จากการสำรวจขององค์กรที่ส่งเสริมพัฒนาการในเด็กในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า พ่อแม่กว่า 34% เข้าใจผิดคิดว่าสมองจะพัฒนาได้ดีที่สุดในช่วงอายุ 3-5 ปี แต่ความเป็นจริงแล้ว ช่วงเวลาสำคัญของการเรียนรู้และการพัฒนาสมองที่ได้ผลไวที่สุดคือในช่วงสามปีแรกของชีวิต[1]
ครูพิม ณัฏฐณี สุขปรีดี นักจิตวิทยาพัฒนาการ
ครูพิม ณัฏฐณี สุขปรีดี นักจิตวิทยาพัฒนาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศักยภาพเด็กเล็กและการเลี้ยงลูกเชิงบวก ที่ให้คำปรึกษามาแล้วกว่าพันครอบครัว ผู้เขียนหนังสือ “เลี้ยงลูกถูกสไตล์ ฉลาดได้ น่ารักด้วย” แนะสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเป็นเด็กเรียนรู้ไวไว้ ดังนี้
1. ช่างสงสัย
เด็กมีความสงสัยใครรู้ จะชอบรื้อ ชอบค้น และเมื่อโตขึ้นก็เริ่มแสดงพฤติกรรมช่างซัก ช่างถาม สะท้อนให้เห็นว่าเด็กมีพัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาที่ดี มีความสามารถในการแยกแยะได้ระหว่างสิ่งที่เคยรู้แล้วกับสิ่งใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีข้อมูล คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมพฤติกรรมนี้ได้โดยการเปิดโอกาสให้เด็กตั้งคำถาม ชักชวนให้เด็กคิดและสังเกตสิ่งรอบตัว รวมทั้งการพาเด็กๆ ไปเรียนรู้โลกกว้างและสัมผัสประสบการณ์ที่หลากหลาย
2. จำคำศัพท์ใหม่ๆ ได้เร็ว
พัฒนาการทางด้านภาษา เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกได้ถึงความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก โดยปกติ เด็กจะเริ่มสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่วในช่วงวัยประมาณ 3 ปีขึ้นไป แต่ในช่วงก่อนหน้านั้น คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้ว่า เด็กจดจำคำศัพท์ใหม่ๆ ได้เร็วหรือไม่ หรือบางครั้งเด็กมีการจดจำคำศัพท์ที่ได้ยินด้วยตนเองโดยที่เราไม่ได้สอน เช่น ได้ยินผ่านการสนทนาของผู้ใหญ่ ได้ยินผ่านสื่อต่างๆ เป็นต้น
3. มีความจำแม่น
เด็กที่เรียนรู้ได้เร็ว ไม่เพียงแต่จะมีความจำที่ดีในเรื่องของคำศัพท์หรือภาษาเท่านั้น แต่ยังมีความสามารถในการจดจำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นระยะเวลานานกว่าเด็กทั่วๆ ไปอีกด้วย โดยความจำในลักษณะนี้อาจจะไม่ได้เกิดขึ้น
เฉพาะเหตุการณ์ที่เด็กประทับใจเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเหตุการณ์ทั่วๆ ไป หรือเหตุการณ์ที่ผู้ปกครองไม่คิดว่าเด็กจะจดจำ เช่น สถานที่ที่ขับรถผ่าน บุคคลที่คุณพ่อคุณแม่เคยสนทนาด้วย เหล่านี้เป็นต้น
4. มีประสาทสัมผัสที่ดี
การเรียนรู้ที่ไว เกิดจากประสาทสัมผัสที่ดี การหยิบจับสิ่งของที่คล่องแคล่วว่องไว มีความกระตือรือร้นชอบทำกิจกรรมสันทนาการต่างๆ มีความสามารถในการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสที่หลากหลาย ทั้งการได้ยิน การมองเห็น การสัมผัส การได้กลิ่น รวมไปถึงการลิ้มรส คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสของเด็กได้ด้วยการสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายให้กับเด็ก ไม่เร่งเมื่อเด็กต้องการใช้เวลาในการเรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งผ่านประสาทสัมผัส รวมถึงการเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสกับธรรมชาติโดยตรงเช่น การเดินบนทราย บนพื้นหญ้า การเล่นดิน เป็นต้น
5. มีความคิดสร้างสรรค์
เกิดจากการใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มี ผสมผสานกับการคิดต่อยอด และการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน การแสดงออกด้านความคิดสร้างสรรค์ของเด็กนั้น อาจเป็นไปได้ทั้งการแสดงความคิดเห็น การถ่ายทอดผ่านผลงานศิลปะ หรือการแสดงออกในรูปแบบของท่าทางหรือพฤติกรรม เด็กที่มีการทำงานของสมองที่ดีและเรียนรู้ได้ไว มักใช้เวลาอยู่กับการเล่นและการจินตนาการมากกว่าปกติ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรที่จะมองว่าเป็นเรื่องที่ไร้สาระหรือเสียเวลา แต่ควรให้คำแนะนำและสนับสนุนเด็กอย่างเหมาะสม เพื่อให้ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์นี้เป็นประโยชน์ต่อเด็ก
6. ใส่ใจในรายละเอียด
พฤติกรรมการใส่ใจในรายละเอียดนี้ เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกถึงความฉลาดและการเรียนรู้ที่ดีของเด็ก โดยเด็กมักแสดงออกถึงการรับรู้ความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ หรือสังเกตในสิ่งที่บางครั้งผู้ใหญ่อาจมองข้าม เช่น สีที่แตกต่างกัน ความยาว-สั้นของสิ่งของ หรือการมีสิ่งแปลกปลอมปนอยู่กับสิ่งอื่นๆ เป็นต้น โดยหากว่าเด็กมีพฤติกรรมในลักษณะนี้ ผู้ปกครองควรให้เวลากับเด็กในการจัดการกับความละเอียดของตนเอง และไม่ควรตำหนิจนทำให้เด็กรู้สึกผิด
7. อารมณ์ดี มีอารมณ์ขัน
เด็กที่เรียนรู้ได้ไว มักมีอารมณ์ที่ดี มีอารมณ์ขัน รู้สึกสนุกกับการเล่นคำ ชอบเรื่องราวที่มีความตลก สนุกสนาน หรือแฟนตาซี อารมณ์ที่ดีเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อคุณพ่อคุณแม่ให้การสนับสนุนและสร้างสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและความสุขให้กับเด็กอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง
การที่จะทำให้เด็กฉลาด สมองไว เรียนรู้ได้เร็วนั้น นอกจากการส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ในทุกๆ ด้าน จากสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดูของพ่อแม่แล้ว โภชนาการก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง หากได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอครบถ้วน สารอาหารจะช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกัน อาจส่งผลให้มีการเพิ่มเซลส์ประสาทในสมองและเชื่อมระหว่างเซลล์ประสาทเพิ่มมากขึ้น การส่งผ่านถ่ายทอดข้อมูลในสมองเป็นไปอย่างรวดเร็ว สารอาหารอย่างแอลฟา-แล็คตัลบูมิน พบได้ในน้ำนมแม่ เป็นสารอาหารประเภทโปรตีนคุณภาพ มีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างสื่อประสาทในสมองของเด็ก[2] และเมื่อทำงานร่วมกับสารอาหารอย่าง ลูทีน (Lutein) โคลีน (Choline) และ ดีเอชเอ (DHA) จะยิ่งทำให้มีผลต่อกระบวนการสร้างความจำที่ดี[3]
สนับสนุนข้อมูลโดย S-26 Progress Gold เพราะสารอาหารและโภชนาการเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องควบคู่ไปกับการเลี้ยงดูของคุณแม่ เลือกสารสารอาหารที่มีประโยชน์ อาทิ แอลฟ่า-แล็คตัลบูมิน โปรตีนคุณภาพ พลัส ดี (DHA) ,ซี (Choline), แอล (Lutein) เพื่อพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ไวในเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:
กัญญา เกื้อเกษมบุญ ทอแสง ช่วงโชติ
ธุรกิจไวเอท นิวทริชั่น บริษัท เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประเทศไทย
โทร. +662 657 8516 โทร. +662 207 2489
อีเมล์: Kanya.Kuakasemboon@wyethnutrition.com อีเมล์: thorsaeng.chuangchote@fleishman.com
Remark:
[1] https://www.zerotothree.org/resources/1501-blog-what-s-going-on-in-there-a-sneak-peek-into-your-baby-s-brain
[2] Dupont C. Alpha-Lactalbumin expert opinion. MIMS JPOG Singapore 2015: 41
[3] Cheatham CL and Sheppard KW. Synergistic Effects of Human Milk Nutrients in the Support of Infant Recognition Memory: An Observational Study. Nutrients 2015: 7; 9079-95