ลูกน้ำหนักเกิน อ้วนไปแล้ว คุมน้ำหนักลูกยังไง ไม่ให้กลายเป็นข้าวต้มมัด

ลูกน้ำหนักเกิน อ้วนไปแล้ว คุมน้ำหนักลูกยังไง ไม่ให้กลายเป็นข้าวต้มมัด ก่อนที่ลูกจะกลายเป็นทั้งเด็กอ้วน จนเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วนมากไปกว่านี้ และเกินแก้ไข

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกน้ำหนักเกิน อ้วนไปแล้ว คุมน้ำหนักลูกยังไง ไม่ให้กลายเป็นข้าวต้มมัด

ลูกน้ำหนักเกิน อ้วนไปแล้ว คุมน้ำหนักลูกยังไง ไม่ให้กลายเป็นข้าวต้มมัด แม้เด็กจ้ำม้ำจะดูน่ารัก น่าฟัดไปหมด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าลูกจะกลายเป็นเด็กที่ สุขภาพร่างกายแข็งแรงนะคะ

จ้ำม้ำ =/= แข็งแรง

คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่า หากเด็กๆ นั้นน้ำหนักเกินหรือมากกว่าเกณฑ์ไปเยอะ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง อย่างแรกคือพัฒนาการใน การคลาน การคืบ การเดิน ช้าลงค่ะ นอกจากที่ยังกระทบในเรื่องพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจอื่นๆ อีกด้วย ในขณะเดียวกันเด็กที่ตัวโต อาจจะไม่ใช่เด็กที่มีน้ำหนักเกินก็ได้ค่ะ เพียงแค่ส่วนสูง(ความยาว) สัมพันธ์กับน้ำหนัก

นอกจากนี้เด็กๆ ที่อ้วนจ้ำม้ำตั้งแต่เด็กๆ ก็มักจะโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นโรคอ้วนเช่นเดียวกันนะคะ

เด็กๆ ลดน้ำหนักได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่

ไม่มีกุมารแพทย์คนไหน ที่จะให้เด็กๆ อายุต่ำกว่า 2 ขวบ ลดน้ำหนักหรือจำกัดแคลอรี่ที่เด็กๆ ได้รับหรอกค่ะ นั่นก็เพราะเด็กๆ ในวัยนี้ อวัยวะและระบบต่างๆ ในร่างกาย ยังต้องการไขมันเพื่อให้งานให้ระบบมีประสิทธิภาพ ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดคือ ให้เจ้าตัวเล็กได้ใช้พลังงานให้มากขึ้นในแต่ละวัน หรือพาลูกไปออกกำลังกายง่ายๆ นั่นเองค่ะ

วิธีกระตุ้นให้ลูกออกกำลังกาย

เล่นกีฬา ไม่ว่าจะกีฬาเดี่ยวหรือเป็นทีม ข้อดีคือลูกจะมีวินัยมากขึ้น มีทักษะการทำงานเป็นทีมที่ดีขึ้น แต่ควรจะต้องเป็นเด็กๆ ที่โตพอที่จะเล่นกีฬาได้โดยไม่มีผลเสียค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มีพื้นที่ ให้ลูกได้ปล่อยพลัง แน่นอนว่าต้องเก็บสิ่งที่สุ่มเสี่ยงอันตรายต่อลูกออกไปให้หมดค่ะ ทางที่ดีคือเล่นนอกบ้าน ในที่ๆ มีร่มไม้ เพื่อให้เด็กๆ ได้รับอากาศบริสุทธิ์ อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ และมีเหงื่อออกบ้าง

ของเล่น อย่างรถไถ จักรยาน หรืออื่นๆ ที่จำเป็นต้องเคลื่อนไหว ถือเป็นของเล่นและของขวัญที่ดี ที่จะช่วยสร้างเสริมให้เด็กๆ รักการออกกำลังกายค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เดิน คือการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุดค่ะ ในเมืองไทยการเดินไปกลับโรงเรียนอาจจะเป็นไปได้ยาก แต่ถ้าพ่อแม่คนไหนที่บ้านไม่ไกลจากโรงเรียนมากนัก และเส้นทางเดินปลอดภัย ก็อาจจะชักชวนลูกเดินจากบ้านไปโรงเรียนแทนการนั่งรถ หรือจะเป็นการพาน้องหมาไปเดินเดินก็ได้ค่ะ หรือลูกอาจจะอยากช่วยกวาดบ้านถูบ้านดูดฝุ่นภายในบ้านก็ได้เช่นกัน

การรวมการเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ หรือการออกกำลังกาย ให้เป็นกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำทุกวันนั้น เด็กๆ จะไม่รู้สึกขัดขืนและต่อต้าน ลูกจะรู้สึกว่าเริ่มอยากออกกำลังกายมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพและพัฒนาการของลูกในระยะยาวค่ะ

ป้องกันลูกน้ำหนักเกิน

คุมน้ำหนัก ไม่ให้ขึ้นมากเกินไปตั้งแต่ตอนที่คุณแม่รู้ตัวว่าท้องค่ะ หากคุณแม่น้ำหนักขึ้นมากตอนท้อง อาจะส่งผลให้เด็กๆ เป็นโรคอ้วนตั้งแต่เล็กได้เช่นกันนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ให้ลูกกินนมแม่ การให้นมแม่นั้นในบางงานวิจัยบอกเอาไว้ว่า ช่วยลดความเสี่ยงของเด็กๆ ที่จะเป็นโรคอ้วนในวัยเด็กได่ค่ะ

หลีกเลี่ยงของหวาน อย่างขนมหวาน ลูกอม ท็อฟฟี่ และการเติมน้ำตาลลงให้อาหารและเครื่องดื่ม ให้ลูกได้กินผักและผลไม้ที่มีความหวานอ่อนๆ ตามธรรมชาติแทน

จำกัดการเล่นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ โดยเด็กๆ วัยต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรจะให้ใช้เลยค่ะ และถ้าเริ่มมีการใช้แล้ว ลองหาแอพลิเคชั่นที่ช่วยให้ลูกไม่แค่นั่งนิ่งๆ เล่น การเต้นตามเพลง หรือเกมส์ที่ต้องลุกขึ้นขยับตัวไปมาก็ช่วยได้ระดับหนึ่งค่ะ

ที่มา Mayoclinic และ Familyshare

บทความที่น่าสนใจ

คนท้องกินอย่างไรไม่ให้อ้วน คุมน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ยังไงดีไม่ให้เกินเกณฑ์

“ลููกอ้วนลงพุง” ปกติไหม เป็นอะไรรึเปล่า