ประกันสุขภาพ แบบนอนโรงพยาบาล แบบไหนคุ้มค่าที่สุด

การนอนโรงพยาบาลนั้นไม่ใช่เรื่องสนุกแน่นอน และยังจะเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษา ค่าห้อง ค่าพยาบาล และอื่น ๆ อีกจิปาถะ และเราก็ไม่สามารถควบคุมอาการป่วยของเราไว้ได้ ดังนั้นการทำ ประกันสุขภาพ แบบนอนโรงพยาบาล ก็เป็นสิ่งที่จำเป็น หากเกิดกรณีฉุกเฉินขึ้น ถึงเวลานั้น คุณคงไม่อยากมานั่งกุมขมับว่าจะหาเงินที่ไหนมาจ่าย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประกันสุขภาพ แบบนอนโรงพยาบาล หรือ IPD หรือที่เราเรียกกันคุ้นปากว่า แอดมิท (Admit) นั้น เป็นอีกหนึ่งประเภทของรูปแบบประกันสุขภาพ ที่ตอบโจทย์ใครหลาย ๆ คน ที่กังวลกับภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น เมื่อเกิดอาการเจ็บไข้จนถึงขั้นต้องนอนเฝ้าดูอาการที่โรงพยาบาล

หลักประกันสุขภาพคืออะไร ประกันสุขภาพ คือ การประกันภัยที่บริษัทประกันภัยตกลงที่จะชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุให้แก่ผู้เอาประกันภัย

เพราะแน่นอนว่า การนอนโรงพยาบาลนั้นไม่ใช่เรื่องสนุกแน่นอน และยังจะเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษา ค่าห้อง ค่าพยาบาล และอื่น ๆ อีกจิปาถะ และเราก็ไม่สามารถควบคุมอาการป่วยของเราไว้ได้ ดังนั้นการทำ ประกันสุขภาพ แบบนอนโรงพยาบาล ก็เป็นสิ่งที่จำเป็น หากเกิดกรณีฉุกเฉินขึ้น ถึงเวลานั้น คุณคงไม่อยากมานั่งกุมขมับว่าจะหาเงินที่ไหนมาจ่าย หรือต้องควักเงินเก็บของคุณมาจ่ายกับค่าโรงพยาบาลเป็นแน่ค่ะ แล้วประกันแบบไหนที่จะคุ้มค่าที่สุดกันนะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นอย่างไร รุนแรงแค่ไหน ประกันครอบคลุมหรือไม่

ก่อนจะเลือกซื้อประกันต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

ตารางค่าห้องในการรักษาของแต่ละโรงพยาบาล

1. สวัสดิการพื้นฐาน 

ก่อนอื่นเราต้องมาดูก่อนว่างานที่เราทำอยู่นั้น มีหลักประกันสุขภาพ มีสวัสดิการพื้นฐานอะไรให้กับเราบ้าง ซึ่งหากคุณรับราชการอยู่ คุณก็จะได้สิทธิ์คุ้มครองการรักษาที่สามารถเบิกจ่ายได้เมื่อคุณเกิดป่วย และต้องเข้าโรงพยาบาล ทั้งนี้ ก็ยังรวมถึงสวัสดิการที่ครอบคลุมถึงคนในครอบครัว หากคุณมีสิทธิ์เหล่านี้อยู่ การมองหาประกันแบบนี้ อาจจะไม่จำเป็นสำหรับคุณ

แต่ถ้าคุณไม่ได้รับราชการล่ะ คุณก็ต้องดูว่าสวัสดิการขององค์กร หรืองานที่คุณทำอยู่นั้น มีสวัสดิการพื้นฐานเรื่องการรักษาพยาบาล และคุ้มครองกรณีเป็นผู้ป่วยในหรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. สำรวจโรงพยาบาลที่คุณมักจะเข้าไปใช้บริการ

โดยมากเมื่อคุณเจ็บป่วยคุณมักจะไปใช้บริการที่ไหนเป็นหลัก หลักประกันสุขภาพคือสิ่งสำคัญในการซื้อประกัน คุณก็จะสามารถสำรวจค่าใช้จ่ายหากเกิดกรณีที่จะต้องเข้าเป็นผู้ป่วยใน เพื่อประเมินค่าใช้จ่ายเบื้องต้น หากคุณบอกว่าคุณมักจะใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน มากกว่าโรงพยาบาลในเครือของรัฐบาลฯ การเลือกดูความคุ้มครอง ก็น่าจะช่วยแบ่งเบาภาระของคุณได้เยอะขึ้นค่ะ

3. เลือกรูปแบบความคุ้มครอง

ปัจจุบันมีบริษัทประกันชีวิตเกิดขึ้นมากมาย  และสถาบันการเงินหลาย ๆ แห่ง ก็ยังผันตัวมาเป็นตัวแทนประกันทั้งสุขภาพ และประกันชีวิต ทำให้ผลประโยชน์นั้น ตกอยู่ที่ผู้บริโภค เพราะนอกจากจะมีหลาย ๆ บริษัทให้เราได้เลือกแล้ว เรายังสามารถเลือกรูปแบบความคุ้มครองได้หลากหลายขึ้นอีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การเลือกความคุ้มครองต้องดูประกอบกับลักษณะอาชีพที่คุณทำอยู่ ค่าใช้จ่ายที่สัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลที่คุณไปใช้บริการอยู่เป็นประจำ และที่สำคัญคือไม่จำเป็นจะต้องสำรองจ่ายไปก่อน แล้วเคลมคืนทีหลัง

4. เลือกบริษัท และตัวแทนที่คุณมั่นใจ

เดิมทีเราอาจจะต้องอ้างอิงตัวแทนเป็นหลัก เพราะตัวแทนจะเป็นผู้ดำเนินการให้เราในทุก ๆ เรื่อง ทั้งการเคลมประกัน และการดำเนินการเอกสารต่าง ๆ แต่ปัจจุบัน เราสามารถจัดการเองได้สะดวกสบาย เพียงแค่ยื่นบัตรให้กับทางโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลก็จะสามารถเช็คสิทธิประกันของเราได้ทันที

5. ทำสัญญาประกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัจจุบัน เราสามารถสมัครทำสัญญาประกันสุขภาพผ่านทางออนไลน์ได้ แต่สำหรับบางเคสเราอาจจำเป็นจะต้องเข้าไปตรวจสุขภาพก่อนทำสัญญา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทนั้น ๆ เป็นหลัก หลังจากนั้นก็รอทางบริษัทดำเนินการเข้าสู่การคุ้มครอง แค่นี้ก็ใช้สิทธิ์กันได้แล้วค่ะ

6. รับเล่มกรมธรรม์แล้วตรวจสอบข้อมูล เงื่อนไข ข้อยกเว้น

เมื่อได้รับสัญญากรมธรรม์มาแล้ว ให้อ่านศึกษาข้อมูล เงื่อนไข และข้อยกเว้นให้เรียบร้อย เพื่อความเข้าใจ หากติดขัดข้อไหน ให้สอบถามกับตัวแทน หรือโทรเข้าฮอตไลน์ของบริษัทประกันนั้น ๆ ทันที

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ประกันลูกน้อย ประกันสุขภาพเด็ก คุ้มครองสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย

อาจจะต้องนอนก่ายหน้าผาก หากคุณไม่มีประกันสุขภาพคุ้มครอง

การทำประกันสุขภาพ OPD และ IPD ต่างกันอย่างไร?

เดิมทีการทำการประกันสุขภาพมักจะถูกแยกระหว่างผู้ป่วยนอก คือ OPD ที่จะเน้นค่ารักษาพยาบาล และค่ายาเป็นหลัก แต่จะไม่รวมความคุ้มครองเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้อง กรณีที่ต้องแอดมิท หรือ IPD นั่นเอง

แต่หลาย ๆ บริษัทประกันฯ ก็ได้เปิดสัญญาประกันสุขภาพแบบควบคู่ขึ้นมา เนื่องจากปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการรักษาแบบ IPD มีมูลค่าสูงขึ้น การทำประกันสุขภาพจึงมีส่วนช่วยในการลดหย่อนค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้เป็นอย่างมาก รวมถึงหลายบริษัท เพิ่มในส่วนของค่าชดเชยในการสูญเสียรายได้ในขณะที่ทำการรักษาเพิ่มเติมเข้ามาอีกด้วย ดังนั้น การมีประกันสุขภาพชนิด IPD ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระให้กับคุณได้มากทีเดียว

 

ค่าใช้จ่ายในการทำประกัน IPD

ปัจจุบันมีหลากหลายบริษัทให้ได้เลือกทำประกันที่คุ้มครองทั้ง IPD และ OPD ในกรมธรรม์เดียวกัน ซึ่งมีประโยชน์กับผู้บริโภคอย่างมาก โดยเบี้ยประกันเริ่มต้นที่ 9,000 บาทขึ้นไป ต่อปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท โดยสิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ

  1. อัตราค่าห้องพยาบาล (ICU)
  2. อัตราค่าห้อง
  3. ค่ารักษาพยาบาล
  4. ค่าตรวจโรค
  5. ค่าแพทย์
  6. ค่าชดเชยรายได้ที่สูญเสียต่อวัน

หากในกรมธรรม์นั้น ๆ มี OPD หรือผู้ป่วยนอกควบคู่ด้วย ให้ดูเพิ่มเติมค่ารักษาพยาบาลต่อครั้งเข้าไปด้วยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : วิธีเลือกประกันสุขภาพ ให้ครอบครัว 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

ทางโรงพยาบาลมักจะสอบถามถึงประกันที่คุณมีเพื่อตรวจสอบค่าใช้จ่ายให้ก่อนเสมอ

มีประกันสังคมแล้วจำเป็นจะต้องทำประกันสุขภาพเพิ่มหรือไม่

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีสิทธิ์ประกันสังคม และเข้ารักษาที่โรงพยาบาลที่คุณสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ คุณก็สามารถยื่นบัตรประกันสังคม ร่วมกับบัตรประกันสุขภาพควบคู่กันไปได้เลยค่ะ

โดยบัตรประกันสังคม จะช่วยจ่ายส่วนต่างที่เกินออกมาจากประกันสุขภาพให้คุณทันที เช่น ค่าห้องพยาบาลต่อวัน ทางบริษัทประกันจ่ายให้ 1,000 บาท แต่ค่าห้องอยู่ที่ 1,200 บาท 200 บาทที่เกินออกมา ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ทางประกันสังคมจะรับผิดชอบแทน ทำให้คุณไม่จำเป็นจะต้องจ่ายเงินเพิ่มค่ะ

เพียงแค่นี้ ก็เริ่มเห็นความสำคัญของการทำประกันสุขภาพกันแล้วใช่ไหมคะ ดังนั้นคุณสามารถเลือกหากรมธรรม์ที่คุณคิดว่าตอบโจทย์ และไม่เป็นภาระเวลาจ่ายค่ากรมธรรม์ ก็จะทำให้ ชีวิตของคุณจะรู้สึกอุ่นใจมากยิ่งขึ้นหากเกิดเหตุฉุกเฉิน แต่การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ์ที่สุดค่ะ ขอให้มีสุขภาพที่ดี และแข็งแรงทุกคนนะคะ

 

ที่มา : scb

บทความประกอบ:

ประกันโรคร้ายแรง ที่ไหนดี เปรียบเทียบประกันแต่ละชนิด แบบไหนโดนใจสุด

วิธีเลือกประกันสุขภาพ ให้ครอบครัว 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย เป็นอย่างไร ได้อะไรบ้าง?

บทความโดย

Arunsri Karnmana