ทฤษฎีหมวกหกใบดีต่อลูก อย่างไร หมวกแต่ละใบคืออะไร?
ทฤษฎีหมวกทฤษฎีหมวกหกใบดีต่อลูก เพราะมันจะเพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนวคิดหลักการคิดเป็นทักษะช่วยดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ ทักษะความคิดจึงมีความสำคัญที่สุด
โดยทฤษฎีนี้ เป็นวิธีคิดที่ถูกออกแบบขึ้นมาโดย ดร. เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน ศาสตราจารย์ด้านการคิดชาวอิตาลี เป็นการใช้หมวก 6 สี เข้ามาช่วยให้เรามีความคิดที่มีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์และครบในทุกมิติมากยิ่งขึ้น โดยใช้หมวกแต่ละใบเป็นตัวแทนของมุมมองที่แตกต่างกัน เป็นวิธีคิดที่ช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
ทฤษฎีนี้คุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับลูก ๆ ในการอภิปรายหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ได้ เพื่อที่จะได้คำตอบอย่างรอบได้ และสอนให้ลูกได้คิดอย่างรอบคอบได้อีกด้วย
ทฤษฎีหมวกหกใบดีต่อลูก ประโยชน์ของการคิดแบบทฤษฎีหมวก 6 ใบ
- ง่ายต่อการเรียนรู้วิธีใช้ รวมถึงการประยุกต์การใช้งาน
- ทำให้คิดในแต่ละมุมมองได้อย่างเต็มที่ ไม่หลงประเด็น และไม่สับสน
- ระดมความคิดได้รอบด้าน ครบในทุกมุมมอง
- ป้องกันความขัดแย้ง โต้เถียงกันในที่ประชุม
ซึ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนากระบวนการคิดของเด็ก ๆ ให้มีประสิทธิภาพและหลากหลายมากยิ่งขึ้น ทฤษฎีหมวก 6 ใบนี้ นับว่าเป็นทฤษฎีที่มีประโยชน์อย่างมาก เพราะสามารถนำไปประยุกต์ได้หลากหลาย การให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดหมวก 6 ใบ จะช่วยให้พวกเขามีกระบวนการคิดที่ดีและรอบคอบ ซึ่งการพัฒนาทักษะนี้เป็นผลดีต่อเด็กทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพราะถ้าเขาสามารถใช้ทฤษฎีหมวก 6 ใบได้อย่างคล่องแคล่ง เรื่องของการคิดวิเคราะห์ แยกแยะที่มีในหลักสูตรก็เป็นเรื่องที่ง่ายดายเลยก็ได้
วิธีสอนใช้ ทฤษฎีหมวกหกใบดีต่อลูก
- ใช้หมวกทีละหนึ่งใบสำหรับความคิดแต่ละครั้ง โดยทุกคนจะต้องสวมหมวกใบเดียวกัน เพื่อให้ทุกคนคิดไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อที่จะได้ผลลัพท์อย่างมีประสิท
- ใช้หมวกหลายใบต่อเนื่องกันเป็นชุด เรียงกันไปตามสีแล้วแต่ว่าจะใช้สีไหนก่อน ที่สำคัญคือควรคิดให้ครบทั้ง 6 แบบ เพื่อความสมบูรณ์ในการคิดให้รอบด้าน
ความหมายของหมวกแต่ละใบ
หมวกใบที่ 1 หมวกสีขาว เป็นตัวแทนของข้อเท็จจริง
หมวกสีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายความว่าที่ประชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น คือ ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้น ๆ ไม่ต้องการความคิดเห็น ไม่นำความรู้สึกลงไปเพื่อแสดงความเห็นในเรื่องนั้น ๆ
หมวกใบที่ 2 หมวกสีแดง เป็นตัวแทนของอารมณ์และความรู้สึกที่มีต่อเรื่องราวนั้น ๆ
หมวกสีแดง สีแดงเป็นสีที่แสดงถึงอารมณ์และความรู้สึก เมื่อสวมหมวกสีนี้ เราสามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบ ซึ่งหมายความว่าหมวกสีแดงเป็นหมวกของการแสดงอารมณ์ หรือการตระหนักรู้ โดยฉับพลัน นั่นก็คือ เรื่องบางเรื่องที่เคยเข้าใจในแบบหนึ่ง อยู่ ๆ ก็เกิดเข้าใจในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งการตระหนักรู้แบบนี้จะทำให้เกิดงานสร้างสรรค์ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีคิดทางคณิตศาสตร์แบบก้าวกระโดด ความคิดความเข้าใจในสถานการณ์โดยทันที
หมวกใบที่ 3 หมวกสีดำ เป็นตัวแทนของความระมัดระวัง
หมวกสีดำ สีดำ เป็นสีที่แสดงถึงความโศกเศร้า และการปฏิเสธ เมื่อสวมหมวกสีนี้ ต้องพูดถึงจุดด้อย อุปสรรคโดยมีเหตุผลประกอบ ข้อที่ควรคำนึงถึง เช่น เราควรทำสิ่งนี้หรือไม่ ไม่ควรทำสิ่งนี้หรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ ทำให้การคิดมีความรอบคอบมากขึ้น มีเหตุและมีผลมารองรับการกระทำเสมอนั่งเอง ทำให้เราระวังตัวได้มากขึ้นอย่างดี ไตร่ตรองและยับยั้งการดำเนินการ ที่อาจทำให้ความเสียหายหรือล้มเหลวได้ ผู้บริหารจะใช้หมวกสีดำเพื่อพิจารณาว่าสิ่งที่จะทำนั้นเหมาะสมหรือไม่
หมวกใบที่ 4 หมวกสีเหลือง เป็นตัวแทนของการแสงหาทางเลือกอย่างมีความหวัง
หมวกสีเหลือง สีเหลือง คือ สีของแสงแดด และ ความสว่างสดใส เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายถึง การคิดถึงจุดเด่น โอกาส สิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลในเชิงบวก เป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เป็นหมวกที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีความสดใสตามสีของหมวก
หมวกใบที่ 5 หมวกสีเขียว เป็นตัวแทนของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ๆ
หมวกสีเขียว สีเขียวเป็นสีที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และการเจริญเติบโต เมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์ เป็นหมวกที่พร้อมจะพัฒนาเพื่อให้มีความเจริญเติบโตที่ดี
หมวกใบที่ 6 หมวกสีน้ำเงิน เป็นตัวแทนของการควบคุมความคิดทั้งหมด
หมวกสีน้ำเงิน สีน้ำเงินเป็นสีที่ให้ความรู้สึกสงบ จะเป็นเหมือนท้องฟ้า หมวกนี้เกี่ยวกับการควบคุม การบริหารกระบวนการคิด หรือการจัดระเบียบการคิดได้ดีมากยิ่งขึ้น การคิดเพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของความคิดรวบยอด ข้อสรุป การยุติข้อขัดแย้ง การมองเห็นภาพและการดำเนินการที่มีขั้นตอนเป็นระบบ ต้องการให้มีการควบคุมสิ่งต่าง ๆ ให้อยู่ในระบบระเบียบที่ดีและถูกต้องหมวกสีน้ำเงินมักเป็นบทบาทของหัวหน้า ทำหน้าที่ควบคุมบทบาทของสมาชิก ควบคุมการดำเนินการประชุม การอภิปราย การทำงาน ควบคุมการใช้กระบวนการคิด การสรุปผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
Source : gotoknow.org , parentsone
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
12 ความเชื่อเกี่ยวกับทารก ความยาวนิ้วบอกความฉลาด เด็กนิ้วนางยาวจะเก่งเลข
วินาทีที่ต้องบอกลาลูกของลิเดีย เมื่อต้องห่างลูกและความเข้มแข็งของคนเป็นแม่
วิธีการเลี้ยงลูกให้โตไปประสบความสำเร็จ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งผลอย่างไร