โดยทั่วไปสมองของเด็กจะเริ่มพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของแม่ และสามารถเรียนรู้ต่อไปได้เรื่อย ๆ ไม่มีวันสิ้นสุด แต่การเติบโตของสมองจะเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว หรือมีความสามารถในการรับรู้ได้มากเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่ไปกระตุ้นการทำงานของสมองว่ามีมากน้อยเพียงใด เด็กแรกเกิดถึง 3 ปี เป็นช่วงวัยที่เซลล์สมองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากธรรมชาติของเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่อยู่ในช่วงของการเรียนรู้และสนใจสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ให้ความใส่ใจในการสร้างเสริมศักยภาพสมองของลูกตั้งแต่ในระยะนี้ จะทำให้สมองของลูกพร้อมที่จะเรียนรู้และรับสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่
Bioactive Components เสริมสร้างสมองให้ลูกรัก
ให้ลูกกินนมแม่ จากงานวิจัยพบว่าทารกที่กินนมแม่จะมีไอคิวสูงกว่าทารกที่กินนมทั่วไป เพราะนมแม่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน มีระบบการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์ (Apocrine) ทำให้น้ำนมมีสารอาหารจากธรรมชาติที่เรียกว่า Bioactive Components เช่น ทอรีน นิวคลีโอไทด์ โพลีเอมีนส์ โกรทแฟคเตอร์ ฯลฯ ในปริมาณสูง ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของสมองและพัฒนาการของทารก นมแม่ยังมีโปรตีนขนาดเล็กและไขมันที่ย่อยง่าย ดูดซึมได้เร็ว ลดอาการท้องอืด ท้องผูก และไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ ช่วยให้ลูกมีร่างกายแข็งแรงพร้อมต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในทุก ๆ วัน
ให้ลูกนอนหลับอย่างเพียงพอ เพราะการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอจำเป็นต่อการพัฒนาระบบสมองของลูก หากลูกนอนไม่พอจะนำไปสู่ปัญหาทางด้านร่างกาย อารมณ์ รวมไปถึงระบบสมองที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ของลูกลดลง ปริมาณการนอนที่เหมาะสมสำหรับลูกน้อยวัยทารกคือ วันละ 15-17 ชั่วโมง ลูกวัย 2-3 ขวบ ควรนอนวันละ 12-13 ชั่วโมง ส่วนลูกวัย 4-5 ขวบ ควรนอนวันละ 10-11 ชั่วโมง
การเล่นช่วยกระตุ้นพัฒนาการ การเลือกของเล่นที่เหมาะกับวัยจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการแต่ละด้านของลูกน้อย รวมทั้งพัฒนาการทางด้านสมอง เพราะการเล่นจะช่วยให้ลูกได้คิด ได้ฝึกทักษะด้านต่าง ๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ นอกจากการเล่นของเล่นแล้ว การให้ลูกได้เล่นอย่างอิสระท่ามกลางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ในสวน ในสนามที่มีต้นไม้ดอกไม้ ก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้ลูกได้เรียนรู้
ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยหนังสือ เช่น หนังสือนิทานที่มีภาพสีขนาดใหญ่ หนังสือภาพที่มีเสียงประกอบ หรือการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง โดยอ่านออกเสียงแต่ละคำให้ชัดถ้อยชัดคำ เน้นเสียงสูงต่ำ หรือมีท่าทางประกอบการเล่า จะทำให้ลูกรู้สึกสนุก ช่วยกระตุ้นให้ลูกได้คิด ได้จินตนาการตาม
ถามคำถามให้ลูกตอบ เพราะการตั้งคำถามเป็นที่มาของความคิดและคำตอบ ธรรมชาติของวัยเด็กเล็กเป็นวัยขี้สงสัย ช่างซักช่างถาม เมื่อลูกมีคำถาม คุณพ่อคุณแม่ต้องพร้อมตอบเพื่อให้ลูกเกิดการเรียนรู้ ขณะเดียวกันก็ต้องตั้งคำถามให้ลูกตอบ ลองใช้คำถามที่ต้องตอบมากกว่า “ใช่” กับ “ไม่ใช่” เป็นการช่วยกระตุ้นให้ลูกได้ใช้สมอง ได้คิดเกี่ยวกับสิ่งที่จะตอบ
ดนตรีและศิลปะ การให้ลูกได้เล่นดนตรี นอกจากจะเป็นการพัฒนาสมองซีกขวาของลูกแล้ว ยังมีผลทำให้ไอคิวและการเรียนรู้ของลูกมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่วนการทำงานศิลปะ ทำให้ลูกได้ใช้จินตนาการ ความคิดสร้างสรรรค์ และมีสมาธิ พร้อมเปิดรับและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
ให้ลูกออกกำลังกาย การให้ลูกรักได้ออกกำลัง ขยับแข้งขยับขา หรือเล่นกีฬาต่าง ๆ ที่ลูกชอบนอกจากจะทำให้ลูกร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังทำให้ลูกเรียนรู้การเข้าสังคม และการเล่นกับคนอื่น ทำให้มีความมั่นใจในตัวเอง จากงานวิจัยยังพบว่าเด็กที่ได้ออกกำลังกาย สามารถเรียนรู้ได้ดีกว่าเด็ก ๆ ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
นอกจากนี้ การให้ลูกได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเรียนรู้ ไม่ปิดกั้นจินตนาการ ให้ลูกได้เล่น ได้คิด ได้ลงมือทำกิจกรรมตามความถนัดหรือความสนใจก็เป็นสิ่งสำคัญ จะนำไปสู่การเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกอย่างเป็นธรรมชาติ
อีกปัจจัยที่คุณแม่ต้องใส่ใจมาก ๆ คือเรื่องของอาหารและโภชนาการ เพราะวัยเด็กเป็นวัยที่เซลล์สมองกำลังเจริญเติบโตและพัฒนา การดูแลให้ลูกได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนเพียงพอ มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาสมองของลูก
แน่นอนว่านมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย แต่หากคุณแม่จำเป็นต้องเลือกนมผสมเพื่อเสริมโภชนาการให้กับลูกน้อย ก็ควรเลือกนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนอย่างเช่นนมแพะ ซึ่งมีระบบการสร้างน้ำนมแบบเดียวกับนมแม่ ทำให้มีสารอาหารจากธรรมชาติที่มีคุณค่าสูง มีโปรตีนย่อยง่าย และไขมันคุณภาพดี ช่วยในการเจริญเติบโต และช่วยเสริมสร้างสมองของลูก เมื่อลูกน้อยมีพัฒนาการของสมองที่มีประสิทธิภาพ การเรียนรู้ที่ดีก็จะตามมา พร้อมให้ลูกเปล่งประกายความเป็นตัวเองจากภายใน
สารอาหารสำคัญที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองและการเรียนรู้ของลูก
- ARA องค์ประกอบสำคัญในระบบประสาทส่วนกลาง และช่วยในการมองเห็น
- โอเมก้า 3 และ 6 กรดไขมันจำเป็น ช่วยในการพัฒนาเซลล์สมอง
- โคลีน มีส่วนสำคัญในการสร้างสื่อประสาทที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้และความจำ
- วิตามินบี 12 ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง
- ทอรีน ช่วยพัฒนาเครือข่ายใยประสาทและการมองเห็น