7 พิพิธภัณฑ์เข้าฟรี รอบกรุงฯ แหล่งเรียนรู้ สนุกและเพลิดเพลิน ฟรี!
วันนี้ TheAsianparent Thailand ขอพาทุก ๆ คนไปเที่ยวรอบเมือง กับ 7 พิพิธภัณฑ์เข้าฟรี แหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก ๆ เหมาะสำหรับครอบครัว วันหยุดยาวที่จะถึงนี้บ้านไหนยังไม่รู้จะไปที่ไหน อย่าลืมเอา 7 พิพิธภัณฑ์ นี้ ไปเป็นอีกหนึ่งตัวเลือก บอกเลยว่าคุ้ม ทั้งได้ความรู้แถมไม่เสียเงินค่าเข้า ห้ามพลาดเลย!
1. พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก
พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก หรือ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก เป็นหนึ่งใน แหล่งท่องเที่ยว มุมมองใหม่ โดยที่นี่ได้จัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์ และความตั้งใจของ อาจารย์ วราพร สุรวดี ผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งอยากจะจัดบ้าน และทรัพย์สิน มรดกที่ได้จากมารดา คือ นางสอาง สุรวดี (ตันบุญเล็ก) ให้เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อ ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษา เมื่ออาจารย์ วราพร จัดสิ่งของเสร็จ ก็ได้ทำเรืองยกบ้านหลังนี้ให้เป็น สมบัติของกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นกรุงเทพมหานครก็ได้จัดทำบ้านดังกล่าว ให้เป็นโครงการ นำร่องสนองนโยบายการมี พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ของแต่ละเขตโดยรูปแบบการจัดแสดง เป็นอาคารและวัตถุซึ่ง บอกเล่า เรื่องราวเกี่ยวกับ สภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ของ ชาวบางกอกที่มีฐานะปานกลางในช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งข้าวของ เครื่องใช้ที่นำมาแสดงส่วนใหญ่จะเป็นของใช้ที่เจ้าของบ้านได้ใช้งานจริงนั่นเอง
2. พิพิธภัณฑ์เหรียญ
พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ เป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางเกี่ยวกับ “เงินตรา” ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้วิวัฒนาการเงินตราไทย ผ่านประวัดิศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางสำหรับนักสะสมเหรียญและผู้สนใจทั่วไป ในการพบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ และกิจกรรมด้านเหรียญกษาปณ์อีกด้วย โดยพิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ อยู่ภายใต้ความดูแลของสำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โดยภายในพิพิธภัณฑ์ก็จะมีห้องสมุดและห้องทำกิจกรรมให้เหล่าประชาชนได้เข้าไปเรียนรู้และศึกษามากมาย
ที่ตั้ง : ถนนจักรพงษ์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ : 02-282 0818
เวลาเปิดทำการ
- วันอังคาร-วันศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. รอบแรกเวลา ๐๘.๓๐ น. และรอบสุดท้ายเวลา ๑๕.๐๐ น.
- วันเสาร์-วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. รอบแรกเวลา ๑๐.๐๐ น. และรอบสุดท้ายเวลา ๑๖.๐๐ น.
- เข้าชมเป็นรอบ ทุกๆ ๓๐ นาที
- (ปิดทำการวันจันทร์ / วันหยุดเทศกาลขึ้นปีใหม่ / เทศกาลสงกรานต์)
เด็กอายุต่ำกว่า ๑๐ ปี เข้าชมฟรี
3. พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นตามพระราชปรารภในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่มีพระราชประสงค์ให้เด็กไทยได้เรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน ในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์เด็ก กรุงเทพมหานคร ได้สนองพระราชปรารภดังกล่าว และจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร แห่งที่ 1 (จตุจักร) บนพื้นที่ 7 ไร่ ส่วนหนึ่งของสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเปิดให้บริการเมื่อวันที 17 สิงหาคม พ.ศ.2544 หลังจากเปิดดำเนินการไปแล้ว 9 ปี กรุงเทพมหานคร ได้ปรับปรุงพิพิธภัณฑ์เด็ก ให้มีรูปแบบการเรียนรู้ที่ทันสมัยภายใต้แนวคิด “Learning for Young Creative Mind” ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ (Method of Learning) ที่มีแรงจูงใจ (Motivation) ทีหลากหลาย สอดคล้องกับพัฒนาการและศักยภาพของเด็ก โดยคัดสรรสาระความรู้ที่เหมาะสมเพื่อบ่มเพาะจิตสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น
เวลาเปิดทำการ : วันอังคาร-วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์) เวลา 10.00-16.00 น.
4. หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
การก่อสร้างหอศิลป์บริเวณย่านปทุมวัน ซึ่งเป็นแหล่งรวมของเยาวชนวัยรุ่น จึงเป็น ทางเลือกที่น่าสนใจ เพื่อดึงดูดพวกเขาให้ หันมาสนใจและมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ กิจกรรมต่างๆ ทางศิลปวัฒนธรรม ได้แสวง หาความรู้ความเข้าใจ ได้แสดงออก และ พักผ่อนหย่อนใจในเวลาเดียวกัน
วันและเวลาเปิดบริการ : เปิดวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 10.00 – 19.00 น.
ห้องนิทรรศการหลักชั้น 7 – 9 เปิดให้เข้าชมถึงเวลา 18.30 น. (หยุดทุกวันจันทร์ และช่วงวันหยุดปีใหม่และสงกรานต์)
ส่วนสำนักงาน เปิดบริการ เวลา 9.30-18.30 น.
ที่ตั้ง : 939 ถ.พระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน 10330
5. พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ
จุดมุ่งหมายของที่นี่ก็เพื่อรวบรวมและเก็บรักษาอากาศยาน อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องมือสื่อสารที่เคยใช้ในกองทัพอากาศ ตลอดจนบริภัณฑ์ประจำตัวนักบิน เครื่องแบบ เอกสารและพัสดุสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการบิน นำมาจัดแสดงให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม พร้อมทั้งมีห้องสมุดประวัติศาสาตร์การบินที่รวบรวมหนังสือ จดหมายเหตุ รูปภาพ และเอกสารทางประวัติศาสตร์ของกิจการบินไว้ให้ศึกษาค้นคว้า โดยเก็บรักษาไว้เพื่อเป็นตำนานของกองทัพอากาศ
ที่ตั้ง : เลขที่ 171 ถนนพหลโยธิน แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210
โทรศัพท์ : 02-534 1853, 02-534 1764
วันเวลาทำการ : วันอังคาร – อาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น. (ยกเว้นวันจันทร์และหยุดนักขัตฤกษ์)
6. พิพิธบางลำพู
กรมธนารักษ์ ได้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมอาคารโรงพิมพ์คุรุสภา (โรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช) ซึ่งเป็นโรงพิมพ์คุรุสภาและเป็นสถานที่ฝึกสอนช่างพิมพ์แห่งแรกของประเทศไทย เป็น พิพิธบางลำพู พิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ ซึ่งประยุกต์การแสดงวัตถุและการเล่าเรื่องเชิงประวัติศาสตร์เข้ากับวิถีชุมชนบางลำพูเดิมอย่างน่าสนใจ ภายในออกแบบพื้นที่ในรูปแบบ “ยูนิเวอร์แซล ดีไซน์” เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือเด็ก นั่นเอง
ที่ตั้ง : ถนนพระสุเมรุ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ : 02-281 0345-51 ต่อ 1223 , 1224
เวลาเปิดทำการ : วันอังคาร – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ (วันหยุดราชการอื่น) เวลา 10.00 – 18.00 น.
7. พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต (Living Heritage Musuem)
พิพิธภัณฑ์มีชีวิต หรือ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ซึ่งพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งแห่งแรกเกิดขึ้นที่สแกนดิเนเวีย ซึ่งต่อมาแนวคิดเรื่องพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งได้แพร่กระจายไปทั่วทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งรู้จักกันในหลายชื่อว่า พิพิธภัณฑ์มีชีวิต พิพิธภัณฑ์สิ่งก่อสร้าง หรือ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
พิพิธภัณฑ์มีชีวิตเป็นลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่บุคคลในบริเวณนั้น จะมีการแต่งกายและการแสดงในลักษณะของยุคสมัยเก่า โดยบุคคลจะประพฤติปฏิบัติตัวราวกับว่าพักอาศัยอยู่ในโบราณ โดยมีจุดประสงค์เพื่อแสดงวัฒนธรรมสมัยก่อนให้กับผู้ชมในยุคปัจจุบันได้เห็น พิพิธภัณฑ์มีชีวิตส่วนใหญ่จะมีการแสดงหลายอย่างไม่ว่า การตีเหล็ก การตีดาบ การทำเหมือง การรีดนมวัว การทอผ้า หรือ การวาดรูป เป็นต้น
Source : bangkok , museumthailand , bacc , museumthailand , museumthailand , wikipedia
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
5 คาเฟ่เด็ก เหมาะสำหรับครอบครัว เด็กไปได้ ผู้ใหญไปดี แฮปปี้ทั้งครอบครัว
10 ที่เที่ยวหน้าฝน เดือนกันยายน – ตุลาคม 63
น่านไง แจกทริปเที่ยวน่าน 3 วัน 2 คืน ไปไหนไม่ชิลเท่า ไป “น่าน”