แม่ต้องรู้! วิธีดูแลลูกน้อยเมื่อเป็นไข้ ควรทำอย่างไรดี?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อไหร่ที่ลูกน้อยของเราไม่สบาย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็ค่อนข้างที่จะทำให้คุณแม่กังวลใจและสงสารเจ้าตัวเล็กมาก ๆ และสำหรับใครที่คิดหนักและไม่รู้ว่าเราควรดูแลลูกน้อยยังไงดี ในเวลาที่เขาไม่สบาย เอาเป็นว่าเรามาดู วิธีดูแลลูกน้อยเมื่อเป็นไข้ ไปพร้อมกันเลยค่ะ

 

วิธีการรับมือเมื่อลูกเป็นไข้ควรทำอย่างไร?

สิ่งแรกที่ทำเลยคือการวัดอุณหภูมิให้กับลูกน้อย ซึ่งอุปกรณ์ในการวัดไข้อาจจะใช้เป็นปรอทวัดไข้ อาทิเช่น ปรอทวัดไข้แบบแท่งแก้ว หรือปรอทวัดไข้แบบดิจิทัล เป็นต้น โดยปกติเราจะมีอุณหภูมิเริ่มตั้งแต่ 32 – 37.5 องศาเซลเซียส ถ้าเมื่อไหร่ที่มีไข้ต่ำ ๆ หรือเริ่มที่จะมีไข้ อุณหภูมิก็จะเริ่มตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป และถ้าเมื่อไหร่ที่เด็ก ๆ เริ่มมีอุณหภูมิสูงตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป คุณแม่อาจจะต้องรีบทำการปฐมพยาบาล ดูแลรักษาอาการเบื้องต้น โดยเฉพาะเด็กอายุประมาณ 5 – 6 ขวบ เราไม่ควรที่จะปล่อยให้เด็ก ๆ มีไข้สูงจนเกินไป เพราะสิ่งนี้อาจจะทำให้เด็ก ๆ มีอาการชักขึ้นมาได้

ในส่วนกรณีที่เด็กเคยมีอาการชักขึ้นมาแล้ว และเมื่อไหร่ที่เขาเป็นไข้ขึ้นมา แน่นอนว่าเขาก็จะมีอาการชักขึ้นมาถึง 30 % เลย เพราะฉะนั้นควรที่จะรีบดูแลรักษาพยาบาลให้เร็วที่สุด ไม่ควรปล่อยให้ลูกของเรามีไข้สูงเป็นเวลานาน ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ลูก ลูกไม่สบายบ่อย ช่วยได้ ลูกจะไม่ป่วยบ่อยอีกต่อไปแล้ว

 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับลูกน้อย

1. การเช็ดตัว

การเช็ดตัวโดยส่วนใหญ่แล้ว เราจะเลือกใช้เป็นน้ำอุ่น ซึ่งจะเริ่มเช็ดตั้งแต่ปลายนิ้วมือ หรือปลายนิ้วเท้า ซึ่งขั้นตอนการเช็ดนั้นเราจะเช็ดเข้าหาลำตัว และเป็นการเช็ดย้อนรูขุมขน เพื่อเป็นการระบายความร้อน ทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็วนะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ใช้ผ้าแห้งเช็ด

เมื่อเราทำการเช็ดตัวให้ลูกน้อยเสร็จแล้ว จากนั้นคุณแม่อาจจะต้องนำผ้าเช็ดตัวแบบแห้งมาเช็ดตัวให้ลูกน้อยอีกครั้ง ไม่ควรที่จะอาบน้ำให้ลูกน้อยในช่วงที่เป็นไข้นะคะ เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้เขาเป็นไข้หนักกว่าเดิมได้ จากนั้นก็ให้เราทำการห่มผ้าให้เด็ก ๆ ตามปกติได้เลยค่ะ

 

3. รับประทานยาลดไข้

ขั้นตอนต่อมาเราอาจจะให้เด็ก ๆ รับประทานยาตามไปด้วย ซึ่งยาที่เหมาะสำหรับเด็ก ๆ อาจจะเป็นยาพาราเซตามอลชนิดน้ำ โดยเราอาจจะต้องดูความเข้มข้นของยาตามไปด้วย ในการเลือกยาเราอาจจะต้องดูปริมาณยาตามน้ำหนักตัวของเด็ก ดังนั้นก่อนที่เราจะซื้อยาให้กับเด็ก ๆ คุณแม่อาจจะต้องทำการปรึกษา หรือขอคำแนะนำจากคุณหมอ หรือเภสัชกรตามไป เพื่อที่ลูกของเราจะได้หายจากการเป็นไข้ และมีอาการดีขึ้นเร็ว ๆ ค่ะ ในขณะเดียวกันหากเด็ก ๆ รับประทานยาพาราเซตามอลแล้วยังไม่หาย คุณแม่อาจจะต้องทำการปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรเพื่อทำการเปลี่ยนยา โดยอาจจะใช้ยาที่แรงขึ้นนั่นเองค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เทคนิคจูงใจให้ลูกกินยา 10 เทคนิคจูงใจให้ตัวเล็กกินยาได้ง่ายขึ้น ลดความดราม่า ป้องกันลูกสำลักยา

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในกรณีการใช้ปรอทวัดไข้ ที่คุณแม่ควรรู้!

สำหรับคุณแม่คนไหนที่กำลังสงสัยว่า ในช่วงที่เราจับตัวลูกนั้น ตัวของเด็ก ๆ ค่อนข้างที่จะร้อนมาก ๆ และเสี่ยงที่จะเป็นไข้สูงมาก ๆ แต่อยู่ ๆ เมื่อเรานำปรอทมาทำการวัดไข้ให้ลูกนั้น อุณหภูมิในตัวเขาค่อนข้างที่จะน้อย และมีไข้ต่ำ ๆ เราสามารถที่จะเชื่อถือปรอทที่เราวัดไข้ได้หรือไม่ ต้องบอกก่อนเลยนะคะว่าก่อนที่เราจะทำการวัดไข้ให้เด็ก ๆ คุณแม่อาจจะต้องเลือกใช้ปรอทที่ได้รับการจดทะเบียน และเป็นปรอทที่ค่อนข้างมีคุณภาพตามไปด้วย เรียกได้ว่าการเลือกปรอทวัดไข้ค่อนข้างที่จะสำคัญมาก ๆ เลยทีเดียว

 

หลักเกณฑ์ในการเลือกปรอทวัดไข้ เลือกอย่างไรดี?

การที่เราจะเลือกซื้อปรอทวัดไข้นั้น แน่นอนว่าคุณแม่อาจจะต้องเลือกซื้อปรอทวัดไข้ที่ค่อนข้างมีคุณภาพ และเห็นผลดีมากที่สุด สำหรับคุณแม่คนไหนที่อยากทราบว่า การเลือกซื้อปรอทวัดไข้ที่ดีเราควรดูจากอะไรบ้าง เอาเป็นว่าเรามาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เลือกซื้อปรอทวัดไข้ควรเลือกแบบไหนดี?

อย่างแรกเลยเราอาจจะต้องเลือกซื้อปรอทวัดไข้ที่ค่อนข้างอ่านผลได้เร็ว ด้วยความที่เขายังเด็ก ในขณะที่คุณแม่ทำการวัดไข้นั้น เขาก็อาจจะค่อนข้างเคลื่อนไหวตัวบ่อย หรือค่อนข้างที่จะซุกซน เพราะฉะนั้นการที่คุณแม่เลือกซื้อปรอทวัดไข้ที่อ่านผลได้เร็ว และที่สำคัญไปกว่านั้นคือปรอทวัดไข้ที่เราเลือกซื้อนั้นจะต้องเป็นปรอทที่มีความแม่นยำตามไปด้วย เพื่อที่เราจะได้ทำการรักษาและปฐมพยาบาลเด็ก ๆ ได้ถูกวิธีอีกด้วยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 ปรอทวัดไข้ สำหรับเด็กมีกี่แบบ แต่ละแบบใช้งานและอ่านอย่างไร

 

ประเภทของปรอทวัดไข้ มีอะไรบ้าง?

1. ปรอทวัดไข้แบบแก้ว

ตัวปรอทแก้วเมื่อเทียบกับปรอทตัวอื่น ๆ แล้ว อาจจะเป็นปรอทวัดไข้ที่มีคุณภาพต่ำขึ้นมาหน่อย เพราะปรอทในลักษณะนี้จะมีความเปราะและแตกหักได้ค่อนข้างง่าย ซึ่งผลที่ตามมาก็อาจจะทำให้การวัดอุณหภูมิหรือการวัดไข้ดูไม่ค่อยเสถียรสักเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นปรอทวัดไข้แบบแก้วอาจจะเป็นปรอทที่คนส่วนใหญ่ใช้งานค่อนข้างน้อย หรืออาจจะเหมาะสำหรับวัดอุณหภูมิในบางประเภทเท่านั้น

 

2. ปรอทวัดไข้แบบดิจิทัล

ปรอทวัดไข้แบบดิจิทัล เมื่อเทียบกับปรอทวัดไข้แบบเทอร์โมอินฟราเรด หากนำมาสัมผัสกับผิวหนัง ปรอทวัดไข้แบบดิจิทัลค่อนข้างที่จะเห็นผลได้แม่นยำมากกว่า เพราะฉะนั้นหากคุณแม่อยากที่จะซื้อปรอทวัดไข้มาเพื่อวัดอุณหภูมิให้กับลูกน้อยของเรา คุณแม่อาจจะต้องซื้อปรอทวัดไข้แบบดิจิทัล เพื่อที่เราจะได้รู้อุณหภูมิที่ถูกต้องและแม่นยำมากที่สุดค่ะ

 

3. ปรอทวัดไข้แบบเทอร์โมอินฟราเรด

ปรอทวัดไข้ในลักษณะนี้อาจจะเป็นปรอทวัดไข้ที่เหมาะสำหรับกับครอบครัวใหญ่ ๆ วัดแบบเดียวโชว์ผลได้แล้ว เราก็อาจจะเลือกใช้เป็นปรอทวัดไข้แบบเทอร์โมอินฟราเรดได้ ซึ่งต้องบอกว่าปรอทวัดไข้ในลักษณะนี้ เป็นเพียงปรอทวัดไข้เบื้องต้นที่อาจจะมีค่าการเปลี่ยนแปลงตามสภาพอากาศ เพราะฉะนั้นหากคุณแม่อยากที่จะได้ค่าอุณหภูมิที่มีความแม่นยำ เราอาจจะต้องเลือกซื้อปรอทวัดไข้แบบดิจิทัลมาใช้ด้วยนั่นเองค่ะ

 

จากข้อมูล วิธีดูแลลูกน้อยเมื่อเป็นไข้  ที่เราได้นำมาฝากคุณแม่ในวันนี้ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีการดูแลลูกน้อยเมื่อเป็นไข้ ในฉบับเบื้องต้นที่เราควรดูแลเอาใจใส่มาก ๆ เพราะฉะนั้นหากเด็ก ๆ ไม่สบาย หรือเป็นไข้ขึ้นมาคุณแม่อย่าพึ่งเป็นกังวลใจไปนะคะ เพราะหากเราดูแลรักษาลูกน้อยได้อย่างถูกวิธีสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการไข้ให้กับเด็ก ๆ ได้ดีตามไปด้วย และที่สำคัญไปกว่านั้นเลย อีกหนึ่งสิ่งที่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามเลยคือเรื่องของการเลือกซื้อปรอทวัดไข้ เพราะหากเราเลือกซื้อปรอทวัดไข้ที่ดีมีคุณภาพ สิ่งนี้จะช่วยทำให้เราทราบอุณหภูมิในตัวลูกได้อย่างแม่นยำ และจะได้ทำการดูแลรักษาเขาได้อย่างถูกวิธีตามไปด้วยได้ค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกไม่สบายทำไงดี? เป็นไข้ น้ำมูกไหล ทำยังไงดี ลูกร้องไห้ไม่หยุด

6 วิธีแก้ปัญหาลูกป่วยบ่อย ลูกไม่สบายบ่อย ป้องกันไม่ให้ลูกป่วยได้อย่างไรบ้าง

ปอดอักเสบในเด็ก อาการป่วยอันตราย สังเกตอย่างไรได้บ้าง ?

ที่มา : facebook คุณกวาง ณัฏฐา โมลีเศรษฐ์

บทความโดย

Tidaluk Sripuga