วัคซีนสำหรับทารก วัคซีนเด็ก ปี 2564 ตารางการวัคซีน ลูกต้องฉีดตัวไหนบ้าง

วัคซีนสำหรับทารกต้องฉีดวัคซีนตัวไหนบ้าง ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทย 2562 วิธีดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกน้อยโดยเฉพาะวัยทารกเป็นวัยที่ภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่าง ๆ ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่และต้องได้รับการฉีดวัคซีนจำเป็นพื้นฐานรวมถึงวัคซีนเสริมหลายชนิดด้วยกัน เมื่อพาลูกไปรับวัคซีนคุณพ่อคุณแม่อาจมีข้อสงสัยมากมาย วันนี้หมอได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่มักสงสัยกันเกี่ยวกับ วัคซีนสำหรับทารก

 

 

ตารางการให้วัคซีนเด็กไทย วัคซีนสำหรับทารก ประจำปี 2564

มาแล้ว ตารางการให้วัคซีนเด็กไทยประจำปี 2564 แนะนำโดย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย เช็กเลย!

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ดาวน์โหลดภาพเต็มได้ที่  : ตารางฉีดวัคซีนเด็ก 2564

 

วิธีดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน

1. ผื่นขึ้น

หลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโรค เช่น วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม และอีสุกอีใส อาจทำให้เกิดอาการแพ้ ควรให้ลูกสวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี หากผื่นที่ขึ้นไม่หาย อาจไม่ใช่สาเหตุจากการฉีดวัคซีน เพราะอาการมักหายไปเองภายใน 2-3 วัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. ปวด บวม แดง

หากลูกมีอาการบวมหรือแสดงอาการปวด (ร้องโยเยมาก) ให้คุณแม่ประคบด้วยน้ำแข็ง อาการนี้จะหายไปภายใน 1-3 วัน แต่หากบริเวณที่บวมแดง เป็นไตหรือเป็นแผล ลูกขยับแขนข้างที่ฉีดวัคซีนได้น้อยลงหรือไม่ขยับแขน อาจเกิดการติดเชื้อจนเป็นตุ่มหนอง ต้องพาลูกไปพบคุณหมอ

 

3. มีไข้

ใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดพอหมาด ๆ เช็ดตัวลดไข้ บริเวณซอกคอ ข้อพับต่าง ๆ เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย อาการไข้ก็จะดีขึ้นและหายไปภายใน 2-3 วัน ถ้าไข้ยังสูง ไม่ยอมลด ต้องพบแพทย์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. งอแง ร้องไห้

เวลาที่เจ้าตัวเล็กงอแง ร้องไห้ แม่ต้องใจเย็น ใช้วิธีปลอบโยนลูก เช่น เบี่ยงเบนความสนใจด้วยการพาไปเดินเล่น ร้องเพลง หรือเปิดเพลงให้ลูกฟัง เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี การโอบกอดอุ้มลูกโยกตัวไปมาเบา ๆ เพื่อช่วยสร้างความอบอุ่น สบายใจ

 

5. ชัก

ถ้าลูกมีไข้สูงมาก ๆ อาจทำให้เกิดอาการชัก แม่ควรปฏิบัติดังนี้ * จับลูกนอนตะแคงหน้า เพื่อป้องกันการสำลักหรือลิ้นไปอุดทางเดินหายใจ *ไม่นำของแข็ง เช่น นิ้วมือ ช้อน ฯลฯ ใส่ปากลูก เพราะจะทำให้สำลักมากขึ้น และรีบพาลูกไปพบคุณหมอทันที * ระหว่างเดินทางถ้าลูกมีไข้ ตัวร้อน ควรเช็ดตัวเพื่อลดความร้อนให้มากที่สุด

 

6. ฝี

มีลักษณะเป็น ๆ ยุบ ๆ อยู่ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ก็จะหายไปไม่จำเป็นต้องใส่ยา หรือทายาปิดแผล หากฝีเกิดแตกเอง สามารถใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดทาเช้า-เย็น จนกว่าฝีจะแห้ง และควรระวังไม่บีบ ไม่กด หรือทำอะไรกับฝี เพราะอาจเกิดการติดเชื้อ หากเกิดติดเชื้อ ฝีอักเสบ ต้องรีบไปพบคุณหมอ

 

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวัคซีนของลูกน้อย

คงไม่ใช่เรื่องแปลกหากต้องพาลูกไปฉีดวัคซีน แต่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหา หรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยได้ เช่น เลยกำหนดการฉีดวัคซีน หรือการป่วยหลังรับวัคซีนไปแล้ว เป็นต้น ซึ่งคำถามที่เกี่ยวกับวัคซีนเด็กนั้นเรามีคำตอบให้คุณพ่อคุณแม่สบายใจกันอย่างแน่นอน

 

หากไม่ได้พาลูกมารับวัคซีนตามกำหนดอะไรนัดในช่วงวัยต่างๆ ควรทำอย่างไร?

หากลูกน้อยไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามกำหนดที่คุณหมอนัด คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปรับวัคซีนทันทีที่นึกได้และลูกมีสุขภาพแข็งแรง สบายดี ไม่มีอาการเจ็บป่วยใด ๆ ทั้งนี้ หากขาดการฉีดวัคซีนตามกำหนดในเข็มใด ลูกสามารถรับวัคซีนในเข็มต่อไปได้เลย ไม่จำเป็นต้องตั้งต้นนับเข็มแรกใหม่ เช่น ลูกฉีดวัคซีนคอตีบบาดทะยักไอกรนและโปลิโอ เข็มที่ 1 แล้ว แต่เลยกำหนดฉีดเข็มที่ 2 ไป 1 เดือน ก็สามารถฉีดเข็มที่ 2 ต่อไปได้เลยไม่ต้องเริ่มนับเข็มที่ 1 ใหม่นะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากลูกมีไข้ไม่สบาย จะสามารถมารับวัคซีนตามนัดได้หรือไม่?

  • หากช่วงที่คุณหมอนัดมารับวัคซีน ลูกมีอาการเจ็บป่วยไม่รุนแรง เช่น มีอาการหวัด คัดจมูก มีน้ำมูกใส ๆ หรือมีผื่นคันนิดหน่อย ก็สามารถพาลูกมารับวัคซีนได้
  • แต่หากลูกมีไข้ หรือมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง เช่น มีผื่นแดงขึ้นทั้งตัว ก็ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปจนกว่าจะหายป่วยดีแล้ว

เพราะการฉีดวัคซีนเองนั้นก็อาจทำให้ร่างกายของลูกเกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ เช่น มีไข้ขึ้น แล้วทำให้อาการเจ็บป่วยรุนแรงมากขึ้นได้ หมอแนะนำว่า ให้หายป่วยดีก่อนนะคะ แล้วค่อยมาฉีดวัคซีนวันหลัง ข้อสำคัญคือรีบมาทันทีที่หายป่วยจะได้ไม่ลืมค่ะ

 

เพราะเหตุใดฉีดวัคซีนแล้วยังป่วยเป็นโรคได้?

คำถามนี้หมอได้รับบ่อยมาก ๆ ในฤดูที่ไข้หวัดใหญ่ระบาด และผู้ป่วยหลาย ๆ คนฉีดวัคซีนแล้วค่ะ ความจริงคือไม่ว่าวัคซีนชนิดใดก็ไม่สามารถป้องกันโรคได้ 100%ทั้งนี้ เมื่อฉีดวัคซีนแล้วไม่ได้หมายความว่าจะไม่เป็นโรคนั้นแน่นอน แต่ก็ช่วยลดโอกาสในการเป็นโรคนั้น ๆ และลดความรุนแรงของโรคลงได้ โดยทั่วไปวัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน มักจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้สูงถึง 80-90% ขึ้นไปนะคะ

บทความที่น่าสนใจ : วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ทารก พ่อแม่ควรทำอย่างไรไม่ให้ลูกเป็นเด็กป่วยง่าย

 

 

วัคซีนสำหรับทารก ตัวไหนมักมีอาการข้างเคียง

  • วัคซีนป้องกันวัณโรค (บีซีจี) อาจมีตุ่มนูน เป็นหนองขนาดเล็ก บริเวณที่ฉีดหลังฉีดประมาณ 2-3 สัปดาห์
  • วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน มีไข้ และอาจเกิดอาการชัก มักเกิดขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง หลังรับวัคซีน
  • วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ อาจมีอาการอ่อนแรง หรือมีอาการอัมพาต แต่พบได้น้อยมากและหายเองได้
  • วัคซีนป้องกันโรคหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม มีไข้ และผื่นบวมแดงบริเวณที่ฉีด หลังได้รับวัคซีน 5-7 วัน
  • วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส มีไข้ ปวดบริเวณที่ฉีดและอาจมีผื่นขึ้น
  • วัคซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีไข้ต่ำ ๆ ปวดบริเวณที่ฉีดและอาจมีผื่นขึ้น

 

บทความที่น่าสนใจ : 

ลูกกลัวเข็ม เห็นกี่ทีก็ร้องไห้งอแง แก้ปัญหาเรื่องนี้ยังไงดี?

ลูกฉีดวัคซีน ไข้ขึ้น ทำยังไง วัคซีนตัวไหนทำให้เกิดไข้บ่อยสุด

แม่ไม่สบายให้นมลูกได้ไหม ถ้าลูกเข้าเต้าตอนเราป่วยลูกจะป่วยไหม?

 

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนเด็ก ได้ที่นี่!

วัคซีนเด็ก ลูกต้องฉีดตัวไหนบ้างคะ แล้วมีวิธีดูแลลูกหลังฉีดวัคซีนยังไงบ้างคะ

ที่มา : สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

บทความโดย

Tulya