5 ท่าเบ่งคลอด ลดอาการเจ็บท้องคลอด ช่วยแม่ท้องคลอดง่ายขึ้น

5 ท่าเบ่งคลอดที่เราจะแนะนำต่อไปนี้ จะช่วยให้การเบ่งคลอดของคุณแม่ง่ายขึ้น ลดอาการเจ็บครรภ์ ลดความอึดอัดเมื่อลูกเริ่มเลื่อนตำแหน่งลงมา และอาจจะลดระยะเวลาในการเจ็บครรภ์ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5 ท่าเบ่งคลอด ลดความเจ็บปวด

คุณแม่ทราบไหมว่า ท่าคลอดที่นิยมใช้ในโรงพยาบาล คือ ท่านอนหงายและยกขาทั้งสองข้างขึ้นบนที่รองขาพร้อมกับแยกขาออกกว้าง ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า ท่าขบนิ่ว (lithotomy position) ท่านี้มดลูกจะดันขึ้นไปทางทรวงอก และน้ำหนักของมดลูกยังกดทับบนลำตัวด้านหลังคุณแม่ ทำให้คุณแม่เหนื่อยมากตั้งแต่ยังไม่ทันได้เบ่งคลอด แต่เป็นท่าที่สะดวกสำหรับคุณหมอทำคลอดมาก ในขณะที่ท่าเบ่งคลอดช่วยลดอาการเจ็บครรภ์ และมีอาการปวดหลังน้อยกว่า คือ ท่าลำตัวตั้งขึ้น (upright) ค่ะ ทั้งนี้เนื่องจากน้ำหนักของมดลูกจะกดลงไปที่ปากมดลูก และแรงดึงดูดของโลกช่วยให้ทารกลงมาตามช่องคลอดได้ดีขึ้น เรามาทำความรู้จัก ท่าเบ่งคลอด แบบต่าง ๆ ที่ช่วยลดความเจ็บปวดระหว่างคลอดกันค่ะ

1. ท่าเบ่งคลอด Swaying

คุณแม่ยืนหันหน้าเข้าหาคุณพ่อ สอดแขนของคุณแม่โอบกอดคุณพ่อไว้ แล้วไกวตัวช้า ๆ เหมือนคุณกำลังเต้นรำจังหวะสโลว์แดนซ์อยู่

ท่านี้ดีอย่างไร

ท่านี้เอื้อให้เกิดการเคลื่อนไหวในอุ้งเชิงกรานระหว่างการคลอด โดยใช้แรงโน้มถ่วงเพื่อกระตุ้นให้ทารกเคลื่อนตัวลึกเข้าไปในอุ้งเชิงกราน ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการเจ็บท้องคลอด

ท่านี้เป็นท่าที่ดีมาก เพราะคุณพ่อสามารถนวดหลังคุณแม่เบา ๆ เป็นการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ในขณะที่ดนตรีจังหวะเบา ๆ ยังช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลายอีกด้วย

ท่านี้ควรทำตอนไหน

สามารถทำได้ทั้งในช่วงเริ่มเจ็บท้องคลอด และช่วงที่เจ็บท้องมากแล้ว ตราบเท่าที่คุณแม่ยังมีแรงยืนค่ะ  หรือจะซบไปกับตัวคุณพ่อเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยรองรับน้ำหนักตัวของคุณแม่ได้เป็นอย่างดี

2. ท่าเบ่งคลอดLunging

ท่านี้ให้คุณแม่ยกขาข้างหนึ่งวางบนเก้าอี้ หรือสตูลวางเท้า แล้วโน้มตัวไปข้างหน้า ค้างไว้ 5-10 วินาที พัก 10 วินาที แล้วสลับขาอีกข้างหนึ่ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท่านี้ดีอย่างไร

ท่านี้ช่วยเปิดอุ้งเชิงกรานให้กว้างขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่ให้ลูกน้อยเคลื่อนไหว กระตุ้นให้ลูกน้อยกลับหัว ท่านี้ยังเป็นประโยชน์ในการยืดกล้ามเนื้อขาระหว่างการคลอดที่ยาวนานอีกด้วย

บทความแนะนำ คลิป วิธีทำให้ลูกกลับหัวลงอุ้งเชิงกราน เมื่ออายุครรภ์ 37 สัปดาห์

3. ท่าเบ่งคลอดSquatting

คุณแม่จับด้านหลังพนักเก้าอี้ที่มั่นคงแล้วนั่งยอง ๆ หรืออาจให้คุณพ่อนั่งบนเก้าอี้ ส่วนคุณแม่นั่งยอง ๆ ด้านหน้าหว่างขาคุณพ่อก็ได้ โดยให้นั่งยอง ๆ 2 นาที แล้วพัก 5 นาที ขึ้นอยู่กับความถี่และระยะเวลาในการหดรัดตัวของมดลูก

ท่านี้ดีอย่างไร

ท่านี้ช่วยให้อุ้งเชิงกรานเปิดที่ด้านล่างเปิดเพิ่มได้ถึง 15% โดยใช้แรงโน้มถ่วงที่ช่วยให้ลูกน้อยเคลื่อนตัวลงสู่ช่องคลอด ซึ่งช่วยให้การคลอดในระยะที่สองดำเนินไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ท่านี้ควรทำตอนไหน

แนะนำให้ใช้ท่านี้ในการคลอดระยะที่สอง ระหว่างที่กล้ามเนื้อมดลูกกำลังหดรัดตัว ผู้เชี่ยวชาญบางท่านเชื่อว่า ไม่ควรใช้ท่านี้ในระยะแรกของการคลอด เนื่องจากจะเป็นการปิดทางเข้าเชิงกรานและขัดขวางการเคลื่อนตัวของทารก และไม่ควรทำท่านี้ในขณะที่คุณมีลมเบ่ง เพราะลมเบ่งเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยลงมาสู่เชิงกรานและพร้อมจะออกมาดูโลกแล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. ท่าเบ่งคลอดRocking

ท่านี้ไม่ยาก เพียงโยกเบา ๆ ขณะที่คุณแม่นั่งบนเก้าอี้โยก หรือบนขอบเตียง หรือบนลูกบอลออกกำลังกาย

ท่านี้ดีอย่างไร

เมื่อคุณแม่รู้สึกเหนื่อยแต่ไม่อยากนอนบนเตียง แนะนำท่านี้เลยค่ะ เพราะเป็นท่าที่ช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายโดยมีเก้าอี้รองรับน้ำหนักตัวคุณแม่เอาไว้ ในขณะเดียวกันก็ยังคงมีการเคลื่อนไหวเชิงกรานเพื่อกระตุ้นการเคลื่อนตัวของลูกน้อย ช่วยให้ระยะเวลาในการคลอดเร็วขึ้น

ท่านี้ควรทำตอนไหน

ทำตอนไหนก็ได้ ยิ่งถ้าคุณแม่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว ด้วยเครื่องมอนิเตอร์ หรือเสาน้ำเกลือ ท่านี้จะช่วยให้คุณแม่สบายกว่านอนอยู่บนเตียงแน่นอน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. ท่าเบ่งคลอด Hands and Knees

คุณแม่คุกเข่าเอามือวางบนที่นอน หรือบนเสื่อโยคะ หรือบนพื้นห้อง เหมือนกำลังเล่นขี่ม้า

ท่านี้ดีอย่างไร

ท่านี้ช่วยลดแรงกดด้านหลังของคุณแม่ โดยใช้แรงโน้มถ่วงในการดึงมดลูกออกจากเชิงกราน

ท่านี้ควรทำตอนไหน

เมื่อคุณแม่มีอาการปวดหลังจากการหดรัดตัวของมดลูก คุณแม่สามารถใช้ท่านี้ หรืออาจปรับเป็น ท่า Head and Shoulders แรงโน้มถ่วงจะดึงลูกน้อยให้ไปที่ด้านบนของมดลูก ทำให้มีพื้นที่ที่ลูกน้อยสามารถเปลี่ยนท่าได้

คุณแม่มีวิธีการลดความเจ็บปวดระหว่างรอคลอดอย่างไรบ้าง สามารถแบ่งปันข้อมูลดี ๆ ให้แก่คุณแม่ท่านอื่น ๆ ได้ที่คอมเมนต์ด้านล่างค่ะ

ที่มา www.fitpregnancy.comwww.birthingnaturally.net

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ

5 วิธีรับมือการเจ็บท้องคลอด

ไขข้อข้องใจ 6 เรื่องที่แม่ท้องกังวลเกี่ยวกับการคลอด

คลอดลูกแล้วท้องไม่ยุบ มีวิธีทำให้ท้องยุบหลังคลอดได้อย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team