เคยสงสัยไหมคะว่าทำไมผู้ชายจึงมีหัวนม? ถ้าเคยแสดงว่าคุณมีระดับความอัจฉริยะเทียบเท่าอริสโตเติลและชาร์ล ดาร์วิน เลยล่ะ เพราะเขาทั้งสองก็เคยสงสัยในเรื่องนี้เหมือนกัน
คำตอบมีอยู่ที่ ชนเผ่าอาข่าในแอฟริกากลาง
ด้วยความที่พวกเขาไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเลี้ยงลูกอย่างคนเมือง คนเหล่านี้ใช้หัวนมของพวกเขา (อย่างสมเหตุสมผลมาก) ในการปลอบทารกเวลาที่แม่ไม่อยู่
“สุดยอดคุณพ่อที่ดีที่สุดในโลก”
ศาสตราจารย์ แบรีย์ ฮิวเล็ต นักมานุษยวิทยา ได้เข้าไปใช้ชีวิตอยู่กับชนเผ่าอาข่าเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของพวกเขา
เขาสังเกตเห็นว่า บางครั้งทารกชาวอาข่าก็ดูดนมจากเต้าของผู้เป็นพ่อ
แต่ศาสตราจารย์ก็ไม่ได้แปลกใจมากนักกับสิ่งที่เขาได้เห็น เพราะเขาตระหนักว่าชาวอาข่าเป็นกลุ่มคนที่มีความเสมอภาคในการเลี้ยงดูลูกมากกว่าคนกลุ่มอื่นที่เขาเคยศึกษามา
จากข้อมูลที่เขาได้รวบรวมไว้มากกว่า 20 ปีแสดงให้เห็นว่า “พ่อชาวอาข่า ใช้เวลามากถึง 47% ในการดูแลทารก” ซึ่งมากกว่าพ่อในวัฒนธรรมอื่นๆ บนโลกใบนี้
ชาวอาข่าเลี้ยงดูลูกด้วยความเสมอภาคอย่างแท้จริง
บทบาทของเพศชายและเพศหญิงในชนเผ่าอาข่าสับเปลี่ยนกันได้ บางทีผู้หญิงก็ออกไปล่าสัตว์ หาสถานที่ตั้งแคมป์ ในขณะที่ผู้ชายดูแลลูกและทำกับข้าว
พวกเขามีการกำหนดหน้าที่หลักของผู้หญิงและผู้ชาย เช่น ผู้หญิงมีหน้าที่หลักในการดูแลคนในครอบครัว แต่ก็อยู่ในระดับที่ยืดหยุ่นมาก พ่อสามารถเข้าไปสวมบทบาทแม่ โดยไม่ต้องคิดรอบสอง และไม่กลัวว่าจะสูญเสียสถานะใดๆ ของเพศชาย ไม่เกี่ยงงอนที่จะมีส่วนร่วมในงานที่แตกต่างกัน
ชาวอาข่าใช้ความใกล้ชิดทางร่างกายในการเลี้ยงดูลูกน้อย ทารกจะแนบชิดกับร่างกายของพ่อแม่เกือบตลอดเวลา
เตียงเด็กไม่จำเป็น เพราะพวกเขาไม่เคยที่จะปล่อยให้ลูกห่างตัวเลยแม้ในเวลานอน พวกเขาอุ้มลูกไว้ตลอดเวลา
บทเรียนสำหรับพ่อแม่
การเลี้ยงดูลูกของพ่อชาวอาช่าสอนพ่อสมัยใหม่มากมาย ศาสตราจารย์กล่าวว่า “ถึงพ่อจะสามารถสร้างสิ่งอำนวยความในการเลี้ยงลูกได้มากมาย แต่เราไม่ควรประเมินความสำคัญของสัมผัสและการโอบกอดด้วยความรักต่ำเกินไป”
และในยุคที่ความใกล้ชิดระหว่างพ่อกับลูกนั้นเหมือนจะกลายเป็นความห่างไกล และบางครั้งการที่พ่อแสดงความรักกับลูกอย่างใกล้ชิด กลายเป็นถูกมองว่าคิดไม่ดีกับเด็ก การเรียนรู้จากพ่อชาวอาข่าอาจจะช่วยเปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับพ่อสมัยใหม่ได้ไม่น้อย
ทำไมไม่ลองอุ้มลูกให้มากขึ้น สัมผัสเขาให้มากขึ้น แล้วมาเล่าให้เราฟังว่า คุณรู้สึกอย่างไร? ที่คอมเมนต์ด้านล่างนี้
ที่มา : https://sg.theasianparent.com/
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
14 ข้อที่จะบอกว่าคุณเป็น “พ่อแม่รังแกฉัน” กันหรือเปล่า