วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

ปัญหาทารกท้องเสีย ถือเป็นอาการที่คุณพ่อคุณแม่พบเจอเป็นประจำ เนื่องจากเด็กในวัยนี้จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวด้วยการใช้มือและปาก พวกเขาจะสำรวจสิ่งต่าง ๆ จากการสัมผัส ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้อาจทำให้เด็ก ๆ ได้รับเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียโดยไม่รู้ตัวและอาจทำให้ทารกท้องเสียได้ ดังนั้นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กทารกท้องเสียบ่อย เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถสังเกตได้จากความถี่ในการอุจจาระ หรือลักษณะของอุจจาระที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ทารกถ่ายอุจจาระในลักษณะเหลว 3 ครั้งขึ้นไป ถ่ายเป็นมูกเลือด 1 ครั้ง หรืออุจจาระเป็นน้ำปริมาณมาก ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง เป็นต้น

นอกจากการสังเกตความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการต่าง ๆ ที่ลูกแสดงออกมาให้เห็นร่วมด้วย เช่น เมื่อทารกท้องเสีย อารมณ์ของลูกรักไม่สดใสร่าเริง ทานได้น้อย บางรายอาจมีไข้อ่อน ๆ หรือมีการอาเจียนร่วมด้วย เป็นต้น

 

สาเหตุที่ทำให้เด็กทารกท้องเสีย

เด็กทารกเป็นวัยที่ยังมีภูมิคุ้มกันไม่มากพอที่จะปกป้องตัวเองจากเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวได้ดี ซึ่งสาเหตุของอาการท้องเสีย 70% เกิดจากการที่เด็กได้รับเชื้อโรค หรือแบคทีเรียเข้าไปในร่างกาย ผ่านทางมือ และปาก ส่งผลทำให้เด็กทารกท้องเสีย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกท้องเสียได้อีก เช่น

  • การติดเชื้อที่หู
  • การติดเชื้อปรสิต
  • การใช้ยาปฏิชีวนะ
  • การดื่มน้ำผลไม้มากเกินไป
  • การแพ้โปรตีนจากนมวัว
  • การแพ้อาหาร หรือการแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) เช่น แพ้น้ำตาลแล็กโทส เป็นต้น
  • การได้รับสารพิษ รวมถึง สารเคมี สารจากพืช ยา เป็นต้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกท้องเสีย

อันตรายจากอาการท้องเสียของเด็กทารก

อาการท้องเสียของทารกนั้นอันตรายมาก เพราะมีโอกาสที่เด็กทารกที่ท้องเสีย มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ เนื่องจากลำไส้ของทารกจะทำการดูดซึมน้ำ และสารอาหารได้น้อยลง ส่งผลทำให้ร่างกายของทารกท้องเสียมีภาวะขาดน้ำ และสูญเสียเกลือแร่ หากร่างกายขาดน้ำรุนแรง จะทำให้มีอาการวิงเวียน ช็อก และเสียชีวิตได้ในที่สุด

 

เช็กด่วน! อาการทารกท้องเสีย แบบใดบ้างที่ควรไปพบแพทย์

  • ทารกท้องเสียเป็นเวลานาน 5 – 14 วัน
  • มีภาวะขาดน้ำ เช่น ปัสสาวะน้อย ปากแห้ง ตาโหล หรืออ่อนเพลีย
  • อาเจียนต่อเนื่อง
  • ทารกท้องเสีย และถ่ายอุจจาระเป็นมูก มีกลิ่นเหม็น
  • ทารกท้องเสีย และถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หรือมีสีดำ
  • ทารกท้องเสียอย่างรุนแรงในช่วงที่รับประทานยาปฏิชีวนะ
  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หรือมีอาการชัก
  • หายใจหอบลึก
  • หัวใจเต้นรัว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีดูแลและป้องกัน เมื่อทารกท้องเสีย

เมื่อลูกรักของคุณพ่อคุณแม่มีอาการท้องเสีย สามารถดูแลและป้องกันเบื้องต้นได้เอง ดังนี้

  • ให้ดื่มเกลือแร่โออาร์เอสเพื่อทดแทนน้ำ และเกลือแร่ในร่างกายที่สูญเสียไป เพื่อลดโอกาสในการเกิดภาวะขาดน้ำ
  • ไม่แนะนำให้กินยาหยุดถ่าย หากทารกท้องเสีย เพราะการหยุดถ่ายจะทำให้เชื้อโรคยังคงอยู่ในลำไส้ ไม่ได้ถูกขับออกมา และอาจทำให้เชื้อกระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้
  • ทารกท้องเสีย ป้องกันได้ด้วยนมแม่ ซึ่งมีสารอาหารหลากหลาย รวมทั้งจุลินทรีย์ LPR จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง สู้เชื้อโรคได้ นอกจากนี้คุณแม่ยังสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วิธีรับมือทารกท้องเสีย จากผู้เชี่ยวชาญ ได้เช่นกันค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกท้องเสีย

ทำความรู้จัก จุลินทรีย์ LPR สุดยอดความลับในนมแม่

จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ LPR หรือ Lactobacillus rhamnosus GG เป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการรักษาโรคท้องเสียเฉียบพลันที่เกิดจากการติดเชื้อในเด็ก

จากการศึกษาพบว่า นอกจากจุลินทรีย์ LPR จะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลูกรักให้มีความแข็งแกร่ง และช่วยปกป้องเซลล์ลำไส้ของทารกที่ท้องเสียจากการติดเชื้อได้ดีแล้ว ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างสารสื่อประสาทในสมองของลูกอีกด้วย ดังนั้นเมื่อร่างกายลูกแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้อย่างไร้อุปสรรค ก็จะส่งผลให้เด็ก ๆ ได้พัฒนาการสมอง และทักษะการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ

การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันนั้น เป็นประโยชน์แก่ลูกรักของคุณพ่อคุณแม่ในหลาย ๆ ด้าน ดังนั้น “นมแม่” ที่มีจุลินทรีย์ LPR จะช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์สุขภาพ และป้องกันการติดเชื้อก่อโรคในลำไส้ ทั้งยังดีต่อระบบทางเดินอาหาร และมีส่วนช่วยให้ลูกสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ ถือเป็นความลับของความแกร่ง สู่ความเก่งที่พัฒนาได้เต็มศักยภาพ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญในเรื่องของโภชนาการและการเสริมสร้างสุขภาพลูกรักให้เหมาะสมตามวัย เพื่อให้ลูกมีร่างกายแข็งแรง มีพัฒนาการที่ดี พร้อมเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

 

#LPRจุลินทรีย์ในนมแม่ #LPRจุลินทรีย์ที่มีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับมากที่สุด

 

ข้อมูลอ้างอิง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. โรคท้องเสียในเด็ก (thaipediatrics.org)
  2. ท้องเสีย ซ่อมได้ ไม่ยาก (mahidol.ac.th)
  3. ทารกท้องเสีย พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร ? – พบแพทย์ (pobpad.com)

 

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team