ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM 2.5 มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร แล้วเป็นอันตรายต่อลูกมากแค่ไหน คุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงอันตรายจากฝุ่นควันให้กับลูกอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อมกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลายคนอาจทราบดีแล้วว่า PM 2.5 คือ ฝุ่นอนุภาคขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์ เช่น การเผาไหม้ของรถยนต์ การเผาสิ่งปฏิกูล การเผาในพื้นที่เกษตร ควันบุหรี่หรือควันธูป รวมถึงฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง เป็นต้น เนื่องจากอนุภาคของฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก จึงทำให้สามารถเข้าสู่ร่างกายของเราได้ง่ายผ่านระบบทางเดินหายใจ และสามารถเข้าไปลึกถึงปลายสุดของถุงลมในปอด ส่งผลให้ฝุ่นจิ๋วเหล่านี้เข้าไปรบกวนและทำลายการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ก่อให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินหายใจ สร้างความเสียหายต่อสุขภาพได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี และเด็กที่เป็นภูมิแพ้หรือเป็นโรคหอบหืด ซึ่งร่างกายจะไวต่อการกระตุ้น และอาการจะแย่ลงอย่างรวดเร็วและง่ายกว่าคนทั่วไป

 

ผลกระทบของ PM2.5 ต่อสุขภาพของเด็ก โดยคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเป็นภูมิแพ้ ควรใส่ใจ??

เมื่อร่างกายของลูกได้รับฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 สะสมอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลเสียต่อร่างกายและพัฒนาการของลูกหลายด้าน ดังนี้

  • ฝุ่นจะกระตุ้นให้เด็กมีความเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้และหอบหืดได้มากกว่าปกติ หรือหากลูกเป็นภูมิแพ้ทางเดินหายใจอยู่แล้ว เมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน ร่างกายจะมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและรวดเร็วกว่าคนทั่วไป เช่น แน่นหน้าอก แสบตา น้ำตาไหล ตาแดง หายใจเร็วเฉียบพลัน ไอบ่อย หายใจลำบาก และอาจมีเลือดกำเดาออกได้
  • เสี่ยงเกิดภาวะโรคผื่นผิวหนัง เนื่องจากผิวหนังของเด็กมีความบอบบางและไวต่อสารก่อภูมิแพ้ และเมื่อได้สัมผัสกับฝุ่นจิ๋วอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติ มีอาการคัน และเกิดผื่นแดงได้
  • ฝุ่นจิ๋วทำให้สมรรถภาพปอดของเด็กลดลง เกิดอาการหายใจไม่ทั่วท้อง และในระยะยาวจะก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบ และอาจร้ายแรงถึงขั้นเป็นโรคมะเร็งปอดได้ในอนาคต
  • ร่างกายของเด็กสามารถดูดซึมฝุ่นเข้าไปในกระแสเลือด และแทรกซึมเข้าสู่ระบบประสาทและสมอง ส่งผลให้เซลล์สมองผิดปกติและถูกทำลาย ทำให้เสี่ยงมีพัฒนาการช้า มีปัญหาการพูดและการฟัง และอาจเป็นโรคสมาธิสั้นได้

 

แนวทางดูแลสุขภาพของลูกให้ปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5 และป้องกันผลกระทบจากอาการ ลูกเป็นภูมิแพ้

  • ในช่วงที่มีค่าฝุ่นสูงกว่าค่ามาตรฐาน ควรให้เด็ก ๆ งดทำกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด 
  • ปิดประตูหน้าต่างให้สนิท เพื่อป้องกันฝุ่นละอองเข้าบ้าน 
  • ใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีคุณสมบัติกรองอณูฝุ่น PM 2.5 ได้ 
  • ฝึกให้ลูกใส่หน้ากากอนามัย N95 ขณะออกจากบ้าน ฝึกบ่อย ๆ จนเกิดความเคยชิน 
  • หากจำเป็นต้องออกนอกอาคาร แนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัย N95 อย่างถูกวิธีโดยที่แนบปากและจมูกอย่างมิดชิด
  • สำหรับเด็กที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคหอบหืด ควรทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันอาการกำเริบ และช่วยลดความรุนแรงของโรคให้ได้มากที่สุด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ป้องกัน ลูกเป็นภูมิแพ้ ตั้งแต่แรกเริ่มด้วย “นมแม่” ที่มีสารอาหารสำคัญหลายชนิด

นอกเหนือจากแนวทางป้องกันข้างต้นแล้ว คุณแม่ยังสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงไม่ให้ลูกเป็นภูมิแพ้ตั้งแต่แรกเริ่ม ด้วยการดูแลให้ลูกได้รับโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับทารก นั่นคือ “นมแม่” เพราะนมแม่นอกจากประกอบไปด้วยสารอาหารมากกว่า 200 ชนิดแล้ว  โปรตีนในนมแม่บางส่วนมี PHP หรือ Partially Hydrolyzed Proteins และ 2’FL ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญ ที่มีงานวิจัยพบว่า ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภูมิแพ้ได้

อย่างที่กล่าวไปคือ โปรตีนในนมแม่บางส่วนมี PHP หรือ Partially Hydrolyzed Proteins ซึ่งเป็นโปรตีนที่ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลงด้วยเอ็นไซม์ตามธรรมชาติ ทำให้ลูกสามารถย่อยได้ง่าย และดูดซึมได้ดีกว่าโปรตีนทั่วไป และส่งผลดีต่อเด็กในช่วง 6 เดือนแรก ซึ่งเยื่อบุทางเดินอาหารยังไม่แข็งแรง ระบบการย่อยยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น การดูแลให้ลูกได้รับคุณค่าทางโภชนาการจาก นมแม่ซึ่งมีสารอาหารหลากหลาย รวมทั้ง โปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วนนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันโรคภูมิแพ้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ในน้ำนมแม่ยังมี 2’FL หรือโอลิโกแซ็กคาไรด์ที่เป็นพรีไบโอติกชนิดที่พบมากที่สุดในนมแม่ และโพรไบโอติกส์อีกหลายสายพันธุ์ เช่น บิฟิดัส บีแอล ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ได้เป็นอย่างดี 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพราะฉะนั้นควรให้นมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก และให้ต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัย ไปจนถึงลูกอายุ 2 ขวบ หรือนานกว่า หรือหากมีความจำเป็นด้านสุขภาพทำให้ไม่สามารถให้ลูกทานนมแม่ได้ ก็สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำสำหรับโภชนาการในเด็ก สำหรับการเสริมสร้างความแข็งแรงและภูมิคุ้มกันลูกให้ดีตั้งแต่วัยแรกเริ่ม เปรียบเสมือนการสร้างเกราะคุ้มกันที่แข็งแกร่งให้กับลูกในอนาคต และลดโอกาสเกิดภูมิแพ้ชนิดต่าง ๆ รวมทั้งลดความเสี่ยงการได้รับผลกระทบทางร่างกายที่รุนแรงที่มาจากฝุ่น PM 2.5 อีกด้วย 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันโรคภูมิแพ้ในเด็กเพิ่มเติม สามารถอ่านข้อมูลต่าง ๆ ได้ ที่นี่ 

 

เอกสารอ้างอิง

  1. https://www.paolohospital.com/th-TH/kaset/Article/Details/Last/PM-2-5-%E0%B8%9D%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8
  2. https://www.chula.ac.th/wp-content/uploads/2019/10/Chula-PM25.pdf
  3. https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/pm2_5%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81
  4. https://www.phyathai.com/article_detail/2923/th/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9D%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99_PM_2.5_%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8
  5. Dallas DC, et al. J Mammary Gland Biol Neoplasia. 2015 Dec;20(3-4):133-47.
  6.  Dallas DC, et al. J Nutr. 2014 Jun;144(6):815-20
  7.  Gueimonde M, et al. Neonatology 2007;92:64–66 .
  8. Sprenger N, et al. Eur J Nutr (2017) 56:1293–1301
  9. Floch MH, et al. J Clin Gastroenterol 2015;49:s69-s73

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team