มาดูกันว่า พ่อแม่ผู้ปกครองในเอเชีย มี วิธีการสอนลูกเรื่องเงิน อย่างไร

การสอนลูกเรื่องเงินในเอเชียแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ นี่คือข้อมูลเชิงลึก ผลสำรวจที่น่าสนใจ และข้อเปรียบเทียบที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เคยสงสัยไหมว่า วิธีการสอนลูกเรื่องเงิน ในแต่ละประเทศในเอเชียแตกต่างกันอย่างไร มาดูกันเลย

 

ในอดีต พ่อแม่ผู้ปกครองในเอเชียมัก ใช้อำนาจ” ในการสอนลูก แต่เรารู้ว่ามันก็ไม่ใช่แบบนั้นเสมอไป ซึ่งแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นพ่อแม่ผู้ปกครองของแต่ละบ้านก็มี วิธีการสอนลูกเรื่องเงิน ไม่เหมือนกันด้วย 

ในการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับ วิธีการสอนลูกเรื่องเงิน ในเอเชีย จัดทำโดยอีสต์สปริง อินเวสต์เมนต์ส ได้สำรวจกลุ่มคน 10,000 คน ใน 9 ประเทศจากกลุ่มอาเซียน ทำให้พบสิ่งที่น่าสนใจมาก ๆ เกี่ยวกับความแตกต่างของ วิธีการสอนลูกเรื่องเงินในเอเชีย ดังนี้

 

1. พ่อแม่ผู้ปกครองในเอเชียให้นิยามคำว่า ความสำเร็จในการสอนลูกเรื่องเงินหลากหลายแบบมาก

ในฐานะพ่อแม่ผู้ปกครอง เราอยากส่งต่อทัศนคติ และความคิดเรื่องการเงินไปสู่ลูกอย่างจริงใจ เพื่อที่จะโน้มน้าวพฤติกรรมทางการเงินในอนาคต ให้เป็นไปในทางบวก

แม้ว่าเราจะอยู่ในภูมิภาคเอเชียกันหมด แต่สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองในแต่ละประเทศเห็นว่า เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จในการสอนลูกเรื่องเงินนั้น ไม่เหมือนกัน ค่านิยมและทัศนคติของแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกัน ทำให้รูปแบบของผลลัพธ์ที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องการนั้น แตกต่างหลากหลายกันออกไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ในแต่ละวัฒนธรรม เด็ก ๆ เริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับเงินในช่วงอายุที่ต่างกันออกไป

3. พ่อแม่ผู้ปกครองในเอเชียจำนวนมากเชื่อว่าเนื้อหาดิจิทัล (โทรทัศน์ แอปพลิเคชัน และเว็บไซต์) เป็นเครื่องมือสอนลูกเรื่องเงินที่มีประโยชน์

พ่อแม่ผู้ปกครองเชื่อว่าเนื้อหาดิจิทัลเป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองในมาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย เวียดนาม และจีน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พ่อแม่ผู้ปกครองในเวียดนามชื่นชอบโทรทัศน์มาก ๆ โดย 54% เชื่อว่ารายการโทรทัศน์สำหรับเด็กที่สนุกและให้ความรู้ จะเป็นเครื่องมือที่ดีที่จะช่วยพวกเขาสอนลูกให้ใช้เงินและบริหารเงินได้ดียิ่งขึ้น

จากการเติบโตของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่สัญชาติจีนที่ขยายไปทั่วโลก ไม่แปลกใจเลยที่พ่อแม่ผู้ปกครองในจีน 42% อยากได้แอปที่จะช่วยในการเรียนรู้ของลูก

ในทางกลับกันแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ มีพ่อแม่ผู้ปกครองในญี่ปุ่นแค่ 5% ที่คิดว่าเว็บไซต์จะเป็นประโยชน์ ซึ่งนี่เป็นข้อมูลทางสถิติที่น่าสนใจ เมื่อดูจากสังคมญี่ปุ่นที่เก่งเรื่องเทคโนโลยีและอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่สูง

โดยทั่วไป จากพ่อแม่ผู้ปกครองทั้งหมดที่ทำแบบสำรวจ มี 43% ที่เห็นด้วยว่าการเรียนรู้เรื่องการจัดการการเงินด้วยตัวพวกเขาเอง จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยลูก หลายคนรู้ว่า ไม่มีวิธีที่ตายตัวสำหรับทุกคน และอยากจะเพิ่มเติมความรู้ให้เป็นครูที่ดีและเป็นต้นแบบของลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. สิ่งสำคัญสุดที่พ่อแม่ผู้ปกครองในเอเชียอยากให้ลูกเรียนรู้ แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ในเอเชีย จัดลำดับความสำคัญ และให้การเรียนรู้เรื่องคุณค่าของเงินมาเป็นอันดับต้น ๆ ยกเว้นใน 3 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ไต้หวัน และจีน

 

 

คุณสอนลูกเรื่องเงินแบบไหน

ในเอเชีย มีวิธีหลายรูปแบบบในการสอนลูกเรื่องเงิน ไม่มีวิธีที่สามารถใช้ได้กับทุกคน พ่อแม่ผู้ปกครองคนอื่นอาจจะมีเป้าหมายและมีความคิดเหมือนกับคุณ แต่ว่าเลือกใช้วิธีที่ต่างกัน และนั่นก็นำไปสู่เรื่องที่ว่า คุณมีวิธีสอนลูกเรื่องเงินในรูปแบบไหน แบบสำรวจการสอนลูกเรื่องเงินในเอเชียจำแนกออกเป็น 5 รูปแบบ นั่นคือ

  • แบบนักสำรวจ
  • แบบผู้พิทักษ์
  • แบบผู้สั่งสอน
  • แบบผู้กล้าได้กล้าเสีย
  • แบบผู้สมดุล

 

สรุปสั้น ๆ รูปแบบดังกล่าวนี้สามารถทำได้โดย

  • พ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องการยื่นมือเข้าไปช่วยและสอนอย่างใกล้ชิด เทียบกับอีกกลุ่มที่เชื่อว่าลูกเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากประสบการณ์จริง
  • กลุ่มที่มองว่าการสอนลูกเรื่องเงินเป็นสิ่งจำเป็นมาก เทียบกับอีกกลุ่มที่ไม่คิดว่าจำเป็นขนาดนั้น
  • พ่อแม่ผู้ปกครองที่เชื่อว่ามีความรู้ด้านการเงินเพียงพอที่จะสอนลูก เทียบกับอีกกลุ่มที่ไม่คิดแบบนั้น
  • กลุ่มที่มองว่าตนเองเป็นครูที่ประสบความสำเร็จ เทียบกับอีกกลุ่มที่ไม่คิดแบบนั้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อยากว่าคุณเป็นพ่อแม่แบบไหน ลองทำแบบทดสอบดูสิ

 

จำไว้ว่าคุณไม่ได้โดดเดี่ยว และยังมีอะไรให้เรียนจากพ่อแม่ผู้ปกครองคนอื่น ๆ หรือจากแหล่งข้อมูลที่มี อย่างเช่นเว็บไซต์เกี่ยวกับการสอนลูกเรื่องเงินของเรา มาเสริมความรู้ให้ตัวคุณ และพัฒนาการสอนลูกเรื่องเงินไปด้วยกัน

 

 

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team