สายสะดือพันคอทารก จะรู้ได้อย่างไร ?

ทารกและแม่ท้องเชื่อมโยงชีวิตซึ่งกันและกันผ่านสายสะดือ ที่เป็นเสือนท่อลำเลียงอาหารและอากาศสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ ถ้าหากสายสะดือนั้นกลับไม่ได้ทำหน้าที่ของมันแล้ว แต่กลับทำให้ทารกได้รับอันตรายด้วยภาวะสายสะดือพันคอทารกจะทำอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รู้ได้อย่างไร สายสะดือพันคอทารก สายสะดือพันคอทารกเกิดขึ้นได้อย่างไร บทความนี้มีคำตอบค่ะ

สายสะดือ คืออะไร

คำว่า สายสะดือ สำหรับแม่ตั้งครรภ์บางคนอาจมีข้อสงสัยว่าคืออะไรกันแน่ สายสะดือคือ รก ใช่หรือไม่ “สายสะดือ” คือ สิ่งที่เชื่อมต่อระหว่างทารกและรกไว้ด้วยกัน หลัก ๆ สายสะดือประกอบด้วยเส้นเลือดสำคัญ 3 เส้น ได้แก่

  • เส้นเลือดดำเส้นใหญ่ที่ทำหน้าที่สำคัญในการส่งอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกในครรภ์
  • ส่วนเส้นเลือดอีก 2 เส้นนั้น เป็นเส้นเลือดแดง มีหน้าที่หลัก คือ ลำเลียงของเสียออกจากร่างกายของทารก

ตามปกติแล้วสายสะดือมักจะมีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ซึ่งแต่ละคนจะมีความยาวของสายสะดือที่แตกต่างกันอาจจะสั้นหรือยาวกว่านี้ก็ได้ แต่ไม่มีผลเสียต่อทารกนะคะ และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร สายสะดือจะขดไปขดมาปะปนอยู่รอบ ๆ ตัวทารกในครรภ์

 

สายสะดือพันคอทารกเกิดขึ้นได้อย่างไร

ตามปกติแล้ว ทารกอาศัยอยู่ในถุงน้ำคร่ำและจะมีการเคลื่อนไหวไปมา สังเกตได้ คือ ลูกดิ้น การเคลื่อนไหวไปมาของลูกนี้เองอาจส่งผลให้สายสะดือเข้าไปพันรอบคอ ซึ่งปกติหากอายุครรภ์ยังน้อย ๆ ทารกยังมีพื้นที่ให้เคลื่อนไหวได้สะดวก

เมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ทารกมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงขึ้นทำให้การเคลื่อนไหวไปมาทำได้รวดเร็วเร็วขึ้น เรียกว่า หกคะเมนตีลังกาก็ว่าได้ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ไปเกี่ยวพันกับสายสะดือ เมื่อลูกยังดิ้นอยู่เรื่อย ๆ ทำให้เกิดการพันแล้วหลุดได้ น้อยครั้งค่ะที่จะพันแน่น แต่ถ้าเกิดกรณีสายสะดือพันคอทารก

สายสะดือพันคอทารกมีผลอย่างไร

สายสะดือพันคอทารกในกรณีที่ทำให้เกิดอันตราย คือ เกิดภาวะขาดออกซิเจนในรายที่สายสะดือพันคอจนแน่นทำให้หลอดเลือดที่อยู่ภายในสายสะดือถูกกดทับ เลือดจึงไม่สามารถไหลผ่านได้อย่างสะดวก ทำให้ทารกได้รับออกซิเจนน้อยลงกว่าเดิม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

รู้ได้อย่างไร สายสะดือพันคอทารก

ในช่วงครรภ์แก่ คุณแม่ควรนับลูกดิ้นเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของลูกน้อยในครรภ์ โดยเฉพาะเมื่อตั้งครรภ์ได้ 32 สัปดาห์ ระหว่างนี้จะเป็นช่วงที่คุณแม่สังเกตการดิ้นของลูกได้ง่ายที่สุด หากนับการดิ้นแล้วสังเกตว่าลูกดิ้นน้อยลง ควรรีบไปพบคุณหมอ เพื่อวินิจฉัยสายสะดือพันคอด้วยวิธีการตรวจอัลตราซาวนด์

  1. หากตรวจพบว่า ทารกมีความเสี่ยงสายสะดือพันคอ คุณหมอมักจะนัดไปตรวจครรภ์ถี่ขึ้น และสังเกตการดิ้นของทารกอยู่เสมอ ไม่จำเป็นต้องผ่าคลอดทันทีเสมอไป
  2. การผ่าคลอดทันที หากตรวจพบสายสะดือพันคอทารก คือ สายสะดือพันคอนั้นรั้งแน่น จนทำให้เลอืดไปเลี้ยงสมองและอาจส่งผลต่อการขาดออกซิเจน ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ แบบนี้จึงจะทำการผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน
  3. สายสะดือพันคอทารก บางกรณีอาจคลอดปกติได้ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดคลอด
  4. เน้นย้ำ คุณหมอจะวินิจฉัยสายสะดือพันคอทารกได้จากการอัลตร้าซาวด์ หากพบว่า สายสะดือพันคอทารกทำให้คุณหมอต้องนัดตรวจครรภ์ถี่ขึ้น และคุณแม่เองต้องนับการดิ้นของทารกอยู่เสมอ ซึ่งหากดิ้นน้อยลงคุณหมอจะต้องทำการรวจการเต้นของหัวใจเสมอ

หากพบว่าการเต้นของหัวใจผิดปกติ นั่นหมายถึง ภาวะการขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์ กรณีเช่นนี้คุณหมอต้องทำการผ่าตัดคลอดอย่างเร่งด่วนเพื่อความปลอดภัยของทารก หากคลอดมาแล้วอย่างปลอดภัย รับรองได้ค่ะว่า ลูกน้อยจะมีพัฒนาการและสุขภาพเหมือนกับเด็กปกติทั่วไป คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อคิดสะกิดใจ

รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ ภาควิชาสูติศาสตร์ -นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ให้ข้อคิดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์สรุปได้ดังนี้ การตั้งครรภ์และการคลอด เป็นกลไกธรรมชาติ ส่วนมากการคลอดโดยเฉพาะการคลอดแบบธรรมชาติจะจบลงด้วยดี คือ ปลอดภัยทั้งแม่และทารก ทางที่ดีที่สุด คือ จุดเริ่มต้นเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์การฝากครรภ์และการให้ความร่วมมือในการดูแลตนเองตามที่คุณหมอแนะนำจะช่วยแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ได้

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

อย่ามัวแต่ห่วงสายสะดือพันคอทารก เพราะสายสะดือย้อย ก็วิกฤตไม่แพ้กัน ลูกในครรภ์เสี่ยงเสียชีวิต

ภาวะรกเสื่อมคืออะไร อันตรายอย่างไร

สายสะดือพันคอทารกพันตัวอยู่สามทบ หมอนัดพอดี เลยให้แม่แอดมิทผ่าคลอด