6 คำพูดไม่ควรพูดทำร้ายลูกวัยเตาะแตะ

ลูก ๆ ในช่วงวัยเตาะแตะ กำลังสนใจที่จะเรียนรู้ มักจะเป็นช่างสังเกตและจดจำรายละเอียดโดยเฉพาะคำพูดของผู้ใหญ่ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องระมัดระวังคำพูดเป็นอย่างยิ่งนะคะ เพราะบางครั้งสิ่งที่พูดออกไป อาจเป็นคำพูดที่ทำร้ายลูกและไปปิดกั้นพัฒนาการของลูกได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6 คำพูดต้องห้ามทำร้ายวัยเตาะแตะ

#1 ไม่เป็นไรลูก

เป็นที่รู้กันว่า เด็กวัยเตาะแตะนั้นมักจะซุกซนเดินชนโน้นนี่ และมักจะมีแผลหัวโน ฟกช้ำดำเขียวอยู่บ่อย ๆ หรือบางครั้งออกไปวิ่งเล่นเป็นต้องมีหกล้มเกิดรอยถลอกที่หัวเข่า ถึงแม้ว่ามันอาจจะมองดูเป็นแผลเล็กน้อยและไม่ใหญ่โตอะไร แต่สำหรับลูกนั้นเมื่อเกิดแผลขึ้นเขาจะรู้สึกมากมายหลายอย่างมากทั้งเจ็บ ทั้งกลัว ดังนั้นการพูดว่า “ไม่เป็นไร” ไม่ได้ช่วยทำให้ลูกรู้สึกว่าความเจ็บจะหายไปหรือแผลเขาจะหาย แค่เพียงคุณรับรู้ว่าลูกเจ็บแล้วพาไปทำแผลติดพลาสเตอร์ให้ จากนั้นก็บอกว่าเดี๋ยวมันก็หาย ลูกก็จะหยุดร้องและรู้สึกดีขึ้นแล้ว

#2 หยุดร้องไห้นะ

การออกคำสั่งด้วยคำพูดว่า “หยุดร้องไห้” ไม่ได้ช่วยให้ลูกรู้สึกหายเจ็บ หายเศร้า หรือเสียใจน้อยลงไปเลย ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่ามันเป็นเรื่องที่ดีที่จะมีการพูดคุยกันผ่านการร้องไห้และหาว่าอะไรคือสาเหตุ เช่น การพูดว่า “แม่รู้ว่าหนูรู้สึกเสียใจที่จะหมดเวลาเล่นอีกแล้ว” เพื่อลูกจะได้รู้ว่าการร้องไห้นั้นถูกตอบรับ เพียงแต่ว่าอาจจะไม่ได้รับการสนองตอบในสิ่งที่เขาต้องการเท่านั้น ดังนั้นเมื่อลูกร้องไห้พยายามที่จะหาสาเหตุมากกว่าที่จะใช้คำพูดว่า หยุดร้องไห้นะ!

#3 ทำไมถึงทำแบบนี้

เด็กเล็ก ๆ กำลังอยู่ในวัยที่สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยากทดลองทำโดยไม่รู้ว่าอันไหนผิดหรือถูก การใช้คำพูดว่า “ทำไมถึงทำแบบนี้!” เป็นการแสดงออกให้รู้ถึงว่าคุณกำลังหงุดหงิดกับสิ่งที่เจ้าตัวเล็กของคุณกำลังก่อไว้ตรงหน้า เช่น ลูกล็อคประตูตอนคุณอยู่นอกบ้าน เมื่อคุณถามไปแน่นอนว่าคำตอบที่ได้ก็จะไม่ใช่ผลลัพธ์ที่คุณต้องการ ดังนั้นลืมคำพูดคำนี้ไปเลย แล้วลองใช้วิธีสอนลูกให้เห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตัวลูกแทน

#4 ลูกไม่จำเป็นต้องกลัว

ถ้าเจ้าตัวเล็กเดินเข้ามาหาและบอกว่าตอนนี้เขารู้สึกกลัว ให้ลองคุยกับลูกว่าเกิดอะไรขึ้น เป็นเพราะอะไร อย่าได้ไปบอกปัดและไม่สนใจในความกลัวของลูก ควรดูแลความรู้สึกของลูกและให้ความมั่นใจว่าพ่อแม่จะอยู่ข้าง ๆ และคอยปกป้องลูกเสมอ

#5 มันจะเกิดขึ้นเมื่อลูกทำแบบนี้

เหมือนเป็นคำขู่และสร้างความรู้สึกให้เด็กกลัวในสิ่งที่เขาอยากทำแต่พ่อแม่ไม่ต้องการให้ลูกทำแบบนั้น จึงสร้างคำพูดมาหลอกให้ลูกรู้สึกไม่กล้าที่จะทำ กลายเป็นการไปปิดกั้นพัฒนาการต่อการเรียนรู้ของลูกได้ เด็ก ๆ ควรที่จะได้รู้จักกับการแก้ปัญหาโดยมีพ่อแม่ที่คอยช่วยเหลือและสนับสนุนอยู่ใกล้ ๆ มากกว่าที่จะกังวลว่าลูกจะเจ็บหรือก่อปัญหาขึ้น โดยไม่ให้ลูกได้ลองทำอะไรเลย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#6 เดี๋ยวพ่อกลับมาจะโดนลงโทษ!

ถึงแม้ว่าหลัก ๆ แล้วดูเหมือนคนเป็นพ่อจะได้รับหน้าที่จัดการลงโทษลูก แต่การปลูกฝังให้ลูกรู้สึกกลัวต่อบุคคลผู้ที่มีอำนาจในการดูแลลูกๆ นั้นไม่ใช่ทางเลือกที่ดี เพราะจริง ๆ แล้วการเริ่มต้นสร้างระเบียบวินัยหรือการให้ลูกรู้จักเคารพต่อพ่อแม่ทั้งคู่เท่า ๆ กัน ดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ดีกว่าต่อการเลือกให้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นคนคอยลงโทษลูก

Source : www.lifeasmama.com

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R