โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง คืออะไร สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้น

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หนึ่งในอาการภูมิแพ้ที่มักเกิดขึ้นในเด็กเล็ก ไปดูสาเหตุ อาการ พร้อมวิธีดูแลผิวเบื้องต้น เพื่อให้ลูกรักสุขภาพดี ช่วยลดความเสี่ยงโรคภูมิแพ้ในอนาคต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง ที่ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคแน่ชัด แต่เชื่อว่ากรรมพันธุ์น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรค ทำให้มีความผิดปกติของผิวหนัง หรือปฏิกิริยาจากสารก่อภูมิแพ้หรือสารระคายเคือง  โดยมีอาการคันมาก เป็น ๆ หาย ๆ มักเริ่มเป็นตั้งแต่เด็ก วันนี้เรามาหาคำตอบกัน ทำไม? ลูกเป็นภูมิแพ้ผิวหนัง วิธีดูแลลูกเป็นภูมิแพ้ผิวหนัง

 

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง คืออะไร?

Atopic Dermatitis หรือ โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ที่เป็น ๆ หาย ๆ และพบได้บ่อยในเด็ก

 

ลักษณะผื่นของ โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นอย่างไร?

ลักษณะผื่นของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเป็นได้ตั้งแต่ผื่นแห้งขุย ผื่นแดง ตุ่มน้ำ มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม หรือผื่นหนาคัน ขึ้นอยู่กับระยะของโรค โดยผื่นมักจะขึ้นอย่างสมดุล ซ้าย – ขวา และมีการกระจายของผื่นที่จำเพาะในวัยต่าง ๆ คือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ช่วงวัยทารก ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง มักเป็นบริเวณแก้ม คอ ใบหน้า หนังศีรษะ หรือบริเวณแขนขา
  • วัยเด็กโต ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง มักเป็นตามข้อพับแขนขา หลัง ข้อมือ ข้อเท้า
  • วัยผู้ใหญ่ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง มักจะเป็นอยู่เฉพาะบริเวณที่ถูกระคายเคืองบ่อยหรือมีการเกาได้ง่าย เช่น มือ เท้า แขน และต้นคอ

 

จะทราบได้อย่างไรว่าลูกเป็น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง?

การวินิจฉัยโรคนี้ ส่วนใหญ่อาศัยอาการของโรค การตรวจทางห้องปฏิบัติการจะทำเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องการหาสาเหตุกระตุ้นให้เกิดอาการ ได้แก่ การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin prick test) และการหาระดับสารภูมิคุ้มกันชนิด ไอจีอี (IgE) ต่อสารก่อภูมิแพ้ในเลือด เป็นต้น

 

สิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมีอะไรบ้าง?

มีการศึกษาพบว่าทารกและเด็กเล็กที่เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังซึ่งมีความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมากจะมีการแพ้อาหารร่วมด้วย 30 – 40% โดยสารก่อภูมิแพ้จากอาหารจะกระตุ้นให้ผื่นกำเริบขึ้น อาหารที่พบว่าเป็นสาเหตุบ่อย ได้แก่ นมวัว ไข่ ถั่วเหลือง แป้งสาลี และถั่วลิสง ส่วนสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ได้แก่ ไรฝุ่น แมลงสาบ ขนหรือรังแคสัตว์ เชื้อรา ละอองเกสรต้นไม้หรือหญ้าก็สามารถกระตุ้นให้อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังกำเริบได้เช่นกัน นอกจากนี้การติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา และปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความร้อนหรือเย็นเกินไป เป็นผลทำให้มีเหงื่อหรือผิวแห้ง การเกา สารระคายเคืองผิวหนัง เช่น ฝุ่น  PM2.5 น้ำยาซักผ้า สบู่ แป้งหรือโลชั่นบางชนิด รวมทั้งความเครียด ก็สามารถกระตุ้นให้ผื่นกำเริบได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การดูแลผิวหนังเบื้องต้น

  • เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง โดยใช้สบู่ที่อ่อนโยน และ หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนเพราะจะทำให้ผิวแห้งมากขึ้น รวมถึงทาครีมหรือโลชั่นที่ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นไว้
  • หลีกเลี่ยงการใช้เสื้อผ้าเนื้อหยาบ หรือ สัมผัสสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้โรคกำเริบ
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • ตัดเล็บให้สั้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การดูแล โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ควรทำอย่างไร?

หากคุณพ่อคุณแม่ทราบว่าลูกเป็นโรคโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังนี้ และมีอะไรเป็นสิ่งกระตุ้น ก็ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นนั้น ๆ ค่ะ และที่สำคัญควรดูแลผิวหนังอย่าให้แห้งหรือระคายเคือง ได้แก่ หลีกเลี่ยงอาบน้ำที่อุ่นหรือร้อน เลี่ยงการใช้หรือสัมผัสสิ่งระคายเคือง เช่น สบู่บางชนิด ผงซักฟอก นอกจากนี้ควรใช้สารเคลือบผิว (Emollients) ในรูปแบบของ โลชั่น ครีม ในกรณีที่ผิวแห้งมาก ทาผิวหนังทันทีหลังอาบน้ำโดยการซับตัวให้แห้งหมาดๆแล้วรีบทาภายใน 3 นาที ก่อนน้ำที่ผิวจะระเหย หากมีผื่นกำเริบควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำในการใช้ยา

 

วิธีป้องกันภูมิแพ้ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้ลูกรักสุขภาพดี และช่วยลดความเสี่ยงโรคภูมิแพ้ในอนาคต

คุณแม่สามารถป้องกันลูกไม่ให้เกิดภาวะเสี่ยงภูมิแพ้ชนิดต่าง ๆ รวมถึงภูมิแพ้ผิวหนัง ด้วยการดูแลเรื่องโภชนาการลูกตั้งแต่เริ่มแรก ด้วยการให้นมแม่ เพราะนมแม่มีคุณสมบัติ Hypo-Allergenic ( H.A. ) ช่วยลดความเสี่ยงภูมิแพ้ เพราะนอกจากนมแม่จะมีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิดแล้ว  โปรตีนในนมแม่บางส่วน มี PHP หรือ Partially Hydrolyzed Proteins ซึ่งเป็นโปรตีนที่ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลงด้วยเอ็นไซม์ตามธรรมชาติในนมแม่รวมทั้งมีโพรไบโอติกหลายชนิด เช่น Bifidus BL (บิฟิดัส บีแอล)  ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ โดยสังเกตได้จากทารกที่ได้รับนมแม่อย่างเหมาะสมจะมีการเกิดภูมิแพ้น้อยกว่า และมีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่า   แต่ในกรณีที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้นั้น   ควรปรึกษาแพทย์เพื่อแนะนำข้อมูลสำหรับเด็กที่เสี่ยงเป็นภูมิแพ้

สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือเพิ่งคลอดลูก อย่ากังวลมากจนเกินไป เพราะโรคภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก มีวิธีป้องกันเบื้องต้น ตลอดจนวิธีดูแลได้ที่ N Sensitive Club

 

เอกสารอ้างอิง

  1. Dallas DC, et al. J Mammary Gland Biol Neoplasia. 2015 Dec;20(3-4):133-47.
  2. Dallas DC, et al. J Nutr. 2014 Jun;144(6):815-20
  3. Grönlund MM, et al. Clin Exp Allergy. 2007 Dec;37(12):1764-72.

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

10 อาหารคนท้องไตรมาสแรก  คนท้องไตรมาสแรกควรกินอะไรมาดูกัน!

ชาคริต แอน วางแผนอนาคต ทำสวนไว้ให้ลูก อนาคตจะได้เป็นเจ้าของสวนผลไม้
7 วิธีแก้เผ็ดแฟนไม่สนใจ ทำยังไงให้กลับมาสนใจ ไม่มองเราเป็น “ของตาย”

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

bossblink