สอนลูกยังไงให้ไม่เหยียด กรณีศึกษาจากดราม่า #Ummก็สวยอยู่

สอนลูกยังไงให้ไม่เหยียด กรณีศึกษาจากดราม่า #Ummก็สวยอยู่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

          สอนลูกยังไงให้ไม่เหยียด คุณแม่จะบอกลูงยังไงให้ไม่ดูถูกและเคารพผู้อื่น เป็นประเด็นร้อนแรงในโลกโซเชียล เพียงแค่ข้ามคืน ประเด็นดราม่าร้อนแรง ผ่านแฮชแท็ก #Ummก็สวยอยู่ จนเป็นที่พูดถึงในทุกสื่อ หลังจากรายการ Umm ก็สวยอยู่ รายการใหม่บนช่องยูทูปได้ปล่อย EP.1 ซึ่งมีคอนเทนต์เรื่อง “เรื่องความสวยที่อยากถามคนสวย”ซึ่งเนื้อหาในวีดีโอเป็นการถกถามกันในประเด็น เกี่ยวกับ รูปร่างและหน้าตา เรื่องการทำศัลยกรรม และประเด็นร้อนแรงที่สุดเห็นจะหนีไม่พ้น เรื่องของ LGBTQ ซึ่งในวีดีโอ มีการใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมเป็นในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ และการสื่อสารนั้นค่อนข้างเป็นประเด็นอ่อนไหวที่กระทบต่อความรู้สึกของผู้คนในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะประเด็น LGBTQ ส่วนหนึ่งเป็นการวิพากษ์วิจารณ์รูปลักษณ์ภายนอกและบางประเด็นกระทบต่อสิทธิเสรีภาพทางเพศ

รายการที่เป็นกระแส

          แต่ต่อมาทางทีมงาน Umm ก็สวยอยู่ ก็ได้ออกมาชี้แจง พร้อมกับกล่าวขอโทษ ในการนำเสนอคอนเทนต์ดังกล่าว  ระบุว่า รายการ เป็นส่วนหนึ่งของละครวิทยานิพนธ์ ภาควิชาสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งยังได้รับคำวิพากวิจารย์อยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำวิทยานิพนธ์หรือไม่ก็ตาม เพราะเนื้อหาได้ทำการเผยแพร่ไปแล้วและกระทบกับความรู้สึกคนบริโภคสื่อโดยตรง สิ่งที่เกิดขึ้นคือคนไม่เห็นด้วยกับการทำรายการในเนื้อหานี้เป็นอย่างมาก อยากให้ยุติ จึงทำให้เห็นว่า ในยุคที่ใครๆก็ทำสื่อออนไลน์แต่ถ้าไม่วิเคราะห์ผลลัพธ์ุที่ตามมาให้ดี ก็ย่อมมีผลเสียมากกว่าดีตามมา เห็นได้ชัดว่า สื่อออนไลน์ในยุคสมัยนี้มีผลอย่างมาก

ประกาศขอโทษจากทีมงาน

จากกรณีศึกษาดังกล่าว ในฐานะคนเป็นแม่ ที่มีลูกน้อยและอาจยังไม่เข้าใจในเรื่องนี้มากนัก แต่ความคิด ทัศนคติ สอนลูกยังไงให้ไม่เหยียด ควรจะปลูกฝังกันตั้งแต่ยังเด็ก วิธีสอนลูกตั้งแต่เด็ก สอนลูกยังไงไม่ให้เหยียด ไม่ว่าจะเรื่องเพศหรือเชื้อชาติ สอนลูกให้เคารพผู้อื่นและไม่ให้ดูถูกคนอื่น ไม่ว่าจะในกรณีใดก็ตาม ถ้าไม่อยากให้ลูกเราเป็นคนแบบไหน ต้องหมั่นสอน อบรม ตั้งแต่ลูกยังเด็ก ถือเป็นการปูทางทางความคิดตั้งแต่เด็กค่ะ

โดยสิ่งที่เราสามารถปลูกฟังลูกได้นอกจากคำสอน แต่ควรเริ่มต้นปฎิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเห็นโดยการเริ่มต้นที่…. ตัวของพ่อแม่เอง เนื่องจาก ลูกจะเลียนและเรียนรู้จากพฤติกรรมท่าทางคำพูดของพ่อแม่ รวมทั้งทางตรงและทางอ้อมค่ะ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ปรับความคิดตัวเองให้ได้ก่อน ก่อนที่จะไปแนะนำลูก ควรตรวจาอบความคิดของเราให้ดีก่อนว่าเรามีความคิดที่ถูกต้องหรือยังและมีความเคารพผู้อื่นผ่านทางการกระทำและคำพูดแล้วหรือยัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สอนลูกยังไงให้ไม่เหยียด

ถ้ากล่าวคร่าวๆเมื่อเราเป็นแบบอย่างที่ดีแล้วนั้น สิ่งที่สามารถทำได้ในชีวิตประจำวันหลักๆดังนี้

  • ปลูกฝังให้ลูกน้อยเห็นถึง “ความต่าง” ทางสรีระ ทางกายภาพของแต่ละคนทั้งทางเพศและทางความคิดความรู้สึก ของเพศแต่ละเพศรวมถึง LGBTQ  ว่าเป็นเรื่องธรรมชาติเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดความรักได้ในหลายรูปแบบค่ะ
  • ยังสามารถปลูกฝังและสอนให้เขาเห็น “ความไม่ต่าง” ในการใช้ชีวิตในแต่ละวันตามความเหมาะสมของแต่ละเพศ และสอนให้เห็นถึงหน้าที่และการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย
  • และสิ่งสุดท้ายและสำคัญมากคือการ สอนให้ลูกเห็นถึง “ความเท่าเทียม” จาก “ความต่าง”นั้น ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ทุกคนมีสิทธิในความคิดทางการเลือกที่เท่าเทียมกันและให้พื้นที่ลูกๆ เปิดรับในการเลือกไม่ว่าจะในรูปแบบไหนก็ตาม สุดท้ายเพื่อให้เกิดความเห็นอกเห็นใจ มิใช่การล้อเลียนในความแตกต่างค่ะ
  • อีกหนึ่งสิ่งคือในระหว่างดูข่าวหรือรับชมสื่อต่างๆควรร่วมดูไปพร้อมกับลูกๆและอธิบายไปพร้อมกัน หรือนอกจากนั้น พาเขาไปทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับสังคมสังคม หรือ งานจิตอาสา ทำกิจกรรมร่วมกับด้อยโอกาสกว่าเรา เพื่อให้มีความเห็นอกเห็นใจ รวมถึงได้เห็นคนหลากแบบ เพื่อเกิดการเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ และเข้าใจการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเท่าเทียมกันค่ะ

โดยสิ่งที่เป็นจุดเล็กๆที่ผู้ใหญ่อาจมองข้าม คือการใช้คำพูดที่คิดว่าไม่เป็นไร และอาจเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่เด็กๆหรือลูกน้อย เช่นคำทักทาย หรือการติชมวิจารย์รูปลักษณ์ภายนอก เป็นสิ่งที่ต้องระวังและแก้ไขและสอนลูก ทันที เช่นมีประโยคหรือการกระทำใดที่บ่งถึงการ ไปเหยียด คนอื่น เช่น ชี้นิ้วว่าคนนั้นคนนี้ผอมคนนี้อ้วน หรือพูดเรื่องผิว ว่า ดำ ก็ไม่ควรนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกอยู่ร่วมสังคมได้ดี

มาทำความรู้จักการเหยียดในบ้านเรามีมานานมากในสังคมไทยสามารถแบ่งได้ดังนี้ค่ะ ที่เห็นชัดและเกิดขึ้นบ่อยในบ้าน

  1. การเหยียดสีผิว รูปลักษณ์ภายนอก

การเหยียดที่มีพื้นฐานมาจากค่านิยมที่มองว่ารูปร่างที่ดี สีผิวที่ดีควรเป็นเช่นไร ลักษณะภายนอก รูปร่าง สีผิว รูปร่างต้องผอมบาง หรือหน้าอกต้องใหญ่  ผู้ชายต้องมีกล้าม มีซิกแพคให้เห็น ถึงจะถูกต้อง ตรงนี้ต้องระวัง เพราะทุกคนมีความสวยในแบบของตัวเองเสมอค่ะ หรือหุ่นแบบนี้ นำไปเปรียบเทียบกับอีกแบบ หรือแม้กระทั้งไปเหมารวมว่าหุ่นแบบนี้เหมือนสิ่งไหน เช่นค่านิยม อ้วนหัวล้าน เหมือนกับขุนช้างสมัยก่อน นำไปแสดงเป็นตัวตลก ซึ่งไม่ควรทำแบบนั้น เพราะ เมื่อเด็กๆ ได้ซึมซับสิ่งต่างๆ เหล่านี้มากๆ เข้า ก็จะเกิดเป็นค่านิยมความคิด ที่สืบทอดต่อๆ กันมา และส่งผลให้ มักได้ยินคำพูดล้อเลียนในกลุ่มเด็กด้วยกันประมาณว่า อ้วนเป็นหมู , ดำเป็นอีกา, ผมหยิกเป็นฝอยขัดหม้อ ผอมเป็นกุ้งแห้ง และอื่นๆ ซึ่งเราอาจจะได้ยินกันมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งเป็นไปได้ควรปลูกฝังลูกๆตั้งแต่เด็ก เพราะเช่นกันเราไม่อยากให้ใครมาล้อลูกเราแบบนี้เราก็ควรจะสร้างความคิดเชิงบวกและสิ่งที่ถูกต้องให้กับลูกของเรา และลูกเราก็จะไม่มีนิสัยไปล้อแบบนี้กับเพื่อนหรือกับใครค่ะ

     2.การเหยียดเพศ ซึ่งเป็นเรื่องอ่อนไหวในปัจจุบัน

เนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ดังนั้นเพศจึงมีมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่ต้องปลูกฝังลูกน้อยคือความคิดของเรื่องความรักเป็นหลัก เพราะไม่ว่าจะเพศไหน ๆ ทุกคนย่อมอยากมีความรักที่ดี ซึ่งความรักจะมาได้หลายรูปแบบ พื้นฐานจากความรู้สึกเป็นมิตร รู้สึกดีกับใครคนหนึ่ง โดยที่ไม่ได้สำคัญที่เพศ เพียงแค่มีความรักความปรารถนาดีต่อกันเป็นพื้นฐาน แต่เรื่องการเหยียดเพศ ยุคสมัยบางครอบครัวไม่ได้เสรีมากพอ ก็ยังพอพบเห็นอยู่บ้าง ในสังคมไทย และก็ยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยยังคงมีค่านิยมมาจนถึงทุกวันนี้ ถ้าเปรียบกับคำสอนโบราณ ที่มองความสำคัญให้กับผู้ชายมีอำนาจมากกว่าหญิงมาแต่ช้านาน  เห็นได้จากสำนวน “ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง” สื่อถึงการมองว่าเพศชายอยู่เหนือกว่าเพศหญิง ทั้งที่จริง ๆ แล้วผู้หญิงบางคนอาจมีความสามารถมากกว่าผู้ชายด้วยซ้ำ เพียงแต่เธอไม่มีโอกาสได้แสดงมันออกมา หรือถูกปิดกั้นด้วยค่านิยมนี้ค่ะ จึงต้องแสดงให้ลูกเห็นภายในครอบครัว ว่ามีความเท่าเทียบระหว่างคุณพ่อคุณแม่ และหน้าที่แต่ละท่านมีความรับผิดชอบอย่างไร โดยที่ในโลกอนาคตย่อมมีความแตกต่างทางเพศมากขึ้นกว่าปัจจุบัน ยิ่งลูกมีความคิดเริ่มต้นที่ดีเป็นพื้นฐาน ทำให้โตขึ้นไปจะไม่มีความคิดในการดูถูกล้อเลียน หรือมองเรื่องเพศเป็นเรื่องน่าอาย ถ้ามีความเข้าใจในความแตกต่าง มองเป็นสิ่งธรรมชาติและความรักเป็นสิ่งสวยงามไม่ว่าเพศใด ย่อมเกิดผลดีในอนาคต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความแตกต่างทางเชื้อชาติ

      3.การเปรียบเทียบลักษณะทางเชื้อชาติและการเหยียดเชื้อชาติ

ประเด็นนี้อาจพบเห็นได้บ่อยจาก การแปลงและตีความ จากประเทศเพื่อนบ้านรอบๆประเทศของเรา โดยนำมาพูดกันสนุกปาก แต่จริงๆแล้วเป็นผลเสียซะมากกว่าค่ะ เพราะเชื้อชาติใคร ใครก็รักจริงไหมค่ะ ไม่ว่าเกิดในประเทศใดทุกคนย่อมภูมิใจในประเทศตนตามพื้นฐานความรู้สึกในแต่ละบุคคล บางครั้งพบเห็นบ่อยในการเอาลักษณะที่ถูกตีความทางเชื้อชาติ มาแปลงเป็นข้อเสียใหญ่ และให้ความหมายแบบเหมารวมว่าคนที่ทำแบบนี้ เชื้อชาตินี้ อาศัยอยู่ที่นี่จะต้องมีเป็นแบบนี้ไปซะหมด เช่น พูดเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ลาว, เจ๊ก, แขก, ไอ้มืดเป็นต้น ซึ่งตรงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังส่วนนนี้ด้วยนะคะ เพราะลูกอาจซึมซับไปไม่รู้ตัวและมองว่าเป็นเรื่องปกติ เมื่อเค้าเติบโตขึ้น อาจติดนิสัยบางอย่างในการกดคนอื่นและใช้คำพูดดูถูกคนอื่นได้ ดังนั้นควรปลูกฝังความคิดเรื่องความเท่าเทียมแต่ละเชื้อชาติเช่นกันค่ะ

จริงๆแล้ว ยังมีการพูดเหยียดอีกหลายประเภท โดยบางทีอาจเกิดขึ้นตามสถานการณ์ หรือเหยียดเพื่อสร้างเสียงหัวเราะสร้างความบันเทิง เหยียดโดยไม่เจตนา เพราะถูกสิ่งเร้าภายนอกจนเกิดความเคยชินหรือสนุกปาก  แล้วบางครั้งการเหยียดก็อาจจะไม่ได้เกิดจากความคิดของตัวเอง แต่เกิดจากทำตามๆ กัน จนกลายเป็นพฤติกรรมที่มองว่าเป้นเรื่องปกติใครๆก็ทำกัน ถ้ามองลึกลงไปอีก อาจจะพบว่าการที่คนเราต้องการเหนือกว่าคนอื่น อาจเป็นเพราะต้องการลบจุดด้อยของตนเอง ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการป้องกันตนเองทางจิตใจของมนุษย์ก็เป็นไปได้ ตรงนี้ต้องระวังค่ะ

ซึ่งข้อควรระวังสำหรับคุณพ่อคุณแม่ แน่นอนว่าพ่อแม่ย่อมอยากให้ลูกของตัวเองเป็นเด็กเก่ง แต่อาจไม่ใช่ทุกครอบครัวที่อยากให้รู้เป็นเด็กที่เก่งกว่าคนอื่น บางครอบครัวปลูกฝังให้ลูกต้องเก่งกว่าคนอื่น หารู้ไม่ว่าพ่อแม่ก็เป็นส่วนหนึ่งของการปลูกฝังเรื่องการ “เหยียด” ให้กับลูกโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น พ่อแม่ปลูกฝังเรื่องการแข่งขันให้ลูกตั้งแต่เด็ก ต้องชนะเท่านั้น คนที่แพ้คือคนที่ด้อยค่า ไม่มีคนรัก จริงแล้วเรื่องราวทำนองนี้ วนเวียนมาโดยตลอดทุกยุคสมัย และถูกละเลยทำให้มองเป็นเรื่องเล็ก ๆ โดยหารู้ไม่ว่าเด็ก ๆ ซึมซับอยู่ทุกวี่วัน

ถ้าไม่อยากให้เกิดการเปรียบเทียบควรให้ลูกเปรียบเทียบและแข่งขันกับตัวเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุด เช่น ให้ลูกน้อยทำ Small Win ในแต่ละวัน เพื่อให้เค้าได้รับความสำเร็จเล็กๆน้อยๆในแต่ละวัน เพื่อให้เค้ารุ้ว่าตัวเค้ามีการพัฒนา เก่งขึ้นในทุกวัน และเก่งกว่าตัวเองในเมื่อวาน ตรงนี้จะช่วยได้ ทำให้เค้าไม่เกิดการเปรียบเทียบกับคนอื่น และอาจนำไปสู่การอิจฉาริษยานั่นเองค่ะ

 อีกสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ยุคนี้ควรใส่ใจคือการรู้เท่าทันสื่อ ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป จากเมื่อก่อนมาสู่ยุคออนไลน์ในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่หลายครอบครัวกังวลสิ่งนี้ เพราะบางครั้งลูกน้อยดูสื่อบางประเภทโดยไม่ได้มีคุณพ่อคุณแม่อยู่ใกล้ๆ และเชื่อถือว่าสื่อนั้นถูกต้องและปฎิบัติตาม สื่อออนไลน์รวดเร็วทันใจแต่มักเป็นดาบสองคม เพราะด้วยความไวหรือการกรองที่ไม่มาก บวกกับทุกคนมีสื่อของตัวเองผลิตสื่อได้ง่ายๆ จึงมีความคิดเห็นที่หลากหลายแฝงมายังสื่อ แต่ก็ใช่ว่าสื่อหลักจะคัดกรองและถูกเสมอเช่นกัน ในยุคที่โลกเปลี่ยนไป ดังนั้นขอให้ปลูกฝังลูกน้อยในการคิดวิเคราะห์ไว้เป็นพื้นฐาน อย่าเชื่อในครั้งแรก รวมถึงถ้าคุณพ่อคุณแม่มีโอกาสได้เสพย์สื่อพร้อมกับลูกน้อยก็ควรถามตอบ ตั้งคำถามเพื่อทราบความคิดเห็นของลูกๆเสมอนะคะ

ที่มา :mgronline

บทความประกอบ :  การแบ่งหน้าที่ช่วยเหลือกันในครอบครัว แบ่งอย่างไร พ่อแม่ลูกมีหน้าที่อะไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Thippaya Trangtulakan