6 เรื่องที่คุณต้องรู้ เมื่อตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

อย่างที่ทราบกันดีว่า นมแม่ คืออาหารที่วิเศษที่สุดสำหรับลูกน้อย หากคุณตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้วนั้น ทุกเรื่องต่อไปนี้ คือสิ่งที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรพลาด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. เด็กแรกเกิด – 6 เดือน ควรกินนมแม่อย่างเดียว โดยไม่ต้องดื่มน้ำ

ผู้เฒ่าคนแก่อาจมีความเชื่อว่า เด็กกินนมแล้วต้องกินน้ำตามลิ้นจะได้ไม่เป็นฝ้า ตัวจะได้ไม่เหลือง แต่คุณหมอและผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการแนะนำว่า เด็กแรกเกิด – 6 เดือน ควรกินนมแม่เพียงอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำ เพราะในนมแม่มีน้ำเป็นส่วนปรำอบในปริมาณที่พอเพียงต่อความต้องการของร่างกายลูกน้อยอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังไม่ควรป้อนน้ำ กล้วย หรืออาหารเสริมใดๆ เด็ดขาด นั่นเพราะระบบลำไส้ และระบบการย่อย การดูดซึมอาหารของลูกยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ อาจเป็นเหตุให้ สำไส้อุดตัน หรือสำลักอาหาร ทำให้เกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ สมองขาดออกซิเจน ทั้งยังอาจขาดสารอาหารที่จำเป็น เนื่องจากทานอาหารอื่นทำให้ทานนมแม่ได้น้อยลง ทำให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนจากนมแม่

  1. น้ำนมแม่มีภูมิคุ้มกันและสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย

ในน้ำนมแม่มีโปรตีนที่ย่อยง่าย เหมาะกับการทำงานของกระเพาะอาหารเด็กแรกเกิด น้ำตาลแล็กโตส แหล่งพลังงานหลักของร่างกายทารก ซึ่งจำเป็นในการสร้างเซลล์สมอง และเส้นประสาท กรดไขมันจำเป็นอย่าง DHA และ AA มีหน้าที่สำคัญในการเจริญเติบโตของสมอง และประสาทตา โอลิโกแซ็คคาไรด์ ป้องกันการติดเชื้อที่ทำให้เกิดโรคที่พบบ่อยในทารก เช่น โรคท้องเสีย โรคไข้หวัด ปอดปวม แล็กโตเฟอรินหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย พบมากในนมแม่ช่วงที่เป็นน้ำนมเหลือง Secretory IgA ทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อในทางเดินอาหาร และลดการเกิดอาการแพ้ เม็ดเลือดขาวเป็นภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปจากร่างกายแม่ ที่ทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อโรค วิตามินต่างๆ เช่นวิตามินเอ วิตามินอี และแคโรทีน ไขมันเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในน้ำนมแม่

  1. อาหารเพิ่มน้ำนมอะไรบ้างที่แม่ท้องควรกิน

แม่หลังคลอดกับแกงเลียงนั้นเป็นของคู่กันจริงๆ ค่ะ เพราะแกงเลียงเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น พริกไทยสด ขิง โหระพา ฟักทอง อีกทั้งยังมีโปรตีนและแคลเซียมจากกุ้งแห้งอีกด้วย ประโยชน์สำคัญเลยคือทานแล้วช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี เหงื่อออก ร่างกายกะปรี้กะเปร่าและผ่อนคลาย ซึ่งคนโบราณหลาย ๆ คนก็เชื่อกันว่าได้ผลดีในเรื่องช่วยผลิตน้ำนมด้วย เช่นกัน หากเบื่อแกงเลียง อาจเปลี่ยนเมนูเป็นอาหารเพิ่มน้ำนมอย่างอื่น เช่น กานพลู ยี่หร่า มะละกอ กล้วยน้ำว้า หัวปลี ขนุน กะเพรา ใบขึ้นฉ่าย และผักกาดหอมก็ให้ผลดีเช่นกัน

ยังมีเรื่องน่ารู้สำหรับคุณแม่ที่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหน้าถัดไป>>

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ให้นมลูกท่าไหนดี

เมื่อคุณแม่มือใหม่มาเจอกับคุณลูกหัดดูด อาจต้องใช้เวลาทำความรู้จักรู้ใจกันสักพักจึงจะได้ท่าให้นมที่ถูกใจทั้งคุณแม่และคุณลูก โดยท่าให้นมที่ถูกต้องและเป็นที่นิยมมีดังนี้

  • ท่านอน (Side-lying hold) นอนตะแคงซ้ายให้หมอนอยู่ใต้แขน ให้ลูกนอนตะแคงหันหน้าเข้าหาแม่ โดยให้ปากของลูกระดับเดียวกับหัวนมซ้ายเพื่อดูดนมจากเต้าซ้ายของคุณ คุณสามารถใช้มือขวาประคองลำตัวของลูก ทำเช่นเดียวกันเมื่อเปลี่ยนด้านมาเป็นการนอนตะแคงขวา
  • ท่านอนขวางบนตัก (Cradle hold) ให้ลูกนอนตะแคงอยู่ในอ้อมแขนคุณ วางหมอนไว้บนตัก คุณจะได้ไม่ต้องก้มหลังเพื่อให้นมลูก
  • ท่าอุ้มลูกฟุตบอล (Football hold) เอาหมอนมาหนุนรองที่ใต้ต้นแขนและให้ลูกนอนบนแขนของคุณโดยใช้มือข้างเดียวกันประคองหัวลูก คุณควรอุ้มลูกให้อยู่ใกล้ตัวและให้ปากของลูกหันเข้าหาหัวนมของคุณ คุณอาจจะเมื่อยแขนได้ดังนั้นจึงควรใช้หมอนหลาย ๆ ใบวางซ้อนกันไว้ใต้แขนเพื่อช่วยพยุงน้ำหนัก ทำเช่นเดียวกันเมื่อเปลี่ยนข้าง
  1. ทำอย่างไรเมื่อลูกแหวะนม

สาเหตุที่ลูกน้อยชอบแหวะนมบ่อยๆ เนื่องจากระบบการย่อยของเด็กยังไม่สมบูรณ์ กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่อยู่ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารอาจยังปิดไม่สนิท ประกอบกับถ้าเด็กกินนมเยอะก็มีโอกาสแหวะนมได้มาก โดยมักจะเกิดขึ้นระหว่างที่เรอหรือทันทีที่กินนม ซึ่งการแหวะนมไม่มีผลกระทบต่อสารอาหารที่ลูกน้อยจะได้รับ เพราะถึงแม้ว่าลูกจะแหวะนม แต่ก็ยังเติบโตและแข็งแรงดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่สามารถช่วยให้ลูกแหวะนน้องลงได้ โดยให้นมในท่าที่ศีรษะลูกอยู่สูงเล็กน้อยในท่าตะแคง เมื่อลูกกินอิ่มสักพักให้อุ้มพาดบ่า พยายามการจับลูกเรอหลังกินนม โดยให้ลูกนั่งตรงๆ บนตักคุณและใช้มือหนึ่งประคองส่วนอกของลูกไว้ เอนตัวลูกไปข้างหน้าเล็กน้อยและตบหลังลูกเบาๆ คุณอาจลูบหลังลูกเพื่อกระตุ้นให้เรอ  และพยายามอย่าเปลี่ยนผ้าอ้อมในช่วงที่ลูกกำลังอิ่ม

  1. น้ำนมแม่เก็บไว้ได้นานแค่ไหน

สำหรับคุณแม่ที่ทำงานนอกบ้าน ควรทราบถึงระยะเวลาในการเก็บน้ำนมที่เหมาะสมเพื่อคงคุณภาพน้ำนมที่ดีเยี่ยมไว้ให้ลูกน้อยดังนี้ค่ะ

  • วางไว้ในห้อง 25 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 4-6 ชั่วโมง
  • วางไว้ในห้อง 19-22 องศาเซีลเซียส เก็บได้นาน 10 ชั่วโมง
  • ใส่กระติกน้ำแข็ง 15 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 24 ชั่วโมง
  • แช่ตู้เย็นช่องปกติ 0-4 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 8 วัน
  • แช่ในช่องแช่แข็งตู้เย็นประตูเดียว อุณหภูมิไม่คงที่ เก็บได้นาน 2 สัปดาห์
  • แช่ในช่องแช่แข็งตู้เย็นสองประตู -4 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 4-6 เดือน
  • -19 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 6-12 เดือนหรือมากกว่า

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความน่าสนใจอื่นๆ

7 ความทรงจำดีๆ ที่คุณจะคิดถึงหลังเลิกให้นมเจ้าตัวน้อย

ผมยุ่งหน้าเยิน นี่แหละเรื่องจริงของแม่ให้นมลูก