พ่อแม่รู้ไหม การขลิบเป็นอันตรายได้ การขลิบมีผลต่อ การติดเชื้อเริมในทารกแรกเกิด
การขลิบที่ไม่ปลอดภัย นำไปสู่การเกิดโรคเริมในหมู่เด็กทารก โดยเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขของมหานครนิวยอร์กเผยว่า ทารกอย่างน้อยสี่คนได้ติดเชื้อไวรัสที่อาจถึงแก่ชีวิตได้ตั้งแต่เดือน กันยายนปีที่แล้ว หลังจากทำการขลิบ การติดเชื้อเริมในทารกแรกเกิด
โดยเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้วเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขออก ประกาศเตือนด้านสาธรณสุขเกี่ยวกับการปฏิบัติการขลิบ ในหมู่เด็กทารก โดยการขลิบนั้นก่อให้เกิดโรคเริมในทารกแรกเกิด และ มีการเขียนรายงานไปยังกรมอนามัยนครนิวยอร์ก
นั่นเป็นเพราะว่าวิธีการขลิบ นั้นยังใช้วิธีแบบโบราณอยู่ โดยไวรัสจากการขลิบที่ทำให้เกิดเริมมีอยู่สองชนิด คือ เริม 1 (HSV-1) และ เริมแบบ 2 (HSV-2) โดยโรคเริมในช่องปากมักจะพบได้ทั่วไป และ มีผลกระทบต่อรปะชากรมากกว่า แต่ HSV-2 นั้นจะทำให้เกิดเริมที่อวัยวะเพศ โดยกรณีที่เป็น HSV-2 นั้น หากเกิดในทารก สามารถเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ และ ต้องการ การดูแล และ รักษาอย่างเร่งด่วน
โดยจากรายงานของ Wall Street Journal ทารกที่ขลิบนั้นได้รับการรักษาในโรงพยาบาล และ ได้รับยาต้านไวรัสที่รุนแรงในสองสัปดาห์ แต่จากการรายงานพบว่า ก็ยังมีเด็กที่เสียชีวิตและได้รับความเสียหายของสมองที่ไม่สามารถรักษาได้จากการเป็นเริม โดยหลายชื่อเหล่านี้เชื่อมโยงการขลิบตั้งแต่ปี 2000
โดยตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2000 มีผู้ป่วยติดโรคเริมเพิ่มมากขึ้น 19 ราย โดยพ่อแม่ที่ยังอยากให้ลูกขลิบนั้นไม่รู้เกี่ยวกับความเสี่ยงของสุขภาพจากการขลิบ เพราะ การขลิบนั้นสามารถเป็นอันตรายได้ หากมีการขลิบที่ไม่ปลอดภัย
การขลิบคืออะไร
การขลิบคือการตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ เพื่อให้เปิดออกมาทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ เด็กในสหรัฐอเมริกาประมาณ 50% ผ่านการขลิบ แต่ตัวเลขในเอเชียและยุโรปน้อยกว่านั้นมาก ยกเว้นในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามที่ต้องขลิบตามหลักศาสนา
เวลาที่เหมาะสมที่สุด คือ ช่วง 2-3 สัปดาห์หลังคลอด แพทย์บางท่านอาจแนะนำให้ทำภายใน 10 วันหลังคลอด โดยการขลิบในเด็กแรกเกิดนั้น แพทย์จะทำการขลิบด้วยเครื่องมือที่ครอบหนังบีบเข้าไปแล้วตัดออกโดยที่ไม่ต้องเย็บแผล หลังจากขลิบภายใน 24 ชั่วโมงแรกอาจมีเลือดซึม มีอาการบวม แต่หลังจากนั้นแผลก็จะแห้งและหายภายใน 1 สัปดาห์
ทำไมหมอไม่แนะนำให้ขลิบจุ๊ดจู๋ลูกชาย
ปัจจุบันสมาคมกุมารแพทย์ของสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย และแคนาดา แนะนำว่าการขลิบไม่ได้เป็นแบบแผนปฏิบัติสำหรับทารกโดยทั่วไป ควรทำเฉพาะคนที่มีความจำเป็น เช่น มีปัญหาผิดปกติในการปัสสาวะ หรือเป็นเรื่องทางศาสนาหรือเชื้อชาติ เช่น นับถือศาสนาอิสลามหรือเชื้อชาติยิว
- ไม่มีความจำเป็นต้องขลิบ เพราะไม่ใช่เด็กทุกคนจะมีปัญหาหนังหุ้มปลายมากเกินไปแล้วรูดไม่ขึ้น หากเด็กไม่มีได้ปัญหาดังกล่าวก็ไม่จำเป็นต้องขลิบ ควรปล่อยไปตามธรรมชาติสร้างมา
- ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในทางการแพทย์ ว่าการขลิบช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งในอวัยวะเพศชาย การติดเชื้อ HPV ลดการติดเอดส์หรือโรคทางเพศสัมพันธ์จากคู่นอน ระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ ฯลฯ เหล่านี้จริงหรือไม่ หากจริงก็เป็นอัตราส่วนที่น้อยมากจนแทบไม่มีนัยสำคัญ
- หากรูดหนังแล้วทำความสะอาดให้ดี จะไม่มีปัญหาในการติดเชื้อแบคทีเรียของหนังหุ้มปลาย ซึ่งพ่อแม่ควรสอนลูกควรสอนให้ลูกรู้จักรูดเปิดหนังหุ้มปลายทุกครั้งตอนอาบน้ำ เพื่อล้างสารที่สะสมออกไป
- ลูกเจ็บตัวโดยไม่จำเป็น ซึ่งเป็นข้อเสียที่เห็นได้ชัดเจนของการขลิบ มีงานวิจัยพบว่า แม้แต่ทารกก็รู้สึกเจ็บและเครียดได้เช่นกัน แต่ไม่แน่ใจว่าจะส่งผลถึงตอนโตหรือไม่อย่างไร
การดูแลหลังขลิบ ล้างให้สะอาดด้วยน้ำทุกครั้งหลังมีการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ แล้วซับให้แห้ง โดยทั่วไปแผลจะแห้งดีภายใน 1 สัปดาห์
การดูแลหากไม่ขลิบ พ่อแม่ควรปลูกฝังลูกตั้งแต่เด็ก เช่น ตอนอาบน้ำควรสอนให้ลูกรู้จักรูดเปิดหนังหุ้มปลายทุกครั้งเพื่อล้างสารที่สะสมออกไป พยายามรูดลงมาทีละนิดๆ ทำบ่อยๆ เป็นประจำ ก็จะทำให้รูเปิดของหนังหุ้มปลายค่อยๆ กว้างขึ้น จนทำให้สามารถรูดพ้นบริเวณหัวของอวัยวะเพศได้ และไม่ควรใช้แป้งหรือสารใด ๆ ทาอวัยวะเพศส่วนปลายที่อยู่ข้างในหนังหุ้ม เพราะอาจเกิดการ หมักหมม จน ติดเชื้อได้
ที่มา : gizmodo
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
วิธีป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่มากับฝน ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย ต้องทำแบบนี้!