สิทธิบัตรทอง หรือ สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง/30 บาทรักษาทุกโรค) เป็นสิทธิตามกฎหมายที่รัฐบาลจัดให้คนไทยทุกคนตั้งแต่แรกเกิดและตลอดช่วงชีวิต ซึ่งผู้ใช้บัตรทองจะต้องลงทะเบียนไว้กับสถานพยาบาลที่ตนต้องการเข้ารับการรักษา โดยทั่วไปจะเลือกสถานพยาบาลใกล้บ้าน ล่าสุดได้ยกเลิกเก็บ 30 บาท ในกลุ่มประชาชนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ใช้สิทธิบัตรทองนอกพื้นที่
กรณีที่เจ็บป่วยฉุกเฉินซึ่งผู้ใช้สิทธิบัตรทองกับสถานพยาบาลอยู่คนละพื้นที่กัน สามารถใช้สิทธิบัตรทองแบบฉุกเฉินกับสถานพยาบาลนอกเขตพื้นที่ได้ค่ะ แต่ถ้าเจ็บป่วยทั่วไปและใช้สิธิข้ามเขต ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายยาเองทั้งหมด
สิทธิบัตรทอง ใช้สิทธิบัตรทองนอกพื้นที่ ประโยชน์จากบัตรทองมีอะไรบ้าง
ผู้ใช้สิทธิบัตรทอง จะได้รับการคุ้มครองเรื่องค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข (จ่ายค่าบริการและค่ายาครั้งละ 30 บาท) ตั้งแต่การตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การรักษา และการป้องกันโรค รวมถึงการคลอดลูก และการทำฟันด้วย ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าอาการและค่าห้องสามัญ ค่าการจัดส่งต่อ ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ และค่าบริการนวดแผนไทย ให้สำหรับคนทุกกลุ่มตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 60 ปีขึ้นไป
นอกจากนี้ คนท้องยังได้ประโยชน์จากการใช้สิทธิเพื่อป้องกันโรค ฟรี!! โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้ง 8 รายการ ดังนี้
- การฝากครรภ์
- ตรวจยืนยัน “โลหิตจางธาลัสซีเมีย” ในหญิงตั้งครรภ์และสามี
- ตรวจคัดกรอง “ดาวน์ซินโดรม” ในหญิงตั้งครรภ์ อายุ 35 ปีขึ้นไป
- ตรวจคัดกรอง “ภาวะพร่องฮอร์โมานไทรอยด์” ในเด็กแรกเกิด
- การป้องกัน “การยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย”
- การคุมกำเนิดกึ่งถาวร การใส่ห่วงอนามัย หรือฝังยาคุมกำเนิด ในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี
- บริการคุมกำเนิดกึ่งถาวร การใส่ห่วงอนามัย หรือฝังยาคุมกำเนิด ในหญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป กรณีหลังยุติการตั้งครรภ์
- การตรวจคัดกรอง “มะเร็งปากมดลูก”
ไม่เพียงแค่นั้น หญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์มากกว่า 4 เดือนขึ้นไป และเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ยังมีสิทธิได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล และยังสามารถใช้สิทธิการทำคลอดได้ไม่เกิน 2 ครั้ง
วิธีการสมัครบัตรทอง
- เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย
- มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
- ไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ ได้แก่ สิทธิตามกฎหมายประกันสังคม สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ / พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือ สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของหน่วยงานรัฐอื่นๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ข้าราชการการเมือง
นอกเหนือจากนี้ เด็กแรกเกิด ที่ไม่มีสิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการจากบิดามารดาก็สามารถได้รับสิทธิธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วยเช่นกัน
อยากสมัครบัตรทองต้องทำอย่างไร
- ลงทะเบียนด้วยตนเอง
- กรณีต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่ สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชน ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลของรัฐ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 – 12
- กรณีในกรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กทม. จุดรับลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่สำนักงานเขต 19 เขตของกรุงเทพมหานคร สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
- ลงทะเบียนทางโทรศัพท์
- ตรวจสอบสิทธิอัตโนมัติ โทร.1330 กด 2 ตามด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก กด # กดโทรออก
- หมายเหตุ : ค่าบริการโทรศัพท์มือถือตามโปรโมชั่น สำหรับโทรศัพท์พื้นฐาน (โทรศัพท์บ้านหรือตู้โทรศัพท์สาธารณะ) ครั้งละ 3 บาททั่วประเทศ
- ลงทะเบียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
- เว็บไซต์ สปปช.
- app สปสช.
**กรณี มีลูกอายุไม่เกิน 5 ปี พ่อแม่วามารถลงทะเบียนแทนได้
เอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียนบัตรทอง
- บัตรประจำตัวประชาชน ในกรณีที่ลูกอายุต่ำกว่า 15 ปี ถ้าให้ใช้ใบสูติบัตร หรือใบเกิดแทน
- หนังสือรับรองการพักอาศัย (กรณีที่อยู่ไม่ตรงตามบัตรประจำตัวประชาชน) พร้อมสำเนาบัตร
ประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าตนเองนั้นอาศัยอยู่จริง เช่น ใบเสร็จ
ค่าน้ำ ค่าไฟ สัญญาเช่าที่พัก ฯลฯ - แบบคำร้องขอลงทะเบียน (ขอได้ ณ จุดรับลงทะเบียน)
อยากย้ายสิทธิบัตรทองทำได้ไหม
ได้ค่ะ โดยการการขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ หรือ การย้ายสิทธิการรักษา สามารถทำได้ 4 ครั้งต่อปีงบประมาณ วิธีการคือต้องเตรียมหลักฐานเหมือนกับ เอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียนบัตรทองค่ะ
*ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และนำรูปภาพไปเผยแพร่ต่อไม่ว่าวิธีใด ๆ หากฝ่าฝืน ทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว
ที่มา: nhso
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
สิทธิบัตรทอง ปี 2562 เพิ่มสิทธิอะไรบ้างให้กับคนท้องและลูกน้อย เช็คเลย!
ตรวจดาวน์ ฟรี คนท้องอายุ 35 ปีขึ้นไป คัดกรองดาวน์ซินโดรมทุกสิทธิการรักษา