หลายท่านคงมีความเชื่อที่สืบทอดกันมาตามวัฒนธรรม และคุณแม่หลายๆ ท่านก็ยังยึดติด ความเชื่อ เหล่านั้น และความเชื่อก็อาจมีผลต่อการดำรงชีวิตด้วยเช่นกัน
ความเชื่อเกิดจากอะไร
ความเชื่อ
เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ความเชื่อเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิต สมัยก่อนการศึกษาน้อยจึงเกิดความเชื่อขึ้นมา และทำให้คนเชื่อหรือนับถือเทวดา พระเจ้า หรือผีปีศาจ ไม่ว่าจะเกิดภัยอะไร เช่น ฝนตก แผ่นดินไหว ภูเขาไฟ ต่างๆ ขึ้น ก็จะเกิดความเชื่อต่างๆของมนุษย์ ความเชื่อทำให้เกิดความสุขแก่ตนเอง ทำให้เกิดแนวปฏิบัติธรรมและศาสนา รวมถึงพิธีกรรมขึ้นด้วย
ความเชื่อ คือ การยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราไว้ใจ ไม่ว่าจะจับต้องได้หรือไม่ก็ตาม คนเชื่อในเรื่องของขลังเครื่องรางต่าง ๆ และยึดว่าของพวกนี้จะให้คุณและโทษแก่ตัวเอง เช่น ไสยสาสตร์ โหราศาสตร์ โชคลาง ผีสาง นางไม้ ความลี้ลับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ความเชื่อมีสาเหตุมาจากอะไร ?
สมัยก่อนยังไม่มีการแพทย์ที่ทันสมัยเท่ากับปัจจุบัน โอกาสการแท้งจึงสูงมาก คนสมัยก่อนจึงปฏิบัติตามความเชื่อที่ทำให้การคลอดนั้นปลอดภัย และความเชื่อนั้นก็ส่งทอดรุ่นสู่รุ่น
ประเภทของความเชื่อ
ประเภทความเชื่อ
ประเภทของความเชื่อตามแบบของสังคมไทย จากการศึกษาพบว่า สังคมไทยมีความเชื่อที่หลากหลาย หากจะแบ่งประเภท อาจแบ่งออกได้เป็น 7 ประเภทใหญ่ ดังนี้
- ความเชื่อเกี่ยวกับลัทธิและศาสนาเช่น เชื่อในเรื่องการทำสมาธิเพื่อรักษาโรค เชื่อในพลังอำนาจของพระเจ้า เชื่อในเรื่องนรก-สวรรค์ เชื่อในเรื่องบาป-บุญ ด่าพ่อแม่ชาติหน้าปากจะเท่ารูเข็ม เป็นต้น
- ความเชื่อเกี่ยวกับไสยศาสตร์ ผีสางเทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น เชื่อในเรื่องคาถาอาคม การทำเสน่ห์ การเสกตะปูเข้าท้อง การเสดาะเคราะห์ เชื่อในเรื่องผีบ้านผีเรือน ผีปอบ ผีแม่หม้าย หรือ เชื่อในเรื่องเครื่องรางของขลัง บั้นไฟพญานาค หรือสิ่งที่มีปาฏิหาริย์ต่างๆ
- ความเชื่อเกี่ยวกับโหราศาสตร์โหงวเฮ้ง และฮวงจุ้ย เช่น เชื่อในเรื่องของการดูดวงชะตา ดูลายมือ เชื่อในเรื่องบุคลิกลักษณะสัมพันธ์กับชีวิต หรือสิ่งแวดล้อมที่ทำงานและที่อยู่อาศัยสัมพันธ์การดำเนินชีวิต
- ความเชื่อเกี่ยวกับโชคลางและฤกษ์ยาม เช่น เชื่อในเรื่องของการไม่ตัดผมในวันพุธ การไม่เดินทางไกลถ้าจิ้งจกทัก หรือ การหาฤกษ์ยามสำหรับการทำงานมงคลต่างๆ
- ความเชื่อเกี่ยวกับความฝันและคำทำนายฝัน เช่น เชื่อว่าถ้าฝันว่าเห็นงู จะได้เนื้อคู่ ถ้าฝันว่าฟันหัก ญาติผู้ใหญ่จะเสียชีวิต ฝันเห็นคนตาย จะเป็นการต่ออายุ
- ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆ เช่น การแห่นางแมวขอฝน การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบุญต่างๆ
- ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทำและสิ่งที่ไม่ควรทำ เช่น ห้ามนอนหันหัวไปทางทิศตะวันตก เอาไม้กวาดตีกันชีวิตจะไม่เจริญ กินข้าวเกลี้ยงจานจะได้แฟนสวยหรือหล่อ ห้ามปลูกต้นลั่นทม ระกำ ไว้ในบ้าน ให้ปลูกต้นมะยม มีคนนิยมชมชอบ ปลูกขนุน จะทำให้มีผู้สนับสนุนค้ำจุน
ความเชื่อมีประโยชน์อย่างไร
- ความเชื่อทำให้เกิดความมั่นใจ
- ความเชื่อทำให้เกิดพลัง
- ความเชื่อทำให้เกิดการสร้างสรรค์
- ความเชื่อทำให้เกิดความสามัคคี
- ความเชื่อทำให้เกิดรูปธรรม
- ความเชื่อเป็นพื้นฐานให้เกิดปัญญา
- ความเชื่อทำให้การนับถือศาสนาได้อย่างมั่นคง
- ความเชื่อทำให้เกิดฤทธิ์ทางใจ
คุณแม่เชื่อเรื่องอะไรบ้าง
คุณแม่กับความเชื่อ
การเชื่อของคุณแม่นั้นแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะก่อนตั้งท้อง ระยะตั้งท้อง ระยะคลอด และระยะหลังคลอด
- ระยะก่อนตั้งท้อง
ก็ไม่พ้นกับการขอลูก บนบานศาลกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มากี่ทีก็ขอแต่เรื่องท้อง แต่ความจริงแล้วนั้นเป็นเรื่องของการทำการบ้านของคุณสามี และสุขภาพของคุณพ่อและคุณแม่มากกว่า แต่การที่บนศาลขอลูกก็ไม่ได้เสียหายอะไร เพราะการบนศาลก็เป็นตัวช่วยที่ทำให้คุณพ่อและคุณแม่สบายใจ
คุณพ่อคุณแม่บางท่านไปทำการรอดท้องช้าง เพราะตามความเชื่อนั้นได้บอกว่า การรอดท้องช้านั้นทำให้ลูกอายุยืนยาวขึ้น
- ระยะการตั้งครรภ์
พอมาถึงระยะของการตั้งครรภ์ก็มักจะมีเรื่องของการกินเข้ามาเกี่ยวข้อง คุณแม่บางคนก็ถูกห้ามไม่ให้กินเนื้อสัตว์ นม เพราะจะบาป บางความเขื่อบอกว่าการกินของที่มีสีดำ เช่าเฉาก๊วย ก็จะทำให้ลูกออกมาตัวดำได้เช่นกัน แต่ความจริงแล้วสีผิวขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและกรรมพันธ์ของแม่นะคะ
- การดื่มน้ำมะพร้าว
น้ำมะพร้าว
จะช่วยให้ผิวลูกเกลี้ยงและช่วยล้างไตตามตัว ถ้าพูดถึงตามหลักความเป็นจริงนั้น ไขตามตัวเด็กสร้างมาจากเซลล์ของเด็กและต่อมไขมันผิวหนัง ยิ่งอายุครรภ์มากไขตามตัวก็จะยิ่งมากตาม ๆ ไปด้วย และความจริงแล้วการที่ลูกมีไขตามตัวเยอะนั้น จะช่วยให้เด็กคลอดง่ายเพราะไขนี้เปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่นทาตัวเด็ก และไขที่ติดตามตัวเด็กเมื่อคลอดออกมาแล้วไขนี้จะช่วยปรับอุณหภูมิของลูกไม่ให้ต่ำเกินไป
ไม่ควรดื่มน้ำมะพร้าวตอนท้องเนื่องจากในน้ำมะพร้าวมีน้ำตาลและกรดไขมันอิ่มตัว เสี่ยงทำให้ลูกตัวโตแต่ไม่แข็งแรง และคุณแม่ก็อาจจะเป็นไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้
- ยาบำรุงเลือด
ยาบำรุงเลือด
คุณแม่หลายท่านไม่กินเพราะกลัวอ้วน กลัวรูปร่างเปลี่ยน ไม่เป็นคนจริง ยาบำรุงเลือดไม่ทำให้อ้วน ที่อ้วนมาจากสาเหตุคือ ฮอร์โมนจากการท้อง และการกิน การออกกำลังกาย และนอนหลับง่าย กินอาหารที่ทำให้อ้วนง่าย
การอัลตราซาวด์ มีความเชื่อเกี่ยวกับเพศของลูก ถ้าเป็นผู้หญิงผิวแม่จะเปล่งปลั่ง ถ้าคอแม่มีสีดำก็จะได้ลูกชาย ถ้าสะดือคว่ำได้ลูกสาว สะดือหงายได้ลูกชาย และมีความเชื่อที่ว่าอัลตราซาวด์ทำให้ลูกพิการได้ แต่จริงๆแล้ว เครื่องอัลตราซาวด์ไม่มีคลื่นเสียง ที่มีความถี่สูงมากแต่อย่างใด
- ระยะคลอด
เมื่อถึงเวลาคลอดสมัยก่อนก็จะเปิดประตู หรือ หน้าต่าง ไขลิ้นชักทั้งหมด ห้ามนั่งคาประตูหรือบันได เพราะถือเป็นเคล็ด แต่ในปัจจุบันด้วยเครื่องมือที่มีความทันสมัยขึ้นจึงไม่ค่อยเห็นการคลอดตามบ้านแล้ว ยกเว้นในชนบท
ความเชื่อที่ผ่าคลอด หรือคลอดตามฤกษ์ ลูกจะออกมาแข็งแรง เป็นคนเก่ง เพราะได้ฤกษ์ยามงามดีที่พระ หรือหมอดู ดูมาให้
ความเชื่อต่าง ๆ
ศาลพระภูมิ
วิถีความเชื่อโต๊ะบีแด
- หมายถึงหมอตำแยหรือบุคคลที่มีความชำนาญในการดูแลสุขภาพในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ระยะคลอดและหญิงหลังคลอดรวมถึงดูแลสุขภาพในกลุ่มเด็กเล็กโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาโดยเฉพาะจากบรรพบุรุษทางฝ่ายแม่ สำหรับหน้าที่หลักๆของโต๊ะบีแดนั้น จะเริ่มจากการดูแลหญิงตั้งแต่ตั้งครรภ์ การทำคลอด การทำความสะอาด การรักษาแผลด้วยใช้สมุนไพร การดูแลหญิงหลังคลอดใน ระยะอยู่ไฟ แนะนำการดูแลตนเองหลังคลอด วิธีการบำรุงครรภ์ การเร่งน้ำนม เป็นต้น ที่น่าสนใจก็คือ
โต๊ะบีแดถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งในเชิงพิธีกรรม เนื่องจากเป็นผู้รักษาไว้ซึ่งประเพณีวัฒนธรรม และภูมิปัญญาพื้นบ้านให้กับชุมชนสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
ความเชื่อของการติดเข็มกลัด
- ป้องกันการแท้ง เพราะเข็มกลัดเป็นตัวช่วยในการกลัดของเอาไว้ไม่ให้หลุดออกจากกัน การนำมาติดที่เสื้อผ้าของคนท้อง จึงเชื่อว่าจะช่วยกลัดไว้ไม่ให้เด็กหลุดออกมาหรือแท้งออกมานั่นเอง อีกทั้งยังช่วยให้เด็กมีสุขภาพที่แข็งแรง และมีความสมบูรณ์ครบถ้วนทุกประการอีกด้วย
- ป้องกันวิญญาณที่ต้องการไปเกิด ไม่ให้เข้ามาอยู่ในท้องแทนลูกน้อยของเรา ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมให้ติดเข็มกลัด เมื่อไปงานศพ ไปโรงพยาบาลหรือไปวัดนั่นเอง รวมถึงเมื่อต้องผ่านที่สำคัญๆ ที่เคยมีคนตายบ่อยๆ หรือที่ว่ากันว่าเป็นจุดตัวตายตัวแทน
- ป้องกันผีและสิ่งเร้นรับต่าง ๆ มาทำร้ายลูกของเรา โดยให้ติดเข็มกลัดไว้ที่ชุดคลุมท้อง บริเวณหน้าท้องพอดี
ห้ามคนท้องไปงานศพ และ เยี่ยมคนไข้อาการหนัก
- อาจจะเป็นเพราะคนโบราณไม่อยากให้คุณแม่ เจอเรื่องเศร้า หรือเรื่องไม่สบายใจ และป้องกันไม่ให้คุณแม่ไปสัมผัสกับเชื้อโรคต่างๆ ในโรงพยาบาล
ห้ามคนท้องดูการคลอดลูก
การคลอดลูก
- เนื่องจากไม่อยากให้คุณแม่ใจเสีย หรือกลัวการคลอดลูก เนื่องจากในสมัยก่อนการคลอดลูกค่อนข้างลำบาก
ห้ามคนท้องกินอาหารในหม้อขณะที่ยังไม่ได้ยกลงจากเตา
- เป็นความเชื่อที่ว่าไม่อยากให้คุณแม่เจ็บท้องนาน และคลอดลูกยาก แต่ความจริงนั้นเป็นเรื่องของมารยาทว่าควรนำอาหารมาใส่จานและกินจะดีกว่า
ห้ามคนท้องรอดรั้ว
- สมัยก่อนเชื่อว่ารั้วบ้านจะทำให้เกิดอันตรายได้
ห้ามคนท้องผ่ามะพร้าว
- เป็นความเชื่อที่จะทำให้ลูกเกิดมาหัวโต แต่ความจริงแล้วคือ อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุจากแรงเหวี่ยงได้
ห้ามคนท้องนอนหงาย
- โบราณบอกว่านอนหงายจะยิ่งทำให้ลูกดิ้นแรง แต่ความจริงแล้วการที่คุณแม่นอนหงายเมื่อมีครรภ์ที่โตขึ้น อาจจะทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัด
ห้ามคนท้องทักทายคนที่จะไปทำงาน
- ในที่นี้ คือ การทำงานที่ทำมาหากิน ค้าขาย ประมง เพราะเชื่อว่าเมื่อคนท้องไปทักจะทำให้อับโชค ค้าขายไม่ขึ้น
ที่มา : positivesensei , stou
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คนท้องห้ามนั่งบันได ความเชื่อคนท้องนั่งขวางบันไดคลอดลูกยากจริงหรือไม่?
มีใครอยากรู้บ้างว่า คนท้องดูดวงได้ไหม การตั้งครรภ์กับความเชื่อ สายมูเตลูต้องรู้
ความเชื่อเรื่อง ‘สีเสื้อมงคลประจำวัน’ ใส่เสื้อผ้าตามสีประจำวันแล้วโชคดี จริงไหม?