โรคภูมิแพ้ในเด็ก: ป้องกันลูกจากโรคภูมิแพ้ได้หรือไม่?

โรคภูมิแพ้เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับเด็ก โดยเฉพาะครอบครัวที่ผู้ปกครองมีประวัติของโรคนี้ อัตราการเกิดภูมิแพ้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก...เพราะอะไร? แล้วจะลดความเสี่ยงเป็นภมิแพ้ของลูกน้อยได้อย่างไร มาดูวีดีโอนี้กันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคภูมิแพ้ในเด็ก: ป้องกันลูกจากโรคภูมิแพ้ได้หรือไม่?

โรคภูมิแพ้ในเด็ก: ป้องกันลูกจากโรคภูมิแพ้ได้หรือไม่?

 

สังเกตอย่างไรว่าลูกเป็นภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในปัจจุบันโดยเฉพาะในเด็ก คุณพ่อคุณแม่อาจเคยสงสัยว่าลูกเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่ สังเกตอย่างไรว่าลูกเป็นภูมิแพ้ คุณหมอจึงมีวิธีในการทดสอบอย่างไรว่าลูกเป็นภูมิแพ้ มาฝากกันค่ะ

อาการเช่นไรจึงควรสงสัยว่าลูกเป็นโรคภูมิแพ้?

หากลูกมีอาการเหล่านี้ อาจเกิดจากโรคภูมิแพ้ได้ค่ะ

  • เป็นหวัดบ่อยๆหรือเป็นหวัดไม่ยอมหายสักที
  • จามบ่อย น้ำมูกไหล คัดจมูก คันคอ หรือมีเสมหะลงคอ โดยเฉพาะเวลาอากาศเปลี่ยน
  • ไซนัสอักเสบ ปวดศีรษะบ่อยๆ
  • มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจบ่อย
  • คันตา น้ำตาไหล ขยี้ตาบ่อยๆ
  • มีผื่นคันที่ผิวหนังแบบเรื้อรัง โดยเฉพาะบริเวณข้อศอก ข้อพับเข่า ผิวแห้งมากผิดปกติ
  • เป็นลมพิษบ่อยๆ
  • หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หายใจเสียงดังวี้ด ไอ โดยเฉพาะตอนกลางคืน หรือหลังออกกำลังกาย
  • หายใจไม่ออกร่วมกับไอมากบ่อยๆโดยเฉพาะในเวลากลางคืนหลังเที่ยงคืน
  • ทานอาหารบางชนิดแล้วมีอาการผิดปกติ เช่น ผื่นขึ้น ปากบวม ตาบวม แน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หน้ามืด เวียนศีรษะ

ซึ่งอาการเหล่านี้อาจมีสาเหตุจากโรคภูมิแพ้ที่พบบ่อยๆ อันได้แก่ จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ ผื่นผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ ลมพิษ โรคหืด แพ้อาหารค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สังเกตอย่างไรว่าลูกเป็นภูมิแพ้

มีวิธีการทดสอบอย่างไรบ้างว่าลูกเป็นโรคภูมิแพ้และแพ้อะไร?

วิธีการทดสอบภูมิแพ้ที่ใช้กันโดยทั่วไป มีดังนี้ค่ะ

1. การทดสอบหาสารก่อภูมิแพ้ โดยการสะกิดผิวหนัง (Skin prick test)

คือการนำน้ำยาสกัดจากสารก่อภูมิแพ้ชนิดต่างๆ มาทำการทดสอบที่ผิวหนังของผู้ป่วย เพื่อให้ทราบว่าแพ้สารใด ซึ่งเป็นการทดสอบที่มีความไวและความจำเพาะสูง ทำง่าย และราคาไม่แพง สามารถทราบผลได้ทันที ผู้ป่วยสามารถเห็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นด้วยตาของตนเอง มีขั้นตอน คือ การหยดน้ำยาที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ลงบนผิวหนังของผู้ป่วย ใช้เครื่องมือทดสอบ สะกิดที่ผิวหนังของผู้ป่วย (ท้องแขน สำหรับผู้ใหญ่และเด็กโต หรือที่หลัง สำหรับเด็กเล็กที่ไม่ค่อยร่วมมือ) อ่านผลหลังทำ 15-20 นาที หากผู้ป่วยแพ้สารก่อภูมิแพ้ใดก็จะเกิดปฎิกิริยาเป็นตุ่มนูนแดง คัน ในตำแหน่งที่ตรงกับสารก่อภูมิแพ้นั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. การทดสอบหาสารก่อภูมิแพ้ โดยการตรวจเลือด (Serum specific IgE)

เป็นการทดสอบเพื่อตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ ด้วยการเจาะเลือดเพื่อหาปริมาณอิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) ที่จำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด (Serum specific IgE) ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะกับการทำในผู้ป่วยที่ เป็นโรคผิวหนังหรือมีปฏิกริยาทางผิวหนังง่ายผิดปกติ ไม่ได้งดยาแก้แพ้มาก่อนตรวจ เด็กเล็ก และผู้มีโอกาสเกิดปฏิกริยารุนแรงจากสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งไม่สามารถทำการทดสอบด้วย skin prick test ได้ มีขั้นตอนเพียงการเจาะเลือดส่งตรวจ โดยเจาะเพียงครั้งเดียวก็สามารถตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ได้หลายชนิด แต่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการทดสอบ skin prick test และต้องรอผลการทดสอบ ประมาณไม่เกิน 1 สัปดาห์

3. การทดสอบการแพ้อาหาร

หากสงสัยว่าลูกแพ้อาหาร นอกจากประวัติ การตรวจร่างกายเพื่อหาอาการแสดงของระบบต่างๆ แล้ว สามารถทำได้โดยทำการทดสอบภูมิแพ้ เช่น การทดสอบทางผิวหนัง (skin test) หรือการตรวจเลือดหาปริมาณอิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) ที่จำเพาะต่ออาหารที่สงสัย เพื่อช่วยในการวินิจฉัย แต่หากทำทดสอบภูมิแพ้เหล่านี้แล้วได้ผลเป็นลบ คุณหมออาจพิจารณาทำทดสอบปฏิกิริยาการแพ้อาหาร โดยการทานอาหารนั้นทีละน้อย oral food challenge test) และค่อยๆ เพิ่มปริมาณอีกเท่าตัวทุก 15-30 นาที จนกระทั่งถึงปริมาณอาหารมาตรฐานสากลที่ไม่แพ้ ระหว่างการทดสอบ จะมีการบันทึกสัญญาณชีพเป็นระยะๆ รวมถึงสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการทดสอบ ซึ่งการทดสอบ oral food challenge test นี้จะพิจารณาทำในผู้ป่วยบางรายเท่านั้นเพื่อความปลอดภัย สำหรับผู้ป่วยเด็กอาจใช้ในกรณีที่ทำทดสอบ skin test หรือตรวจเลือดแล้วได้ผลบวกแต่สงสัยว่าผู้ป่วยไม่ได้แพ้จริง หรือ ติดตามว่าหายจากการแพ้อาหารนั้นแน่นอนแล้วหรือยัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากสงสัยว่าลูกเป็นโรคภูมิแพ้ ควรทำอย่างไร?

หากสงสัยว่าลูกเป็นโรคภูมิแพ้ ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัดตามที่หมอได้เล่ามาทั้งหมด เพื่อจะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่บางท่านมีความเข้าใจผิดว่าโรคภูมิแพ้เป็นโรคที่รักษาไม่หาย และซื้อยาแก้แพ้ให้ลูกรับประทานเองอย่างต่อเนื่องก็ไม่ดีขึ้น และในบางครั้งยังเกิดผลข้างเคียง เช่น อ่อนเพลีย ง่วงซึม ในความเป็นจริงแล้ว หากได้ทราบสาเหตุและแก้ไขอย่างเหมาะสม โรคภูมิแพ้ก็เป็นโรคที่สามารถรักษาหายได้หรือบางครั้งหากรักษาไม่หายสนิทก็สามารถควบคุมอาการให้มีชีวิตปกติได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องนะคะ

อีกหนึ่งวิธีที่จะแนะนำคุณพ่อและคุณแม่ในการป้องกันการเกิดภูมิแพ้ของลูกน้อยได้คือการให้ลูกกินนมแม่จนถึงอายุ 6 เดือนเป็นอย่างน้อย เพราะโปรตีนในนมแม่คือโปรตีนที่มีคุณภาพ เพราะมีปริมาณที่เหมาะสม ส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่แต่ไม่ส่งผลให้ไตทำงานหนักเกินไป อีกทั้งนมแม่ยังมีโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน และมีเวย์โปรตีนสูง ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพ เพราะย่อยง่าย ดูดซึมไปใช้ได้ง่าย และอ่อนโยนต่อระบบย่อยอาหารของลูกน้อยอีกด้วย แต่ในบางกรณีที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างเต็มที่ คุณแม่จึงควรคัดเลือกนมที่มีโปรตีนคุณภาพ คือมีเวย์โปรตีนที่สูงและเป็นโปรตีนที่ผ่านกระบวนการย่อยบางส่วนหรือผ่านกระบวนการไฮโดรไลซ์ที่ทำให้โปรตีนมีขนาดเล็กลงเพราะลูกน้อยจะได้รับโปรตีนที่อ่อนโยนกับระบบย่อยอาหารและดูดซึมได้ง่าย และที่สำคัญคือจากการวิจัยยังค้นพบว่า โปรตีนนมวัวที่ผ่านการย่อยบางส่วนหรือผ่านกระบวนการไฮโดรไลซ์มีประสิทธิภาพช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดการแพ้ของลูกน้อยได้

#เพื่อทุกก้าวที่เติบโตของลูก #เวย์โปรตีนที่ย่อยบางส่วน #โปรตีนที่ย่อยบางส่วน

ฮัดจิ๋ว! ได้ยินเสียงลูกน้อยไอจาม น้ำมูกไหล งอแงบ่อยๆ พ่อแม่บางคนคิดว่าลูกคงแค่เจ็บป่วยเป็นปกติ พอแข็งแรงก็คงหาย เป็นอาการติดเชื้อที่เด็กเล็กเป็นกันได้บ่อยๆ แต่ในหลายกรณีอาจตรวจพบภายหลังว่าเกิดจากโรคภูมิแพ้ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องก็มักจะลุกลามไปสู่อาการแพ้อื่นๆ ในระยะยาว หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า allergic march

ลูกเป็นภูมิแพ้ อาจเกิดจากพันธุกรรม

ปัจจัยหลักที่ทำให้เด็กเป็นภูมิแพ้ เกิดได้ทั้งจากการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญยังเกิดได้จากพันธุกรรมที่พ่อแม่มีภูมิแพ้ซ่อนอยู่ในตัวและส่งต่อถึงลูก ซึ่งในกรณีนี้พ่อแม่สามารถเช็คความเสี่ยงภูมิแพ้ได้ง่ายๆ จากตัวพ่อแม่เองตั้งแต่ลูกอยู่ในท้อง ว่าลูกจะมีโอกาสเป็นภูมิแพ้มากแค่ไหน จะได้หาวิธีรับมือหรือป้องกันภูมิแพ้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

https://www.nutriciaallergyexpert.com/allergy-testing/
โดยจากการศึกษาพบว่า ถ้าพ่อแม่เป็นภูมิแพ้และมีอาการดียวกัน ลูกจะมีโอกาสเป็นภูมิแพ้ได้มากขึ้นถึง 60-80% แต่ถ้าคนหนึ่งคนใดเป็นภูมิแพ้ ลูกก็จะมีโอกาสเป็นภูมิแพ้สูงถึง 20-40% หรือแม้แต่พ่อและแม่ที่ไม่เป็นภูมิแพ้เลยลูกก็มีโอกาสเป็นภูมิแพ้ได้ถึง 5-15%

อาการแพ้ในเด็ก อาจทำลูกแพ้ไปตลอดชีวิต

อาการภูมิแพ้ระยะยาวหรือ allergic march อาจเริ่มแสดงอาการให้เห็นตั้งแต่แรกเกิด สิ่งที่ไปกระตุ้นให้เด็กเกิดโรคภูมิแพ้ได้ง่ายที่สุดก็มักเกิดจากอาหารที่เด็กกินเข้าไป โดยเฉพาะการแพ้โปรตีนนมวัว ที่พบได้บ่อยๆในเด็กทารกที่ทานนมแม่ไม่ได้ อาการต่างๆ อาจไม่ได้เกิดอาการครั้งแรกที่ได้รับนมวัว แต่ในครั้งต่อๆมาจะพบอาการชัดขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมก็จะมีความรุนแรงและลุกลามมากขึ้นได้ เช่น มีผื่นขึ้นตามตัว ผื่นคันแดงเรื้อรัง หรือมีน้ำมูกเรื้อรัง ถ่ายเหลวเป็นมูกเลือด บางคนแพ้เฉียบพลันอาจอันตรายถึงชีวิตได้

และเมื่อเด็กโตขึ้นจนถึงวัยเรียน เด็กก็จะยิ่งมีโอกาสสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้มากขึ้นๆ ทำให้ยิ่งลุกลามไปสู่การแพ้อื่นๆ ตามมา เช่น แพ้ฝุ่นควัน เกสรดอกไม้ หอบหืด และกระทบกับการดำเนินชีวิตมากขึ้นจนถึงตอนโต

วิธีป้องกันลูกน้อยเป็นภูมิแพ้ ตั้งแต่ขวบปีแรก

เพื่อลดความเสี่ยงการเป็นภูมิแพ้ที่ส่งผลกระทบต่อลูกในระยะยาว ทั้งด้านสุขภาพและผลข้างเคียงต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย คุณพ่อคุณแม่จึงควรอย่างยิ่งในการให้ความสำคัญกับ “การป้องกัน” และรู้ทันภูมิแพ้เพื่อการดูแลลูกได้อย่างดีที่สุด


Ÿ เช็คความเสี่ยงภูมิแพ้จากประวัติครอบครัว ตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์หรือเร็วที่สุด
Ÿ เลือกให้นมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนแรก โปรตีนในนมแม่จะไม่ไปกระตุ้นการเกิดภูมิแพ้ และองค์ประกอบอื่น เช่น พรีไบโอติก ยังช่วยสร้างภูมิต้านทาน ให้ลูกแข็งแรงขึ้นและทนต่อสารแปลกปลอมได้ดีขึ้น
Ÿ หากคุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้จากสาเหตุต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาการให้โภชนาการกับลูก ด้วยวิธีป้องกันลูกน้อยเป็นภูมิแพ้ (HA – Hypoallergenic) ที่มีการย่อยโปรตีนนมวัวให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งจะลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้ลงได้
Ÿ จัดบ้านหรือสภาพแวดล้อมให้มีสารก่อภูมิแพ้น้อยที่สุด เช่น ไม่สูบบุหรี่ในบ้าน ทำความสะอาดบ้านสม่ำเสมอ เพื่อลดปริมาณฝุ่นและสารก่ออาการแพ้ต่างๆ
Ÿ หากลูกไม่สบายบ่อยๆ หรือสงสัยว่าลูกมีอาการของโรคภูมิแพ้หรือไม่ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้รู้ล่วงหน้าเร็วที่สุด

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เลี้ยงลูกแล้วเครียด มีวิธีอะไรช่วยบรรเทาความเครียดได้บ้าง?

ลาออกมาเลี้ยงลูกดีไหม หรือว่าให้ปู่ย่าตายายเลี้ยงให้ดี เลือกแบบไหนดีกว่ากัน

เลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี มีอีคิวสูง 10 วิธีเลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี มีอีคิวสูง (E.Q.)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team