ไม่อยากให้ลูกเป๋ตอนโต กฎ 7 ข้อที่จะช่วยให้พ่อแม่เลี้ยงลูกให้ถูกทาง

ความคาดหวังของพ่อแม่ที่จะให้ลูกเกิดมาเป็นคนดี คนเก่ง ในสังคมเพื่อสร้างความภาคภูมิใจต่อครอบครัวไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ นะคะ แม้ว่าพ่อแม่หลายคนจะบรรจงขีดเส้นชีวิตลูกให้ดีที่สุดแล้วก็ตาม แต่ก็อย่าลืมที่จะเข้าใจลูกด้วย ความต้องการของลูกคืออะไร เพราะสิ่งที่ดีที่สุดของพ่อแม่อาจเป็นการขีดเส้นให้ลูกมาผิดทางก็ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เลี้ยงลูกให้ถูกทาง อย่างไร อยากให้พ่อแม่ ลองอ่าน…

กฎ 7 ข้อที่จะช่วยให้พ่อแม่เลี้ยงลูกให้ถูกทาง

#1 ไม่สปอย์ลูกเกินความจำเป็น

แน่นอนว่าพ่อแม่ทุกคนย่อมรับลูก และไม่อยากเห็นลูกลำบาก แต่การตามใจและไม่สอนให้ลูกรู้จักช่วยตัวเองจนลูกโตมาแทบทำอะไรไม่เป็นหรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้นั้น จะทำให้ลูกยืนอยู่ยากในสังคมเมื่อเขาโตขึ้นมานะคะ เพราะว่าพ่อแม่ไม่ได้อยู่กับลูกไปตลอด ฉะนั้นควรปล่อยให้ลูกได้รู้จักแก้ปัญหาด้วยตัวเอง สอนให้ลูกรู้จักดูแลและช่วยเหลือตัวเองให้เป็นตั้งแต่ในวัยเด็ก เพื่อเขาจะได้แข็งแกร่งขึ้นยามเมื่อได้ออกไปเผชิญโลกภายนอกด้วยตัวเอง

#2 ต้องยอมรับธรรมชาติตามวัยของลูก

เป็นพ่อแม่ของลูกยุคนี้ ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงลูกแบบเดิมให้เข้ากับเด็กยุคใหม่ อะไรที่พวกคุณเคยถูกสอนมาอย่างสุดโต่ง ก็อาจจะนำมาปรับใช้ด้วยวิธีละมุนละม่อม ต้องมองลูกด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่มองลูกด้วยการตามใจพ่อแม่ และปรับทัศนคติบางอย่างไป เพื่อไม่ให้ลูกหันหลังและต่อต้าน คิดว่าพ่อแม่ไม่เข้าใจตลอดเวลา

#3 ให้เวลาคุณภาพ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม้ว่าเด็กสมัยนี้จะถูกแบ่งเวลาไปกับการเรียนพิเศษต่าง ๆ จนทำให้เวลาครอบครัวลดน้อยลงไป เหมือนกับที่พ่อแม่ทำงาน จนไม่มีเวลาให้ลูก การให้เวลาเรานี้มาทำลายความสัมพันธ์กับครอบครัว อาจจำเป็นที่พ่อแม่ต้องมานั่งทบทวนหรือจัดตารางครอบครัวเพื่อให้เวลาทุกคนได้มาเจอหน้ากันพ่อแม่ลูก เพราะไม่มีอะไรที่จะสร้างความสุขให้ลูกได้ดีเท่ากับการที่พ่อแม่ลูกได้มีเวลาร่วมกันนะคะ

#4 ไม่ลงโทษเกินกว่าเหตุ

เมื่อลูกทำผิด การลงโทษคือสิ่งที่ทำให้ลูกรู้จักผิดและมีการสำนึก แต่ลูกก็ควรได้รับการลงโทษอย่างเหมาะสมตามวัยและตามความผิด พ่อแม่ควรลงโทษลูกแบบไม่ใช้อารมณ์ ไม่ใช้ความรุนแรง สำหรับเด็กแล้วการตักเตือนครั้งแรกคือบทเริ่มต้นของการลงโทษที่ละมุนละม่อมที่สุด และในการลงโทษกับความผิดซ้ำ ๆ ลองใช้วิธียื่นเงื่อนไข เช่น ถ้าลูกทำผิดต้องช่วยทำความสะอาดห้องน้ำ 1 อาทิตย์ หรือลองใช้วิธี time in time out กับลูกที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้กฎเกณฑ์ของสังคม  มากกว่าวิธีใช้การลงโทษอย่างรุนแรงหรือคำพูดหยาบคาย ที่จะส่งผลเสียต่อลูกให้กลายเป็นเด็กก้าวร้าวขึ้นได้เมื่อเขาเติบโตขึ้นมานะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#5 ไม่เอาระเบิดมาลงทีลูก

ไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่จะทะเลาะกันเอง หรือหงุดหงิดจากข้างนอก เมื่อกลับเข้ามาในบ้านเจอหน้าลูก ไม่ควรเก็บอารมณ์นั้นมาระบายอารมณ์ใส่ลูกและคนในครอบครัว ดังนั้นเมื่อพวกคุณรู้สึกอารมณ์เสีย ควรดึงสติกลับมา ด้วยการสูดหายใจเข้าลึก ๆ และเตือนตัวเองว่า ลูกไม่ควรจะถูกพ่อแม่ระเบิดใส่ในสิ่งที่เขาไม่รู้เรื่องอะไรทั้งนั้น แต่ถ้าหากว่าคุณควบคุมอารมณ์ไม่ไว้ ก็ควรจะเข้าห้องไปเพื่อระงับอารมณ์ให้เย็นก่อนที่จะลงมาใช้เวลากลับลูกนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#6 เป็นที่ปรึกษาลูกได้ทุกเรื่อง

เด็กก็คือเด็ก ถึงแม้ว่าพ่อแม่พยายามจะสอนให้ลูกคิดหรือแก้ปัญหาด้วยตัวเอง แต่การตัดสินใจบางเรื่องแม้แต่เรื่องเล็ก ๆ ก็อาจเป็นปัญหาให้ลูกกดดันและเกิดความเครียดได้โดยที่พ่อแม่คิดไม่ถึง คุณพ่อคุณแม่ควรคำนึงด้วยว่าการปล่อยให้ลูกคิดเอง หรือตัดสินใจด้วยตัวเองนั้น จะต้องมาพร้อมกับเวลาที่เขาได้เรียนรู้อย่างเหมาะสมตามวัยด้วยนะคะ

#7 ไม่คาดหวังในตัวลูกให้มากเกินไป

เป็นเพราะความคาดหวังว่าลูกจะต้องชนะเลิศ ประสบความสำเร็จได้ดีในทุกเรื่อง จนลืมไปว่าตัวตนที่แท้จริงของลูกนั้นชอบอะไร ต้องการอะไร การโยนความต้องการของพ่อแม่ใส่เข้าไปในตัวลูก จะทำให้เขาเรียนรู้อย่างไม่มีความสุข ดังนั้นพ่อแม่ควรเฝ้าสังเกตและสนับสนุนในสิ่งที่ลูกชอบ เพื่อต่อยอดในศักยภาพที่ลูกมีด้วยตัวของเขาเอง จะทำให้เขาเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองได้ดีที่สุดนะคะ


Credit content : www.baby.kapook.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

ตามใจไปถึงไหน เลี้ยงลูกอย่างไรให้ป่วยเป็น “โรคเอาแต่ใจตัวเอง”

เลี้ยงลูกอย่างไรให้ออกมาดี 10 วิธีที่ทำให้พ่อแม่เข้าใจลูกสมัยนี้ได้ไม่ยาก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R