7 เหตุผล เพราะอะไรพ่อแม่ถึงไม่อยากให้ลูกโต
เพราะเด็กๆ โตเร็วค่ะ เเละนั่นมันก็น่าใจหายไม่ใช่เหรอ เเต่ยังมีอีก 7 เหตุผล เพราะอะไรพ่อแม่ถึงไม่อยากให้ลูกโต ก็เพราะว่า…
1.เเต่งตัวเด็กๆ สนุกมาก
เด็กเล็กๆ เท่านั้นค่ะ ที่จะยอมใส่ชุดคอสตูมทั้งหลาย ทั้งชุดเเตงโม ชุดหมี ชุดลิง ทั้งหลาย เพราะพอลูกเริ่มรู้เรื่อง หรือเริ่มเข้าโรงเรียน เขารู้ว่าอะไรเป็นอะไรเเล้ว เมื่อนั้นความสนุกในการเเต่งตัวให้ลูกก็เริ่มหมดไปด้วย ยิ่งเด็กๆ ที่เริ่มเเต่งตัวตัวเอง หาชุดใส่เองได้เเล้ว คุณพ่อคุณเเม่ยิ่งไม่มีบทบาทไปกันใหญ่เลย
2.ทำอาหารให้กินง่ายมาก
อาหารเด็กๆ ไม่ต้องปรุงมาก ยิ่งช่วงก่อนเริ่มอาหารเสริม สิ่งที่คุณเเม่ต้องทำก็คือการเอาเข้าเต้าเท่านั้นเอง ไม่ต้องเตรียม ไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องเก็บล้าง เเถมยังกินได้ทุกที่ทุกเวลาอีกด้วยค่ะ
3.สะดวกในการพกพา
ยิ่งลูกตัวเล็กๆ ยิ่งพกพาง่ายมากๆ ค่ะ เเถมไม่ซนไม่วิ่งหนีไปไหนด้วย พาเข้าร้านอาหารได้อย่างสบายใจ ไปเที่ยวไกลๆ ก็ง่าย ไปช็อปปิ้งก็ชิลมาก นั่นก็เพราะยิ่งลูกเล็กๆ เวลากว่า 90% ของวันผ่านไปกับการนอนนั่นเอง เเถมเข้าร้านบุฟเฟ่ต์ก็ไม่เสียเงิน ไปเที่ยวก็ไม่เสียค่าตั๋ว ยิ่งโตยิ่งเปลืองค่ะ
4.กลิ่นเฉพาะที่พ่อแม่หลงไหล
ยิ่งเด็กนมเเม่ล้วน เวลาถ่ายหนักหรือถ่ายเบา ลูกจะมีกลิ่นเฉพาะตัวที่ไม่เหม็น (สำหรับพ่อเเม่รึเปล่าไม่รู้) เเละกลิ่นตัวที่เป็นกลิ่นเฉพาะตัว เวลาที่ลูกยิ่งโตกลิ่นเหล่านี้ยิ่งจางหายไปค่ะ
5.ดึงความสนใจก็ง่าย
เด็กๆ มักจะติดกับกับมุขง่ายๆ หรือเเค่การทำหน้าตาตลกๆ เบี่ยงเบนความสนใจก็ง่าย ของเล่นที่ดึงเขาไว้นานที่สุดคือพ่อแม่ เเต่ยิ่งโตยิ่งรู้มากค่ะ ไม่สนใจกับสิ่งเรียบง่ายเเล้ว ยิ่งเด็กที่เริ่มดูทีวีหรือเล่นมือถือเเทปเล็ตคอมพิวเตอร์เร็ว ยิ่งขาดความสนใจกับสิ่งเรียบง่ายรอบๆ ตัว
6.ฟัดกันไม่เคยพอ
การกอดการจูบการฟัดลูกไม่เคยพอค่ะ เเต่ยิ่งโต เเม้คุณพ่อคุณเเม่จะไม่พอ เเต่เด็กๆ ก็รำคาญเกินกว่าการกอดๆ หอมๆ ทั้งวัน (เฮ้อ อยากจะย้อนเวลาได้จริงๆ ค่ะ)
7.ใจหายเอาดื้อๆ
เเค่การไปเดย์เเคร์ เนิสเซอรี่ หรือโรงเรียน ก็ทำเอาพ่อแม่อย่างเราใจหายได้ง่ายๆ ค่ะ วันเวลาที่ตัวติดกันเป็นตังเม มันเพิ่งผ่านไปเเค่ไม่นาน หรือการยังจำวันที่คลอดลูกได้เหมือนเกิดขึ้นเมื่อวานเเม้จะผ่านมาเกือบสิบปี ยิ่งโตยิ่งหวง ยิ่งโตพ่อแม่ยิ่งสำคัญน้อยลง เเต่มันก็เป็นไปตามธรรมชาติ ที่เด็กๆ ต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มเเข็งเเละยืนให้ได้ด้วยตัวเอง เเต่ก็นั่นเเหละค่ะ ใจหายอยู่ดี
ที่มา Romper
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
18 ข้อที่พ่อแม่ควรพูดให้ลูกฟังก่อนโต
จิตใจ&อารมณ์ของทารกเติบโตไปพร้อมกับร่างกาย