9 ปัญหายอดนิยม กับทางแก้ของแม่ให้นม

แม้การให้นมแม่เป็นกระบวนการทางธรรมชาติ แต่สำหรับบางคนมันอาจไม่ใช่เรื่องง่าย นี่คือ 9 ปัญหาที่แม่ให้นมพบบ่อยที่สุด พร้อมกับวิธีแก้ เพื่อช่วยให้คุณสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ

  1. เจ็บหัวนม

เป็นเรื่องปกติที่คุณอาจรู้สึกเจ็บหัวนม เมื่อคุณเริ่มให้นมลูกใหม่ๆ โดยเฉพาะถ้าเป็นลูกคนแรก แต่ถ้าลูกน้อยดูดนมแล้วคุณยังรู้สึกเจ็บนานกว่าหนึ่งนาที ควรตรวจสอบว่าลูกน้อยดูดนมถูกท่าแล้วหรือยัง

วิธีแก้ไข: พยายามให้ลูกน้อยดูดให้ลึกถึงลานนม หากลูกดูดแค่หัวนม ให้สอดนิ้วชี้ของคุณเข้าไปในปากของลูกน้อย หรือดึงคางลูกน้อยเบาๆ หรือรอจนกว่าลูกจะหาว เพื่อให้ลูกอ้าปากปล่อยเต้าของคุณ แล้วเปลี่ยนให้ลูกน้อยอยู่ในท่าที่ถูกต้อง โดยให้คางและจมูกของเขาสัมผัสเต้านมของคุณ ริมฝีปากของลูกน้อยคลุมมิดจนมองไม่เห็นหัวนมหรือบางส่วนของลานนม

หากลูกน้อยดูดนมในท่าที่ถูกต้องแล้ว แต่คุณยังคงเจ็บหัวนมอาจเป็นเพราะหัวนมแห้ง คุณแม่ให้นมควรใส่เสื้อผ้าหลวมๆ และหลีกเลี่ยงการดูสบู่บริเวณหัวนมค่ะ

  1. หัวนมแตก

ปัญหาหัวนมแตกสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ: เช่น ผิวแห้ง ปั๊มนมผิดวิธี หรือส่วนใหญ่มาจากการดูดนมผิดวิธี ในช่วงสัปดาห์แรกของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่คุณอาจมีการเสียเลือดเมื่อลูกน้อยของคุณเพิ่งเริ่มต้นที่จะเรียนรู้การดูดนม หรือคุณเพิ่งเริ่มต้นที่จะปั๊มนม การมีเลือดออกเพียงเล็กน้อยนั้นไม่เป็นอันตรายต่อทารกค่ะ

วิธีแก้ไข: ตรวจสอบท่าดูดนมของลูกน้อยให้ดูดลึกถึงลานนม และพยายามให้ลูกดูดบ่อยขึ้นแต่ใช้เวลาสั้นลง เพราะเมื่อลูกหิวน้อยลงการดูดจะนุ่มนวลขึ้น

การพยายามรักษาหัวนมแตกด้วยสิ่งต่างๆ ที่คุณจะหาได้ในบ้าน เช่น สบู่ แอลกอฮอล์ โลชั่น น้ำหอมไม่ใช่วิธีที่ดีเลย ควรล้างด้วยน้ำสะอาดหรือใช้น้ำนมของคุณเองทาบริเวณหัวนมแล้วทิ้งไว้ให้แห้งหลังจากการให้นม นอกจากนี้คุณสามารถทานยาแก้ปวดไม่รุนแรง เช่น พาราเซตามอล 30 นาทีก่อนการให้นม หรือลองใช้ครีมลาโนลินเพื่อรักษาอาการหัวนมแตก

บทความแนะนำ “เต้าอักเสบ น้ำนมน้อย หัวนมแตก ไม่ได้ทำให้ต้องหย่านม”

  1. ท่อน้ำนมอุดตัน

ท่อน้ำนมอุดตันทำให้น้ำนมไม่สามารถระบายออกได้เต็มที่ คุณอาจสังเกตเห็นนมเป็นก้อนแข็ง แดง และปวดระบม หากคุณเริ่มรู้สึกมีไข้และปวดเต้านมเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ ซึ่งคุณควรไปพบแพทย์ สิ่งสำคัญที่สุดคือพยายามอย่าทิ้งช่วงการให้นมนานเกินไป นอกจากนี้ ชุดชั้นในที่แน่นเกินไป ความเครียด (สิ่งที่แม่มือใหม่ทุกคนหลีกเลี่ยงได้ยาก) ยังสามารถส่งผลกระทบต่อการไหลของน้ำนมของคุณเช่นกัน

วิธีแก้ไข: พยายามพักผ่อนอย่างเพียงพอ (ควรให้คุณพ่อมาเปลี่ยนเวรบ้าง) นอกจากนี้ ลองปรึกษาคลินิกนมแม่เพื่อให้ความช่วยเหลือในการนวดเต้าเปิดท่อน้ำนมค่ะ

บทความแนะนำ ทำอย่างไรเมื่อท่อน้ำนมตัน (ทรมานที่สุด)

  1. คัดเต้านม/น้ำนมเยอะ

หากปล่อยให้เต้านมคัดจะทำให้ลูกน้อยดูดนมลำบาก เพราะความแข็งของเต้านมที่ไม่สัมพันธ์กับปากของลูก และความแรงของน้ำนมที่พุ่งใส่ลูกจนดูดไม่ทัน

วิธีแก้ไข: ลองปั๊มนมหรือบีบนมออกส่วนหนึ่งก่อนการให้นม เพื่อให้เต้านมอ่อนนุ่มขึ้น ลูกน้อยดูดได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญควรให้ลูกดูดนมบ่อยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเต้านมคัด

บทความแนะนำ อานุภาพ “กะหล่ำปลี” บรรเทาอาการ “คัดเต้า”

ติดตามปัญหาและวิธีแก้ของแม่ให้นมอื่นๆ คลิกหน้าถัดไป

  1. เต้านมอักเสบ

โรคเต้านมอักเสบ คือการติดเชื้อแบคทีเรียที่เต้านม โดยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ และปวดเต้านม เต้านมอักเสบเป็นเรื่องปกติที่พบได้ในช่วงไม่กี่สัปดาห์แรกหลังคลอด และอาจมีสาเหตุจากหัวนมแตก ท่อน้ำนมอุดตัน หรือคัดเต้านม

วิธีแก้ไข: รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ประคบร้อน และพยายามปั๊มนมหรือให้ลูกน้อยดูดจนเกลี้ยงเต้า ไม่ต้องกังวลในช่วงที่คุณมีอาการเต้านมอักเสบ คุณยังสามารถให้นมลูกน้อยได้อย่างปลอดภัยค่ะ

บทความแนะนำ เจ็บเต้านม ส่งสัญญาณอาการเต้านมอักเสบ

  1. เชื้อราในปาก

เชื้อราในปากขอลูกน้อยสามารถแพร่กระจายไปยังหน้าอกของคุณ และทำให้เกิดอาการคันไม่หยุดหย่อน ปวดระบม และบางครั้งอาจเป็นผื่น

วิธีแก้ไข: แพทย์จะให้ยาต้านเชื้อราสำหรับทาบนหัวนมของคุณและในปากของลูกน้อย ถ้าคุณไม่ได้รับการรักษาทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน คุณและลูกจะแพร่เชื้อราให้กันและทำให้การรักษาใช้เวลานานขึ้น

  1. น้ำนมน้อย

แม้ว่าการให้นมแม่เป็นกระบวนการของอุปสงค์ อุปทาน แต่หากคุณหมอพล็อตกราฟการเพิ่มน้ำหนักของเด็กที่ถูกเลี้ยงด้วยนมแม่แล้วพบว่าลูกของคุณน้ำหนักตกเกณฑ์ แสดงว่าคุณอาจมีปัญหาแล้วล่ะค่ะ

วิธีแก้ไข: น่าแปลกที่การดื่มน้ำ หรือทานอาหารเยอะๆ ไม่ได้ช่วยเพิ่มการผลิตนม แต่การให้ลูกน้อยดูดนมบ่อยๆและการปั๊มนมในระหว่างวันต่างหากที่สามารถช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้

บทความแนะนำ เพิ่มน้ำนมแม่ลูกอ่อน ด้วยเมนู ยำหัวปลีกุ้งสด ทำง่าย อร่อยมาก

  1. ลูกหลับคาเต้า

ในช่วง1-2 เดือนแรกหลังคลอด ลูกน้อยจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอน ดังนั้น การนอนหลับขณะที่ดูดนมจึงเป็นเรื่องธรรมดา ความใกล้ชิดเช่นนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย!

วิธีแก้ไข: เมื่อคุณเห็นว่าลูกน้อยเริ่มดูดช้าลงและตากำลังจะปิด ให้เอาเขาออกจากเต้า และพยายามจะกระตุ้นด้วยการจับเรอ จักจี้เท้าเบา ๆ หรือพูดคุยกับเขาในขณะที่ถูหลัง จากนั้นสลับมาดูดอีกเต้าหนึ่ง

โปรดจำไว้ว่าเมื่อโตขึ้น เขาจะตื่นได้นานขึ้นเองคะ ดังนั้นไม่ต้องเป็นกังวลนะคะ

  1. หัวนมบอด/บุ๋ม

หากไม่มั่นใจว่าคุณหัวนมบอดหรือเปล่า? ให้ลองจับลานนมของคุณนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ ถ้าหัวนมของคุณบุ๋มเข้าไปแทนที่จะยื่นออกมา แสดงว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของคุณจะท้าทายมากยิ่งขึ้น

วิธีแก้ไข: หมั่นดึงหัวนมให้ยื่นออกมาบ่อยๆ อาจแก้ไข หัวนมบอด ให้ดีขึ้นได้ หากหัวนมบอดเพียงข้างเดียวและลูกน้อยรู้สึกหงุดหงิดที่ดูดข้างนั้นแล้วน้ำนมไม่ออกเท่าอีกข้าง อาจทำให้ไม่ยอมดูดข้างที่หัวนมบอด คุณแม่อาจใช้วิธีปั๊มนมข้างที่หัวนมบอดเก็บไว้ให้ลูกทานในภายหลังแทน

และนี่คือปัญหายอดนิยมของคุณแม่ให้นมค่ะ หากคุณแม่มีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างได้ผล แบ่งปันข้อมูลของคุณเพื่อเป็นประโยชน์กับคุณแม่ท่านอื่นด้านล่างได้เลยค่ะ

ที่มา www.thebump.com

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

เรื่องควร-ไม่ควร ของแม่ให้นม

ให้นมลูก กินอะไรก็ห้ามไปหมด จริงหรือ?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!