ลูกดิ้น แบบนี้อยากบอกอะไร
การดิ้นในท้องของลูกเป็นสัญญาณบอกถึงการมีพัฒนาการทางร่างกายที่สมบูรณ์มากขึ้น โดยปกติแล้วลูกจะดิ้นได้ตลอดทั้งวัน ประมาณ 200 ครั้งต่อวัน และเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์มากขึ้น ลูกก็จะดิ้นมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะทารกมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ได้ประมาณ 30 – 32 สัปดาห์ ลูกก็จะดิ้นน้อยลง เนื่องจากลูกตัวโตขึ้นจนเต็มโพรงมดลูก ทำให้มีพื้นที่ในการดิ้นน้อยลงนั่นเอง เรามาดูกันว่า ลูกดิ้นแบบนี้อยากบอกอะไร
#1 ดิ้นเพื่อบอกคุณแม่ว่าหนูตื่นแล้วนะ
ลูกน้อยในท้องของคุณแม่นั้น มักจะดิ้นมากเป็นพิเศษในตอนกลางคืน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่ใช้พลังงานน้อยลง จึงทำให้เลือดที่ออกมาจากหัวใจของคุณแม่ถูกส่งไปยังมดลูกมากขึ้น ลูกน้อยได้รับออกซิเจนมากขึ้น เขาจึงเริ่มดิ้น เริ่มขยับตัวบิดขี้เกียจ หลังจากที่นอนคุดคู้อยู่ในท้องของคุณแม่มาทั้งวัน เพื่อบอกให้คุณแม่รู้ว่า หนูตื่นแล้วนะ
#2 ดิ้นเพราะหนูไม่ชอบ
เวลาที่คุณแม่รู้สึกว่าลูกดิ้นมากในช่วงก่อนและหลังอาหาร ทำให้คุณแม่คิดว่าลูกอาจจะหิวหรืออิ่ม แต่จริงๆแล้ว อาจเป็นเพราะว่าเวลาที่คุณแม่หิวหรืออิ่ม ด้วยความที่ลำไส้ที่ขดไปขดมานั้น มีตำแหน่งอยู่เหนือมดลูกที่ลูกน้อยนอนอยู่ เวลาเสียงท้องของคุณแม่ร้องเสียงดังรบกวนลูก จึงทำให้ลูกน้อยที่นอนหลับอยู่ ตื่นขึ้นมาเพราะถูกรบกวนนั่นเอง
#3 ดิ้นเพราะหนูชอบ
คุณแม่เคยสังเกตไหมว่า ลูกน้อยในครรภ์อาจดิ้นแรงเป็นพิเศษ หรือดิ้นถี่ๆเหมือนกับเสียงหรือพฤติกรรมบางอย่างของคุณแม่ เช่นเวลาเปิดเพลง ร้องเพลง หรือเวลาที่คุณแม่เอามือลูบท้อง ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าลูกน้อยมีการตอบสนองต่อกิจกรรมนั้นๆเป็นพิเศษ เวลาที่คุณแม่อารมณ์ดี ลูกในท้องก็อาจชอบใจและอารมณ์ดีตามไปด้วยเหมือนกัน
รู้อย่างนี้แล้ว คุณแม่อย่าลืมสังเกตนะครับว่าลูกน้อยดิ้นตอนไหนบ้าง
ลูกดิ้น… เป็นช่วงวินาทีที่อิ่มเอมใจสำหรับคุณแม่แบบสุดๆ แต่รู้ไหมว่า การดิ้นของทารกในครรภ์นั้นยังบอกได้ถึงสภาวะทางอารมณ์ของลูกน้อย รวมทั้งอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติที่อาจซ่อนอยู่ได้อีกด้วย
ทำความเข้าใจให้ดี แบบนี้ใช่ “ลูกดิ้น” หรือเปล่า?
ลูกดิ้น คือการที่ทารกในครรภ์มีการถีบ เตะ กระทุ้ง หมุนตัว และโก่งตัว คุณแม่จะรู้สึกเหมือนโดนปลาตอด หรือกระตุกเบาๆ ที่ท้อง แต่หากเป็นการตอดต่อเนื่องยาวๆ จะไม่นับว่าเป็นการดิ้น ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการดิ้นของทารกนั้น มาจากปริมาณน้ำคร่ำ อาหารที่คุณแม่ทาน ระดับน้ำตาลในเลือดของแม่ และสิ่งกระตุ้นภายนอกอื่นๆ เช่น แสง หรือเสียง
ลูกดิ้น บอกถึงอะไรได้บ้าง
แน่นอนว่าการดิ้นของทารกในครรภ์ทำให้คุณแม่สัมผัสได้ถึงการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของลูกน้อย นอกจากนี้… การดิ้นของลูกยังแสดงถึงการตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวของทารก เช่น การขยับหรือยืดแขนขาเหมือนเป็นการตอบสนองต่อเสียงหรือต่ออาหารที่คุณแม่ทานเข้าไป ทั้งนี้ยังมีการศึกษาพบว่าการดิ้นของทารกสามารถบอกได้ถึงพัฒนาการทางสมองที่นำไปสู่พฤติกรรมของทารกเมื่อเติบโตขึ้นในอนาคต
เช็คความแข็งแรงลูกน้อย…จากจำนวนการดิ้น
หากนับโดยประมาณแล้ว ช่วงอายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะดิ้นอยู่ประมาณ 200 ครั้งต่อวัน และจะดิ้นมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะทารกมีการเจริญเติบโตด้านระบบประสาทและกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง ซึ่งการดิ้นของทารกในแต่ละวันนั้นอาจจะไม่เท่ากัน บางวันดิ้นมากบางวันดิ้นน้อย แต่เมื่อพ้นสัปดาห์ที่ 28 ไปแล้ว การดิ้นของทารกจะค่อนข้างคงที่ และดิ้นได้สูงสุดเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 30-32 สัปดาห์ โดยมีอัตราการดิ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 375-700 ครั้งต่อวัน หลังจากนั้นทารกจะตัวโตขึ้นจนเต็มโพรงมดลูก ทำให้พื้นที่ในการดิ้นลดลง จำนวนครั้งของการดิ้นที่นับได้จึงน้อยลงด้วย
ลูกดิ้นแบบไหน? เป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติ
แม้ว่าในช่วงก่อนเข้าสู่อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ การดิ้นของลูกจะยังไม่คงที่ แต่หากเมื่อไหร่ที่ ลูกมีอาการดิ้นแรงมากอยู่ระยะหนึ่งแล้วหยุด…ไม่มีการดิ้นอีกต่อไป นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าทารกเสียชีวิตในครรภ์ แต่กรณีนี้มักเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่มีโรคหรือความผิดปกติอยู่ก่อนแล้ว นอกจากอาการดิ้นมากแล้ว การที่ลูกดิ้นน้อยก็เป็นสัญญาณบอกถึงความผิดปกติได้เช่นกัน โดยในที่นี้จะเป็นการนับด้วยเทคนิค Count to Ten คือการนับจำนวนครั้งการดิ้นของลูกตั้งแต่เช้าถึงเย็น หรือประมาณ 10-12 ชั่วโมง แล้วดูว่าลูกดิ้นมากกว่า 10 ครั้งหรือไม่ ถ้ามากกว่า 10 ครั้งถือว่ายังปกติ หากคุณแม่รู้สึกว่าการดิ้นของลูกมีความผิดปกติไม่อยากรอนับนาน 10 ชั่วโมง ให้นับภายใน 1 ชั่วโมง ถ้าลูกดิ้นตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปแสดงว่ายังปกติ แต่ถ้านับแล้วจำนวนครั้งของการดิ้นน้อยกว่า 3 ให้นับต่อไปอีก 1 ชั่วโมง เนื่องจากว่าทารกในครรภ์จะมีการหลับอยู่ที่ประมาณ 20-40 นาที หรืออาจหลับยาวนานถึง 75 นาที เพราะฉะนั้น การนับการดิ้นของลูกต่อเนื่องไปชั่วโมงที่สองต้องไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ถ้านับได้น้อยกว่า 3 ครั้ง ติดกันทั้ง 2 ชั่วโมง คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะจำนวนการดิ้นของลูกในท้องที่น้อยลงหรือหยุดไปซะดื้อๆ มักเป็นผลกระทบจากการที่คุณแม่มีโรคหรือมีความผิดปกติร้ายแรงแฝงอยู่ ดังนั้น การฝากครรภ์เพื่อให้คุณแม่และทารกได้รับการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันเหตุการณ์น่าเศร้านี้ได้
การดิ้นของทารกในครรภ์เป็นสัญญาณอย่างหนึ่งที่บอกให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้ว่า ลูกน้อยในท้องของเรายังแข็งแรงและปลอดภัยดี โดยปกติแล้ว คุณแม่จะเริ่มสัมผัสได้ว่าลูกดิ้นตั้งแต่ช่วงอายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ เป็นต้นไป โดยค่าเฉลี่ยการดิ้นของทารกจะอยู่ที่ 200 ครั้ง ใน 12 ชั่วโมง และจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 575 ครั้ง ในชั่วโมง เมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ หรือ 8 เดือน และจะสัมผัสได้ว่าลูกดิ้นน้อยลงเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุครรภ์ 40 สัปดาห์ เพราะพื้นที่ในการดิ้นของเขามีจำกัดขึ้น (ลูกตัวใหญ่ขึ้น) แต่ก็ใช่ว่าจะไม่ดิ้นเลยเสียทีเดียว อาจจะดิ้นน้องลงเป็น 282 ครั้ง ใน 12 ชั่วโมง
ดังนั้น หากคุณแม่ตั้งครรภ์อยากสัมผัสการดิ้นของลูก หรือต้องการให้พ่อกับลูกเข้าได้สัมผัสกันผ่านหน้าท้องของคุณแม่บ้าง แต่ไม่ค่อยรู้สึกถึงการดิ้นของลูกสักเท่าไร ก็สามารถกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลูกได้ ด้วยวิธีง่ายๆ ที่ปลอดภัย สามารถช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เมื่อต้องการสัมผัสการ “แตะเบาๆ ที่ท้องแม่” จากลูก
1. ดื่มน้ำเย็นจัด เป็นวิธีกระตุ้นให้ลูกเคลื่อนไหววิธีหนึ่งที่ได้ผลอยู่ไม่น้อยเลยล่ะค่ะ เพราะในบางครั้งที่แม่ไม่รู้สึกถึงการดิ้นของลูก อาจจะเป็นเพราะลูกกำลังหลับอยู่ การที่คุณแม่ดื่มน้ำเย็นจัดเข้าไปจึงเป็นวิธีปลุกให้ลูกตื่นขึ้นมาเล่นฟาดงวงฟาดงาในท้องแม่นั้นเอง
2. ใช้มือกดลงบนท้องด้านใดด้านหนึ่งเบาๆ หลังจากนั้น จะสังเกตได้ว่า ลูกมีการตอบสนองกลับมา ซึ่งนั้นก็เป็นเพราะว่าทารกรับรู้ถึงการทักทายของแม่ หรือจะเรียกให้ถูกคือลูกดิ้นเพราะเราไปรบกวนพื้นที่ของเขานั้นเอง
3. รับประทานของหวานๆ เป็นเคล็ดลับที่คุณแม่และคุณลูกน่าจะชอบใจทั้งคู่ เพราะเมื่อลูกรับรู้ถึงรสหวาน ประมาณสัก 2-3 นาที หลังคุณแม่ทานของหวานเข้าไป เขาจะเริ่มดิ้นราวกับชอบใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ก็ไม่ควรรับประทานของหวานมากจนเกินไป เพราะจะทำให้อ้วน เสี่ยงเป็นเบาหวาน และครรภ์เป็นพิษได้
4. ขวนเขาคุย เปิดเพลงจังหวะเพลินๆ ไม่น่าเชื่อว่าเสียงเพลงที่คุณแม่ชอบ เสียงคุณพ่อคุณแม่ หรือแม้แต่เสียงบทสวนมนต์ ก็สามารถทำให้ลูกน้อยเคลื่อนไหวไปตามจังหวะนั้นได้ ฉะนั้น หากคุณแม่ต้องการให้พ่อกับลูกเขาเล่นกัน ลองให้คุณพ่อเขาเข้ามาใกล้ๆ และพูดกับลูกในท้องดูนะคะ เป็นการบอกรักลูกในครรภ์และช่วยปรับอารมณ์ลดความเครียดของคุณแม่ท้องได้ด้วย
5. เปลี่ยนท่านอน การนอนตะแคงซ้าย จะทำให้คุณแม่รู้สึกถึงการดิ้นของลูก มากกว่าท่าอื่นๆ นั้นเพราะเป็นท่าที่ทำให้ลูกอยู่ในท่านอนหงาย จึงส่งผลให้เขาดิ้นมากกว่าปกติ แต่ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกแต่อย่างใด แต่ทว่า การนอนที่ดีที่สุดสำหรับคนท้อง ก็คือ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรนอนเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เพราะการนอนท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ จะทำให้เกิดจุดกดทับ และอาจส่งผลให้เจ็บซี่โครงหรือสะโพกได้
ทั้งนี้ถ้าลูกดิ้นมากคุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะเป็นเรื่องปกติของแต่ละช่วงของอายุครรภ์ 20-40 สัปดาห์ ที่ลูกจะดิ้นมากดิ้นน้อยไม่เท่ากัน แต่ถ้าลูกดิ้นน้อยลงในระยะใกล้คลอด หรือลูกหยุดดิ้นไปอย่างน้อย 12 ชั่วโมง อันนี้แหละที่น่าเป็นห่วง คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
ที่มา healthandtrend, bellybelly