ใกล้จะถึงวันพืชมงคลแล้ว ใครหลาย ๆ ก็อยากที่จะรู้ใช่ไหมว่า ประวัติวันพืชมงคล และประวัติพิธีแรกนาขวัญ ว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง แล้วต้องเตรียมตัวอย่างไรเมื่อถึงวันพืชมงคล มาดูกันเลย
ประวัติวันพืชมงคล
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือพิธีแรกนา นั้นเป็นพระราชพิธีที่ได้มีมาตั้งแต่โบราณเมื่อครั้งสุโขทัยนั้นเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์มิได้ลงมือไถนาเอง เพียงแต่พระองค์เสด็จฯ ไปเป็นประธานในพระราชพิธีเท่านั้น เมื่อครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาพระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จฯไปเป็นองค์ประธานแต่จะมอบอาญาสิทธิ์ให้โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจกษัตริย์ และจะทรงจำศีลเป็นเวลา 3 วัน โดยวิธีการเช่นนี้ได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอดมาจนถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้โปรดให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้การประกอบพิธีแรกนาข้าวแทนพระองค์ และมิได้ถือว่าเป็นพิธีหน้าพระที่นั่ง จะยกเว้นก็ต่อเมื่อมีพระราชประสงค์จะทำการทอดพระเนตรในตอนแรก ๆ มีสถานประกอบพิธีที่ไม่ตายตัวแล้วแต่จะทรงกำหนดให้ ครั้งมาถึงในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่าง ๆ ในทุกพิธี ฉะนั้นพระราชพิธีพืชมงคล จึงได้เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่นั้นมา โดยได้มีการจัดรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ทำให้มีชื่อเรียกรวมกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นั้นเอง
ความมุ่งหมายอันเป็นมูลเหตุให้เกิดมีพระราชพิธีนี้ขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน ว่าการแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดินเป็นธรรมเนียมนิยม มีมาแต่โบราณ เช่น ในเมืองจีนสี่พันปีล่วงมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ลงทรงไถนาเองเป็นคราวแรก พระมเหสี เลี้ยงตัวไหม ส่วนจดหมายเรื่องราวอันใดในประเทศสยามนี้ ที่มีปรากฏอยู่ในการแรกนานี้ ก็มีอยู่เสมอเป็นนิตย์ ไม่มีเวลาว่างเว้น ด้วยการซึ่งผู้นั้นเป็นใหญ่ในแผ่นดินลงมือทำเองเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎรชักนำให้มีใจหมั่นในการที่จะทำนา เพราะเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิตทั่วหน้า เป็นต้นเหตุของความตั้งมั่นและความเจริญไพบูลย์ แห่งพระนครทั้งปวง แต่การซึ่งมีพิธีเจือปนต่างๆ ไม่เป็นแต่ลงมือไถนาเป็นตัวอย่าง เหมือนอย่างชาวนาทั้งปวงลงมือไถนาของตนตามปกติ ก็ด้วยความหวาดหวั่นต่ออันตราย คือ น้ำฝนน้ำท่ามากไปน้อยไป ด้วงเพลี้ยและสัตว์ต่างๆ จะบังเกิดเป็นเหตุอันตราย ไม่ให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิ และมีความปรารถนาที่จะให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิเป็นกำลัง จึงต้องหาทางที่จะแก้ไขและหาทางที่จะอุดหนุนและที่จะเสี่ยงทายให้รู้ล่วงหน้า จะได้เป็นที่มั่นอกมั่นใจโดยอาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษ นับว่าเป็นการสวัสดิมงคลตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง ให้เป็นการช่วยแรงและเป็นที่มั่นใจตามความปรารถนาของมนุษย์ซึ่งคิดไม่มีที่สิ้นสุด
ความสำคัญวันพืชมงคล
เมื่อจะกล่าวถึงพระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ทั้ง 2 พิธีนี้มีความสำคัญแยกกัน ดังต่อไปนี้
พระราชพิธีพืชมงคล
เป็นพิธีทำขวัญพืชพรรณธัญญาหารที่พระมหากษัตริย์ทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของทั้งข้าว และพืชจำพวกงา มีพระสงฆ์มากระทำพิธีปลุกเสกเมล็ดพันธุ์พืช ให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
เป็นพระราชประเพณีที่องค์พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้ที่นำพิธี เพื่อที่จะเป็นขวัญกำลังใจแก่เกษตรกรที่หวั่นภยันตรายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างเพาะปลูกให้มีศรัทธาและมีความมั่นใจ ด้วยการบวงสรวงเทวดา ด้วยพิธีเสี่ยงทายทำนายความสมบูรณ์ของปริมาณน้ำ และสภาพดินฟ้า อากาศ
กำหนดวันพืชมงคล
ตารางกำหนดวันพืชผล 10 ปี
พ.ศ. 2556 ตรงกับ จันทร์ที่ 13 พฤษภาคม (ขึ้น 4 ค่ำเดือน 6) |
พ.ศ. 2557 ตรงกับ ศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม (ขึ้น 11 ค่ำเดือน 6) |
พ.ศ. 2558 ตรงกับ พุธที่ 13 พฤษภาคม (แรม 11 ค่ำเดือน 6) |
พ.ศ. 2559 ตรงกับ จันทร์ที่ 9 พฤษภาคม (ขึ้น 4 ค่ำเดือน 6) |
พ.ศ. 2560 ตรงกับ ศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม (แรม 2 ค่ำเดือน 6) |
พ.ศ. 2561 ตรงกับ จันทร์ที่ 14 พฤษภาคม (แรม 15 ค่ำเดือน 6) |
พ.ศ. 2562 ตรงกับ พฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม (ขึ้น 6 ค่ำเดือน 6) |
พ.ศ. 2563 ตรงกับ จันทร์ที่ 11 พฤษภาคม (แรม 5 ค่ำ เดือน 6) |
พ.ศ. 2564 ตรงกับ จันทร์ที่ 10 พฤษภาคม (แรม 14 ค่ำ เดือน 6) |
พ.ศ. 2565 ตรงกับ ศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม (ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6) |
การประกอบพระราชพิธีวันพืชมงคล
การประกอบพระราชพอธีวันพืชมงคล เป็นพิธีทำขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหารที่ทางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ใในราชอาณาจักรไทย โดยข้าวที่นำมาเข้าพิธีพืชมงคลนั้นจะเป็นข้าวเปลือก มีทั้งข้าวเจ้า ข้าวเหนียว อีกทั้งยังมมีเมล็ดพืชชนิดต่าง ๆ รวมกันมากกว่าถึง 40 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดนั้นจะถูกบรรจุอยู่ในถุงผ้าขาว นอกจากนี้ก็ยังมีข้าวเปลือกที่ใช้สำหรับการหว่านในพิธีแรกนาบรรจุเข้ากระเช้าทองคู่หนึ่ง และเงินอีกคู่หนึ่ง เป็นข้าวพันธุ์ดีที่โปรดฯ ให้ปลูกในสวนจิตรลดา และพระราชทานมาเข้าพิธีพืชมงคล ซึ่งพันธุ์ข้าวพระราชทานนี้จะใช้หว่านในพระราชพิธีแรกนาส่วนแรก ส่วนที่เหลือทางการจะบรรจุซองแล้วส่งไปแจกจ่ายแก่ชาวนาและประชาชนในจังหวัดต่างๆ เพื่อเป็นมิ่งขวัญและเป็นสิริมงคลแก่พืชผลที่จะเพาะปลูกในปีนี้นั้นเอง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
วันฉัตรมงคล 4 พฤษภาคม 2566 ประวัติและความเป็นมา
วันหยุด 2565 ปฏิทินวันหยุด 65 วันหยุด วันสำคัญ มีวันไหนบ้าง เช็คเลย !
คาถาของาน สมัครงานแล้วต้องผ่าน เพราะมูฯ ตัวแม่มาเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.moac.go.th , www.thairath.co.th , event.sanook.com