60 นาที เล่นนอกบ้าน กับ 7 ประโยชน์ที่แม่ต้องรู้ คุณครูไม่บอก

การที่พ่อแม่พาลูกในวัยแสนซนออกไป เล่นนอกบ้าน อาจเป็นภารกิจใหญ่และหนักหนาพอตัว แต่ไม่ว่าจะเหนื่อยหนักเพราะต้องไล่จับลูกน้อยที่วิ่งเล่นไปทั่ว หรือต้องกุมขมับเพราะเห็นสภาพเสื้อผ้าเลอะเทอะเปรอะโคลนหนักสักแค่ไหน ก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะสิ่งที่ลูกได้รับกลับมาจากการทำกิจกรรมเล่นเลอะนอกบ้าน เพียงวันละ 60 นาทีนี้ มีประโยชน์มากมายหลายเท่านัก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) แนะนำว่า พ่อแม่ควรพาเด็ก ๆ ไป เล่นนอกบ้าน อย่างน้อยวันละ 60 นาที ซึ่งสอดคล้องกับ องค์การอนามัยโลก (WHO) ที่แนะนำให้เด็ก ๆ ควรออกกำลังกายระดับปานกลาง - หนัก อย่างน้อย 60 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน เพื่อให้ร่างกายได้ใช้พลังงานอย่างน้อย 200 kcal/วัน เพื่อให้เจ้าตัวเล็กมีสุขภาพแข็งแรง จิตใจแจ่มใส ห่างไกลจากโรคร้ายต่าง ๆ

เล่นนอกบ้าน คืออะไร ทำไมพ่อแม่ควรให้ความสำคัญ ?

เมื่อเอ่ยถึงการ เล่นนอกบ้าน หลายคนอาจเข้าใจว่า ก็แค่พาลูกออกไปเล่นข้างนอกบ้าน แต่ในความเป็นจริง พ่อแม่จำนวนไม่น้อย กลับหยิบยื่นสมาร์ทโฟนให้ลูกเล่น แลกกับการนั่งนิ่ง ๆ แทนที่จะปล่อยให้ลูกได้วิ่งเล่น เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว ดังนั้นเราจึงควรสนันสนุนให้เจ้าตัวเล็ก ทำกิจกรรมที่มีการขยับร่างกาย ใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ เช่น เดินรอบสวน วิ่งเล่นไล่จับ ว่ายน้ำ เตะฟุตบอล เต้นประกอบเพลง ปล่อยให้ลูกรักได้คลุกคลีกับธรรมชาติ สายลม แสงแดด ต้นไม้ ฝุ่นดิน พบเจอเพื่อนวัยเดียวกัน สิ่งเหล่านี้นับเป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมพัฒนาการได้หลากหลายมิติ ทั้งร่างกาย สมอง และสังคม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างพื้นฐานการดำรงชีวิตสำคัญในอนาคต ต่างจากเด็กที่ไม่ได้รับการสนับสนุนให้ออกมาเล่นนอกบ้าน เด็ก ๆ กลุ่มนี้นอกจากมีสุขภาพไม่แข็งแรง และมีโอกาสเป็นโรคหัวใจสูงแล้ว ยังมีภาวะเฉื่อยชา มีพัฒนาการช้ากว่าเด็กที่ออกกำลังกายเป็นประจำอีกด้วย

7 ประโยชน์ ของ “การเล่นนอกบ้าน” เพียงวันละ 60 นาที ที่แม่ต้องรู้ คุณครูไม่บอก

1.เพิ่มทักษะการตัดสินใจผ่านการคิดวิเคราะห์  เด็ก ๆ มีพลังงานมากมายราวกับไม่มีวันหมด ลองหาโอกาสชวนเจ้าตัวเล็กออกมาเล่นไล่จับบนสนามหญ้าในสวนสาธารณะใกล้บ้านอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ปล่อยให้ลูกรักได้ปล่อยพลังงานออกมาเต็มที่ นอกจากการเล่นจะช่วยให้มีร่างกายแข็งแรงแล้ว ทุกครั้งที่มีการขยับร่างกาย สมองจะสั่งการให้อวัยวะแต่ละส่วนทำงานสัมพันธ์กัน การทำงานของสมองส่วนนี้ มีผลต่อสติปัญญาการและเรียนรู้ของลูกรัก เมื่อสมองตื่นตัวจากการถูกกระตุ้นบ่อยครั้ง ก็จะเกิดพัฒนาการที่ดี ช่วยให้ลูกรักพร้อมเรียนรู้ จดจำ มีการคิดวิเคราะห์ และตัดสินใจได้ดีกว่าเด็กที่พ่อแม่บังคับให้นั่งนิ่ง ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2.ลดโรคซึมเศร้า เพิ่มพัฒนาการทางอารมณ์ (EQ) การเล่นสนุก เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยผ่อนคลายความกังวลใจของลูกรักได้ดีมาก เพราะการได้วิ่งเล่นในพื้นที่กว้าง ๆ ได้สูดอากาศบริสุทธิ์ท่ามกลางธรรมชาติ ทำให้เด็กๆ รู้สึกว่ามีอิสระ ลดความเครียดสะสมที่ได้รับมาจากการเลี้ยงดู การเรียน หรือแม้กระทั่งความเบื่อหน่าย จากการทำกิจกรรมเดิมซ้ำ ๆ การเล่นสนุก ยังช่วยลดบทบาทการทำงานของ สมอง Amygdala ที่ควบคุม “ความหวาดกลัว” ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความคิดด้านลบ เช่น ความกังวล ซึมเศร้า และความเครียดต่าง ๆ เด็กที่มีความสุขจากการวิ่งเล่น จะมีพัฒนาการด้านอารมณ์ (E.Q.) ดีกว่าเด็กที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง หรือถูกหยิบยื่นให้เล่นแต่โทรศัพท์

3.ต่อยอดจินตนาการเติมความคิดสร้างสรรค์ แค่เด็ก ๆ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวต่าง ๆ กับเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน ก็เป็นการต่อยอดจินตนาการที่ดีมาก ๆ เพราะเด็ก ๆ มักมีโลกในจินตนาการอีกหนึ่งใบอยู่แล้ว เมื่อได้มาแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ก็จะช่วยกันสร้างสรรค์โลกใบใหม่ที่น่าสนใจมากขึ้นไปอีก ยิ่งเรื่องราวเหล่านั้น ไม่มีกรอบ กฏ กติกา มาขวางกั้น ยิ่งช่วยให้เด็ก ๆ เกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในอนาคตด้วย

4.สร้างประสบการณ์รอบตัวผ่านโรงเรียนธรรมชาติ บ่อยครั้งทางลัดของการประสบความสำเร็จของเด็ก ๆ ก็เริ่มจากห้องเรียนธรรมชาติ เพราะเวลาที่ลูกน้อยมองเห็น นก กระรอก สุนัข ต้นไม้ บ้าน สีสันต่าง ๆ ได้ยินเสียงลมพัด เสียงเพลง เสียงจิ้งหรีดร้อง ได้กลิ่นหอมของดอกไม้ ได้สัมผัสกับพื้นดิน ทราย น้ำเย็น ๆ ในลำธาร ได้ลองทานอาหารที่มีรสชาติแตกต่างออกไป เมื่อเกิดความสงสัย ก็เรียนรู้การตั้งคำถาม หาคำตอบ และมีความช่างสังเกต สิ่งเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการสร้างเสริมประสบการณ์รอบตัว ซึ่งเป็นคุณสมบัติข้อสำคัญของ เด็กฉลาด

5.มีทักษะการเข้าสังคม พื้นฐานสำคัญของทักษะอนาคต การปล่อยให้ลูกเล่นกับเพื่อน ๆ เป็นการฝึกทักษะการเข้าสังคมที่ดีมาก เพราะเด็ก ๆ จะเรียนรู้เรื่องการเป็นผู้ให้และผู้รับที่ดี รู้จักอดทนรอคอย รู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง เรียนรู้การรับมือกับความขัดแย้ง รู้จักสร้างและรักษาความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน ทั้งยังเป็นการฝึกการใช้ภาษา ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสื่อสารในเวลาเดียวกันด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6.ลดช่องว่าง กระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว พ่อแม่คือบุคคลสำคัญที่จะช่วยจัดการและสนับสนุนให้ลูกรักมีพัฒนาการร่างกายและจิตใจที่ดี โดยสามารถชวนลูกน้อยทำกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น ชวนลูกเดินสำรวจรอบบ้าน เล่นเกมซ่อนหา ทายคำศัพท์ใหม่ ๆ จากสิ่งที่อยู่รอบตัว นอกจากนี้ การมีพ่อแม่อยู่เคียงข้างในทุกสถานการณ์ ยังช่วยให้ลูกรักมีกำลังใจที่ดี และวางใจที่จะปรึกษาเรื่องต่าง ๆ กับพ่อแม่

7.เรียนรู้จากความผิดพลาด สร้างความรับผิดชอบ เด็ก ๆ ที่ได้รับการฝึกฝนให้รู้จักวิธีการรับมือกับความผิดพลาด แก้ไขปัญหา และรับผิดชอบผลลัพธ์ที่ตามมา โดยมีพ่อแม่ให้คำแนะนำและให้กำลังใจอยู่เคียงข้าง จะมีสภาพจิตใจที่แข็งแกร่ง พร้อมรับมือกับอุปสรรคต่าง ๆ ได้ดีมาก เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ก็สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างยอดเยี่ยม และมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ดีกว่าเด็กที่ถูกปกป้องจากพ่อแม่มาตลอดชีวิต

ยิ่งเลอะ ยิ่งเยอะประสบการณ์ บรีส สนับสนุนให้เด็ก ๆ เล่นเลอะนอกบ้าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อประสบการณ์เป็นสิ่งที่หาซื้อไม่ได้จากออนไลน์ช้อป พ่อแม่ และคุณครูในโรงเรียน จึงควรสนับสนุนให้เด็ก ๆ ได้ออกไป “ค้นหาประสบการณ์จากห้องเรียนธรรมชาติ” โดยเริ่มต้นจากการชักชวนลูกออกมาเล่นนอกบ้านอย่างน้อยวันละ 60 นาที มองหากิจกรรมที่ลูกสนใจ อาจเป็นกิจกรรมง่าย ๆ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน เมื่อเจ้าตัวเล็กรู้สึกสนุกสนาน ก็ลองพาออกไปยังสถานที่แปลกใหม่ เช่น สวนสาธารณะ สนามกีฬา หรือศูนย์การเรียนรู้ทางธรรมชาติ หากอยู่ในวัยเรียน คุณครูยังสามารถบรรจุกิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียนแทนการเรียนรู้อยู่แต่หน้ากระดาน ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบใหม่ ที่ช่วยเสริมสร้างให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้ไว เข้าใจในง่ายขึ้น จากการได้สัมผัสและลงมือทำจริง ๆ ถึงแม้ว่ากิจกรรมต่าง ๆ อาจทำให้เสื้อผ้าของลูกเลอะเทอะเปรอะเปื้อนไปบ้าง ก็อยากให้พ่อแม่ให้มองว่า “เรื่องเลอะก็แค่เรื่องเล็ก ๆ ” อย่าปล่อยให้คราบหนักเหล่านั้นเป็นอุปสรรคของการเรียนรู้ที่มีค่า

เมื่อ “การเล่นเลอะนอกบ้าน” คือจุดเริ่มต้นของพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน หากผู้ใหญ่ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี เด็ก ๆ ก็เต็มที่กับทุกการเล่น เน้นลงมือทำ และได้รับประสบการณ์ที่ดี ที่เป็นทางลัดสู่ความสำเร็จอย่างแท้จริง

 

ต่อยอดเคล็ดลับการเรียนรู้นอกบ้าน คลิก บรีส outdoorlearning

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team