้วยเซลล์สมองจำนวนนับล้าน ๆ เซลล์ ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ภายหลังการปฏิสนธิและกลายเป็นตัวอ่อนเพียงไม่กี่สัปดาห์ การกระตุ้นพัฒนาการสมองของลูกรักตั้งแต่อยู่ในครรภ์ด้วยการพูดคุย  เปิดเพลง หรือเล่านิทานให้ฟัง จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีตั้งแต่ก่อนคลอด และเมื่อเด็ก ๆ ออกมาสู่อ้อมอกของคุณพ่อคุณแม่ การโอบกอด การสัมผัส การสบตา การพูดคุยกับลูกด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน การแสดงความรักความใส่ใจ และกระตุ้นพัฒนาการสมองผ่านการเล่นต่าง ๆ ถือเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่สามารถกระตุ้นพัฒนาการสมองของเด็กผ่าคลอดให้รุดหน้าได้อย่างดี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. กินนมแม่ตั้งแต่วันแรกที่คลอด เพื่อไม่พลาดสักวินาทีในการพัฒนาสมองของเด็กผ่าคลอด

สมองของเด็ก ๆ จะมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในช่วง 1 – 2 ปีแรก เพื่อให้ลูกรักมีพัฒนาการสมองดี เด็ก ๆ ควรได้รับนมแม่เร็วที่สุดตั้งแต่วันแรก เนื่องจากในนมแม่ประกอบด้วยสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด หนึ่งในนั้น คือ สฟิงโกไมอีลิน สารอาหารที่มีส่วนสำคัญในการสร้างปลอกไมอีลิน ช่วยให้เซลล์สมองนับล้าน ๆ เซลล์ในวงจรประสาทเชื่อมโยง และสื่อสารกันอย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาพบว่า เซลล์ประสาทที่มีปลอกไมอีลิน จะมีการส่งต่อข้อมูลระหว่างกันได้เร็วขึ้นกว่า 100 เท่า¹ เมื่อเทียบกับแขนงประสาทที่ปราศจากปลอกไมอีลิน เด็ก ๆ ที่กินนมแม่ซึ่งมีสารอาหารที่ดีต่อสมองมากมาย เช่น สฟิงโกไมอีลิน จึงมีสมองไว เรียนรู้เร็ว และจดจำได้ดี

 

  1. เร่งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันตั้งต้นที่พลาดไป ด้วยจุลินทรีย์สุขภาพในนมแม่

โพรไบโอติก บีแล็กทิส (B. lactis) คือ หนึ่งในจุลินทรีย์สุขภาพกลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียม ที่พบได้ในนมแม่ มีคุณสมบัติช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของเด็กผ่าคลอด ซึ่งการได้รับนมแม่อย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้เด็กผ่าคลอดได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ เช่น บีแล็กทิส ทำให้ภูมิคุ้มกันที่ดีของลูกนั้นจะเริ่มได้ตั้งแต่ในลำไส้ สร้างเกราะป้องกันการติดเชื้อในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ลดการอักเสบ บรรเทาอาการท้องผูก และไม่ป่วยง่าย เนื่องจากภูมิคุ้มกันทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

 

เน้นให้ชัด 2 สารอาหารสำคัญในนมแม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ช่วยลูกเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เด็กผ่าคลอด มีความเสี่ยงด้านการพัฒนาการสมองที่อาจแตกต่างออกไป และมีพัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกันตั้งต้นในช่วงแรกของชีวิตช้ากว่าเด็กคลอดธรรมชาติที่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพจากช่องคลอดของคุณแม่ เพื่อให้ลูกรักที่เป็นเด็กผ่าคลอด มีพัฒนาการสมองดี เรียนรู้ได้เต็มที่อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่ง ป้องกันการเจ็บป่วยและการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ดี คุณแม่ ควรให้ลูกผ่าคลอดได้กินนมแม่ให้เร็วที่สุดที่อุดมไปด้วยสารอาหารสมองและสารอาหารและจุลินทรีย์ดีที่ส่งเสริมภูมิคุ้มกัน มาดูตัวอย่างสารอาหารและจุลินทรีย์ดีเหล่านี้กันดีกว่าค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • สารอาหารสมอง สฟิงโกไมอีลิน

สมองของเด็กผ่าคลอด และเด็กคลอดธรรมชาติมีความแตกต่างกัน จากการศึกษาของ Deoni S.C. et al. จากภาพสแกนการเชื่อมโยงการทำงานของเซลล์ประสาทในสมอง (Brain connectivity) ในเด็กอายุ 2 สัปดาห์ พบว่า สมองของเด็กผ่าคลอดมีการเชื่อมโยงของเซลล์สมองในระบบประสาทที่แตกต่าง และมีการสร้างไมอีลินน้อยกว่า²

ดังนั้น เพื่อให้เด็กผ่าคลอดมีพัฒนาการสมอง และการเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทนับล้าน ๆ เซลล์ที่ดี สื่อสารระหว่างกันได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เด็ก ๆ จำเป็นต้องได้รับนมแม่ ที่มีสารอาหารสมองหลายอย่างเช่น สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในสารอาหารสมอง ที่มีคุณสมบัติช่วยสร้างปลอกไมอีลินห่อหุ้มเซลล์ประสาท จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร สามารถส่งต่อข้อมูลได้รวดเร็วขึ้นกว่า 100 เท่า¹ เปรียบได้กับสมองที่เชื่อมต่อสัญญาณ 5G ก็จะส่งต่อข้อมูลได้เร็วกว่า เด็ก ๆ จึงมีสมองไว เรียนรู้ได้ดี แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้รวดเร็ว มีทักษะจำเป็นสามารถนำไปใช้ในการต่อยอดความสำเร็จในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วได้อย่างมีศักยภาพ

 

  • จุลินทรีย์สุขภาพ โพรไบโอติก บีแล็กทิส

การพลาดการได้รับจุลินทรีย์สุขภาพจากช่องคลอดของคุณแม่เนื่องจากกระบวนการผ่าคลอด ที่นำตัวของทารกออกทางหน้าท้อง ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับระบบภูมิคุ้มกันตั้งต้นของเด็กผ่าคลอด แต่แม่ผ่าคลอดอย่างเราก็เตรียมพร้อมให้ลูกมีสุขภาพดีได้ง่าย ๆ ด้วยการให้ลูกกินนมแม่ ที่มีจุลินทรีย์สุขภาพหลายสายพันธุ์ เช่น โพรไบโอติก บีแล็กทิส  (B. lactis) และจัดเป็นจุลินทรีย์สุขภาพที่มีงานวิจัยรองรับจำนวนมากและน่าเชื่อถือสูงว่าช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้³ อีกทั้งสามารถลดความเสี่ยงการเกิดอาการลำไส้แปรปรวน และท้องเสียเฉียบพลันของเจ้าตัวเล็กได้ ยิ่งไปกว่านั้น หากลูกได้รับพรีไบโอติกที่มีหลายชนิดในนมแม่ เช่น 2’FL ก็จะช่วยให้ภายในลำไส้มีความสมดุล ถือเป็นเคล็ดลับส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

เมื่อเด็ก ๆ มีความพร้อมทั้ง 2 ด้าน คือ เมื่อมีพื้นฐานสมองและสุขภาพดีตั้งแต่ช่วงต้นของชีวิต โดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรกที่สมองกำลังพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ช่วยให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ ไม่ต้องกังวลเรื่องการเจ็บป่วยที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในทุก ๆ วัน เพียงเท่านี้เด็ก ๆ ก็เหมือนได้ถือตั๋วแห่งความสำเร็จไว้ในมือถึง 2 ใบ และไม่ว่าลูกจะวาดฝันถึงการประสบความสำเร็จในด้านไหน ก็จะสามารถทำได้เต็มที่ในแบบที่เขาต้องการ

 

หากคุณแม่มีคำถามเกี่ยวกับการผ่าคลอด และพัฒนาการลูกรัก ปรึกษาทีมพยาบาล S-Mom Club ได้ตลอด 24 ชม. ไม่มีค่าใช้จ่าย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Reference

  1. Susuki K. Nature Education. 2010;3(9):59.
  2. Deoni S.C., et al. AJNR Am J Neuroradiol. 2019 Jan;40(1): 169 – 177.
  3. Floch MH,et al.J Clin Gastroenterol 2015;49:S69 – S73

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team